ออกแบบอาหารโปรดของลูกได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์

คุณทราบหรือไม่ว่าเราสามารถออกแบบอาหารโปรดของลูกได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ พ่อแม่หลายคนอาจปวดหัวหับการเลือกกินของเจ้าตัวเล็ก แต่มีข่าวดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ล่าสุดมีการค้นพบว่า อาหารที่แม่กินระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลไปยังอาหารที่เด็กชอบในอนาคตด้วย อาหารโปรด แม่ตั่งครรภ์

ออกแบบ อาหารโปรด ของลูกได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์

ล่าสุดมีการค้นพบว่า อาหารที่แม่กินระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลไปยังอาหารที่เด็กชอบในอนาคตด้วย

อาหารที่แม่กินระหว่างตั้งครรภ์ไม่เพียงช่วยสร้างพัฒนาการต่าง ๆ ให้ทารกในรังไข่เท่านั้น แต่เป็นการกำหนดอาหารที่ลูกชอบเมื่อโตขึ้นด้วย ในแต่ละวันนั้นทารกก็จะกินน้ำคร่ำ 2-3 ออนซ์  โดนนักวิจัยจาก โมเนล เคมีคอล เซ้นซ์ เซ็นเตอร์  ได้ทดลองให้แม่ท้องกลุ่มหนึ่งกินแคปซูลกระเทียม อีกกลุ่มกินแคปซูลน้ำตาล แล้วเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่นจำแนก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็สามารถระบุได้ ว่ากลิ่นน้ำคร่ำกลิ่นไหนเป็นของแม่กลุ่มไหน แสดงว่าน้ำคร่ำจะมีรสและกลิ่นเหมือนกับอาหารและน้ำที่แม่กินเข้าไประหว่างวัน ตัวอย่างของอาหารที่จะส่งรสชาติและกลิ่นไปยังน้ำคร่ำหรือนมแม่ เช่น วนิลา แครอท กระเทียม ผักชี นักวิจัยยังพบอีกว่า การจำรสชาติและกลิ่นที่ทารกได้สัมผัสตั้งแต่ในครรภ์ จะส่งผลไปยังอาหารที่เด็กชอบในอนาคต

ฉะนั้นถ้าอยากให้ลูกกินผักผลไม้ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ควรเริ่มต้นคือตั้งแต่ในท้องแม่ค่ะ!!

ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก

ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงวัย คุณแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยในแต่ละวััยควรได้รับอาหารแบบไหน และควรให้อาหารเสริมให้ลูกกินเมื่อไหร่ อย่างไร ข้อควรระวังในการให้อาหารลูก รวมถึงหารดูแลลูกเมื่อลูกป่วย พ่อแม่ควรให้ลูกทานอาหารอย่างไร เรามาดูเคล็ดลับอาหารของลูกน้อยแต่ละวัยกันดีกว่าค่ะ

อายุเด็ก อาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัย
แรกเกิด – 6 เดือน ให้นมแม่เพียงอย่างเดียว สำหรับในช่วง 2 เดือนแรก สามารถให้นมได้ 8-10 มื้อ ตามที่คุณแม่ต้องการ หลังจากนั้นควรให้นมห่างออกไปในช่วงกลางคืน
6 – 8 เดือน ให้อาหารตามวัยที่บดละเอียด หรือเป็นอาหารแบบกึ่งเหลว และควรพยายามป้อนด้วยช้อนเพื่อฝึกเด็กให้รู้จักการกลืนค่ะ
9 – 12 เดือน ในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้อาหารบดหยาบมากขึ้น และพยายามลดนมมื้อดึกลงนะคะ
1 – 2 ปี ฝึกให้เด็กได้ลองถือถ้วยหัดดื่ม พยายามหยิบของกินและตักอาหารด้วยตัวเอง และควรให้เด็กได้หัดเคี้ยวอาหารชิ้นเล็กๆ แต่ต้องไม่แข็งนะคะอาจเริ่มจากผักต้มก็ได้ และควรงดให้นมลูกจากขวด
3 – 5 ปี พยายามฝึกให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการรับประทารอาหารร่วมกัน ให้ลูกน้อยได้ลองใช้ช้อนกลางตักอาหารกับพ่อแม่หรือคนอื่นๆ และอย่าลืมจัดเตรียมภาชนะและอาหารสำหรับลูกน้อยด้วยนะคะ

วิธีเลือกอาหารเสริมให้เหมาะสมกับเด็ก

  • เด็กเล็กพ่อแม่ควรให้ลูกได้กินอาหารที่มีรสธรรมชาติก่อน ไม่ควรปรุงแต่งรสชาติมากเกินไป โดยในการปรุงอาหารแต่ละครั้ง แนะนำว่าห้ามเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม หรือของปรุงรสในนมและอาหารเด็กเป็นอันเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกน้อยติดรสหวาน และเบื่ออาหารได้ในที่สุดค่ะ
  • ควรให้นมและอาหารลูกน้อยเป็นเวลา สำหรับอาหารว่างสำหรับเด็กนั้น แนะนำว่าควรมีโปรตีนเป็นหลักค่ะ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแต่แป้งและน้ำตาลให้มากที่สุด ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กได้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมนะคะ
  • หากลูกน้อยกินอาหารน้อย หรือไม่สามารถกินครบ 5 หมู่ได้ หรือมีการเจริญเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ พ่อแม่อาจต้องให้ลูกได้กินวิตามินรวมเสริม พร้อมๆ กับจูงใจให้เด็กกินได้กินอาหารให้ครบถ้วนอีกด้วย และพ่อแม่ต้องใจแข็งอย่าให้ลูกได้กินขนมจุบจิบ และน้ำหวานระหว่างมื้อ ลูกน้อยจะได้กินข้าวได้เยอะๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกยังไม่ยอมกินข้าวปละมีน้อหนักตัวน้อยเกินไปอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านก็ได้ค่ะ

อาหารสำหรับเด็กป่วย พ่อแม่ควรทำอย่างไร

เวลาที่ลูกน้อยป่วยมักจะไม่ชอบกินอาหารและเกิดอาการเบื่ออาหาร ไหนจะร่างกายอ่อนแอด้วย เมื่อเด็กป่วย โดยเฉพาะเป็นโรคอุจจาระร่วง หรือออกหัด เด็กจะเบื่ออาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารน้อยกว่าปกติ การป่วยแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก และถ้าป่วยปีละหลายครั้ง จะทำให้เด็กเป็นโรคขาดสารอาหารและตัวเล็กกว่าวัย ดังนั้น การให้ลูกได้กินอาหารระหว่างที่ลูกป่วยหรือช่วงพักฟื้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ในระยะที่เจ็บป่วย เด็กควรได้รับนมแม่บ่อยขึ้นและอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยควรเพิ่มทีละน้อยและบ่อยๆ ในแต่ละวัน
  • หากเด็กมีอาการเจ็บป่วย และเบื่ออาหารนานเกิน 2-3 วัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาลูกน้อยจะได้ไม่เจ็บป่วยร้ายแรงมากขึ้นกวว่าเดิมค่ะ
  • หลังการเจ็บป่วยในระยะพักฟื้น เด็กต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 1 มื้อ ทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้นค่ะ

อาหารคนท้องอ่อน แบบไหนบำรุง แบบไหนแสลง อะไรห้ามกิน อะไรกินได้

โภชนาการในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เรามาดูกันว่า อาหารคนท้องอ่อน ในช่วงไตรมาสแรก แบบไหนควรกิน และแบบไหนควรหลีกเลี่ยงบ้าง

  • อาหารคนท้องอ่อน ช่วง 1 เดือนแรก

ในช่วงแรกนั้น คุณแม่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ จนกระทั่งประจำเดือนไม่มา จึงทำการตรวจการตั้งครรภ์ บางครั้งกว่าจะรู้ก็มีอายุครรภ์ได้ 2 – 3 สัปดาห์แล้ว ซึ่งนั่นก็อาจทำให้แม่ท้องเกิดความกังวลว่า จะเผลอกินอะไรที่เป็นของแสลงเข้าไป จนอาจเป็นอันตรายกับลูกได้ อย่างไรก็ตาม แม่ท้องไม่ควรกังวลมากไปจนเครียดนะครับ ซึ่งอาหารที่ควรกิน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ในช่วง 1 เดือนแรก มีดังนี้ครับ

  • อาหารคนท้อง 1 เดือน ควรกิน

    เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แม่ท้องอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หรือเจ็บเต้านม ซึ่งคุณแม่แต่ละคนก็อาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจไม่มีอาการใดๆเลย แต่ไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องหรือไม่ ก็ควรต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินเหมือนๆกัน ซึ่งอาหารที่แม่ท้องควรกิน มีดังนี้

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา

    1. อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต

    ตอนที่ไปฝากครรภ์ แม้ว่าคุณหมอจะให้กรดโฟลิกแบบเม็ดมาให้กินแล้ว แต่คุณแม่ท้องก็ควรกินอาหารที่มีโฟเลตเพิ่มไปด้วยนะครับ เพราะโฟเลตมีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการสมองของตัวอ่อนในระยะแรก และอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตก็หาได้ไม่ยากเลย เช่น ส้ม มันฝรั่ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ ถั่ว และผักใบเขียวทั้งหลาย เป็นต้น

    2. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

    นมเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอด ทั้งโปรตีน วิตามิน แคลเซียม น้ำ ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี ผลิตภัณฑ์นม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งก็มีคุณค่าเทียบเท่าการดื่มนม โดยคุณแม่ควรดื่มนมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทุกวัน ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้าหากดื่มมากไป ก็อาจทำให้ลูกคลอดออกมาแพ้โปรตีนจากนมได้

    3. เนื้อสัตว์

    Loading...
    You got lucky! We have no ad to show to you!
    ติดต่อโฆษณา

    ในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นี้ แม่ท้องสามารถกินเนื้อสัตว์ได้เกือบทุกชนิด เพียงแต่ต้องปรุงให้สุกเสียก่อน เพราะการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้

    4. อาหารที่มีธาตุเหล็ก

    ธาตุเหล็ก ช่วยในการรักษาระดับการไหลเวียนของเลือดให้คงที่ ทั้งของแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์ ทารกต้องการเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการจับกับออกซิเจนและสารอาหาร และส่งไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายนั่นเอง

    และเนื่องจากในเดือนแรกคุณหมอจะยังไม่จ่ายวิตามินเสริมธาตุเหล็กให้คุณแม่ จนกว่าจะถึงเดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้อง 1 เดือนจึงควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ บีทรูท ข้าวโอ๊ต ปลาทูน่า ถั่วต่างๆ ผลไม้อบแห้ง และเนื้อไก่ เป็นต้น

  • อาหารคนท้อง 1 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

    หากคุณแม่ทราบแล้วว่า กำลังตั้งครรภ์ อาหารต่อไปนี้คือ สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ 1 เดือนครับ

    1. ชีส

    แม่ท้องอ่อน ควรหลีกเลี่ยงชีสเนื้อนุ่ม เนื่องจากชีสพวกนี้มักทำจากนมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และสามารถเป็นพาหะของโรคอาหารเป็นพิษ และเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแก๊สอีกด้วย

    2. อาหารแปรรูป

    ในช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ได้ปรุงสดใหม่และอาหารแปรรูป อาทิ น้ำผลไม้กล่อง นมข้น และอื่นๆ ที่อาจปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรค คุณแม่ท้องอาจเลือกรับประทาน น้ำผลไม้คั้นสด และสลัดผลไม้สดแทน โดยควรรับประทานภายใน 20 นาทีหลังจากทำเสร็จ

    อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 2 ติดตามต่อหน้าถัดไป>>>

    อาหารคนท้องอ่อน ช่วงเดือนที่ 2

    ในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องและไม่อยากอาหาร แต่อย่างไรก็ดี คุณแม่ยังคงต้องรับกินอาหารที่มีประโยชน์ เพราะจะส่งผลต่อการพัฒนาประสาท สมอง และไขสันหลังของลูกน้อย

    นอกจากนี้ระบบการไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ก็มีการพัฒนาในช่วงนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาหารแม่ท้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และนี่คือข้อมูลที่คุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับอาหารแม่ท้อง 2 เดือนครับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

     อาหารคนท้อง ช่วงเดือนที่ 2 ที่ควรกิน

1. กรดโฟลิก

กรดโฟลิก หรือโฟเลต มีส่วนช่วยให้การพัฒนาของท่อระบบประสาทดำเนินไปอย่างปกติ หากแม่ท้องขาดโฟลิก ก็อาจทำให้ลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อความพิการ จากความผิดปกติของท่อประสาท หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

อาหารบางชนิด เช่น ผักโขม ธัญพืช ถั่ว ส้ม มันฝรั่ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ และผักใบเขียว มีกรดโฟลิกสูง แม่ท้องควรรับประทานกรดโฟลิกให้ได้ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวันในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์นะครับ

2. อาหารที่มีแคลเซียม

กระดูกของลูกน้อยจะเริ่มสร้างในช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แม่ท้องจึงควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1000 มิลลิกรรมทุกวัน โดยคุณแม่สามารถกินอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเช่น นม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ และผักใบเขียว เป็นต้น หากแม่ท้องขาดแคลเซียม ร่างกายของคุณแม่ ก็จะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกและฟันไปใช้ ทำให้กระดูกและฟันของแม่ท้องอ่อนแอและเปราะง่าย

3. โปรตีน

แม่ท้องควรบริโภคโปรตีนให้ได้ 75 – 100 กรัมต่อวัน โดยโปรตีน จะช่วยทำให้พัฒนาการของกล้ามเนื้อทารกในครรภ์เป็นไปอย่างปกติ ซึ่งโปรตีนนั้น สามารถหาได้จาก เนื้อสัตว์ นม ไข่ และปลา แต่ต้องแน่ใจว่าปลานั้นมีสารปรอทต่ำ

โภชนาการที่ดีช่วงตั้งครรภ์

บทความโดย

ธิดา พานิช