X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน

บทความ 5 นาที
ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน

วิทยาศาสตร์ เป็นวิชาหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ปวดหัวและเบื่อ แม้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กๆ อย่างมากในอนาคต theAsianparent ได้ไปร่วมงานสัมมนาของกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้หนังสือแนววิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าอ่านสำหรับเยาวชน" เรามีเคล็ดลับมาฝากทุกท่านในการทำให้ลูกรักและสนใจวิทยาศาสตร์ด้วยค่ะ

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เพราะวิชานี้เหมือนตัวร้ายที่เด็ก ๆ ส่วนมากจะส่ายหน้านี้ เรียนไปก็หาวไป อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไปในอนาคตได้ ปัญหานี้อาจแก้ได้ยาก แต่สามารถแก้ได้ หากพึ่งการดูแลเอาใจใส่ และการทำกิจกรรมเสริมที่ถูกต้อง

 

4 วิธีช่วยเสริมสร้างให้ลูกเข้าใจวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน

การเสริมสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ชอบวิทยาศาสตร์มีความจำเป็นมากกว่าที่คิด ซึ่งสามารถทำได้ใน 4 วิธี คือ อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์, ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ, พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive และเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งได้ผลดีกับเด็กเล็ก แต่การจะให้ได้ผลที่ดีที่สุดนั้น อาจจะต้องใช้เวลาในการทำอย่างต่อเนื่องด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากให้ลูกเรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้องทำอย่างไร ?

 

วิดีโอจาก : ปฐมวัย สสวท.

 

1. อ่านหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ ? หนังสือเรียนอาจดูน่าเบื่อสำหรับเด็ก ๆ แต่อย่ากังวลไปค่ะ เพราะในปัจจุบันมีหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เขียนให้ไม่น่าเบื่อ น่าติดตาม มีภาพประกอบสวยงาม แต่ละเรื่องสอดแทรกการทดลองที่น่าสนใจไว้ บางเล่มก็เป็นการ์ตูนภาพน่ารัก ๆ บางเล่มก็เป็นนิยายผจญภัย ยกตัวอย่าง เช่น หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนในชุดความรู้ จะมีเล่มที่มีการ์ตูนพร้อมอธิบายเรื่องจักรวาลไว้ด้วย หนังสือการ์ตูน เอาชีวิตจากโลกร้อน ที่ช่วยสอนเด็ก ๆ ให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น หรือ จะเป็นหนังสือหลักคณิตคิดเร็ว หรือ หนังสือสารานุกรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก และเยาวชนด้วย

 

Advertisement

2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ

หากยังไม่ทราบจะทำการทดลองแบบใด หรือ ทำการทดลองแนวไหน ลองหาหนังสือการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กมาเป็นแนวทางก็ได้ค่ะ ที่เราขอแนะนำ เช่น กล่องกิจกรรมทดลองชุดเจาะลึกเทคโนโลยีด้วยวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้สนุกสนานไปกับการทดลองสารเรืองแสง หรือ หนังสือชื่อ “ทำอย่างไรให้วัวกินหญ้าเป็นรูปครึ่งวงกลม” และ “เราก้าวทะลุโปสต์การ์ดได้อย่างไร” ที่ช่วยแนะนำการทดลองแบบง่าย ๆ ทำได้ที่บ้าน อย่าง การเรียนรู้เรื่องทรงเรขาคณิตจากการพับกระดาษ การพับพีระมิด การพับวงกลมสองวงให้กลายเป็นสี่เหลี่ยม หรือ การสอนเด็ก ๆ เรื่องการคาดคะเนผ่านการทดลองตัดพิซซ่า และ โดนัท

 

3. พาเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive

ในประเทศไทยมี พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบ interactive (พิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์) หรือ พิพิธภัณฑ์ที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือทดลอง เข้าร่วมในกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ด้วยได้ เช่น สวนสนุกวิทยาศาสตร์ หรือแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์รู้ที่เน้นส่งเสริมความรู้คู่ความบันเทิงให้กับเด็ก ๆ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 4 และชั้น 5 อาคารจามจุรีสแควร์ ที่เน้นการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ออกแบบมาให้เข้า กับธรรมชาติของเด็ก โดยเฉพาะชิ้นงานวิทยาศาสตร์แบบ Interactive ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถทดลอง สัมผัส เรียนรู้ด้วยตัวเองด้วย หรือสนามเด็กเล่น Kid Play Ground ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กวัย 3-8 ปี ด้วยการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ และ ช่วยปลูกฝังความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ให้ กับเด็กด้วย ต่อมาจะเป็นวิธีทำให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

 

  • เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อ : พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะสร้างมุมมองและทัศนคติที่ถูกต้องให้กับลูก ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน แทนที่จะมองว่าวิชาวิทยาศาสตร์ดูเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อ พ่อแม่สามารถสอนให้ลูกเข้าใจเรื่องนี้อย่างถูกต้อง และแสดงตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันให้ลูกเห็น ว่าเรื่องนี้ใกล้ตัวเราและไม่ได้ยากอย่างที่คิด อย่างการสอนลูกเล่นเกมง่าย ๆ ที่เชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เช่น ทำการทดลองง่าย ๆ ด้วยการใส่ไข่สองใบไปในถ้วยที่มีน้ำเปล่าและน้ำเกลือ เพื่อสอนเรื่องความหนาแน่นของน้ำ บทเรียนง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน จะทำให้เด็กเปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและเรียนรู้ได้ไม่ยาก
  • อย่าหยุดอยู่แค่ความรู้ในชั้นเรียน : รู้ไหมว่า มีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลมากมาย ที่ค้นพบความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ของตัวเองนอกรั้วโรงเรียน ทำไมเราไม่สนับสนุนลูกบ้างล่ะ ด้วยการหากิจกรรมหรือบทเรียนอื่น ๆ นอกชั้นเรียนให้ลูกได้ทดลองทำ บางโรงเรียนอาจจะมีชมรมหรือหลักสูตรพิเศษที่ตรงกับความสนใจของเด็ก หรือพ่อแม่อาจหาศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ตรงกับความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของลูก เช่น คอร์สเรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรม นอกจากจะได้ทำในสิ่งที่ชอบแล้ว ยังเป็นการฝึกทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาให้เป็น
  • ร่วมสำรวจโลกไปกับลูก : เด็กบางคนชอบเรื่องทางชีววิทยา พวกสัตว์ แมลง ต้นไม้ใบหญ้า พ่อแม่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องนี้ได้ง่าย ๆ และสนุกสนาน อย่าปล่อยให้ความสงสัยเกี่ยวกับความรู้รอบตัวของลูกผ่านไปอย่างน่าเสียดาย เช่น หากลูกสงสัยว่าเจ้านกที่ร้องอยู่ในพุ่มไม้มันคือนกชนิดไหนกันนะ พ่อแม่อาจจะพาลูกไปสำรวจและเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน  อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างแว่นขยาย เพื่อส่องดูแมลงหรือพืชที่ลูกชอบ จะยิ่งทำให้การสำรวจโลกด้วยกันสนุกยิ่งขึ้น

 

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ 12

 

4. เล่นเกมอย่างสร้างสรรค์

เด็ก ๆ ชอบเล่นและรักอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นเรื่องเล่า นั่นทำให้เด็กจำนวนมากชอบเล่นเกมคอมพิวเตอร์  พ่อแม่อาจจะกังวลว่าลูกติดเกมมากเกินไปหรือเปล่า ลองมองเรื่องนี้ในมุมใหม่ ด้วยการสนับสนุนให้ลูกเล่นเกมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและการคิดเชิงวิเคราะห์ดีกว่า เช่น มายคราฟ (Minecraft) เป็นเกมคล้าย ๆ การต่อบล็อกเพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ แบบ 3 มิติ รวมทั้งการผจญภัยต่าง ๆ ในด่านที่ยากขึ้น ซึ่งนอกจากจะสนุกและช่วยฝึกวิธีคิดให้เด็กแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กที่สนใจในเรื่องนี้ได้ดี

 

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดีจะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาวะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย การเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และ มีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
DBS Denla British School ครองใจคุณพ่อคุณแม่ คว้ารางวัล Parents’ Choice สุดยอดโรงเรียนอนุบาล แห่งปี 2024
DBS Denla British School ครองใจคุณพ่อคุณแม่ คว้ารางวัล Parents’ Choice สุดยอดโรงเรียนอนุบาล แห่งปี 2024
D-PREP International School Celebrates Grand Opening of Secondary Campus
D-PREP International School Celebrates Grand Opening of Secondary Campus

10 แอปเรียนออนไลน์ สำหรับการเรียนการสอนในยุคโควิด เด็กวัยเรียนต้องรู้ !

4 สาเหตุที่ทำให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษไม่สำเร็จ พร้อมวิธีแก้ไข ทำอย่างไรให้สำเร็จ

ลูกพร้อมเรียนกวดวิชาหรือไม่ ชวนคุณพ่อคุณแม่มาเช็กลิสต์กัน !

ที่มาข้อมูล : dek-d

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช

  • หน้าแรก
  • /
  • การศึกษา
  • /
  • ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน
แชร์ :
  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
    บทความจากพันธมิตร

    Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

  • จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
    บทความจากพันธมิตร

    จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
    บทความจากพันธมิตร

    Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF

  • จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025
    บทความจากพันธมิตร

    จุฬาฯ คว้าอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยใน 34 สาขา จาก QS WUR by Subject 2025

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว