วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง?

รู้สึกว่าลูกในท้องตัวเล็ก ทำยังไงดี มาดูวิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์จากคุณหมอกันเถอะ ลูกจะได้ออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ น่ารักสมใจคุณพ่อคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ทำได้อย่างไร อยากให้ลูกในท้องแข็งแรง เติบโตเต็มที่ แต่ก่อนที่จะไปดูวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง ก็ขอไขความกระจ่างเรื่องท้องเล็กกันก่อน แม่แต่ละคนมีรูปร่างที่ต่างกัน ท้องบางคนจึงใหญ่เล็กแตกต่างกันไป โดยเฉพาะท้องแรก ดังนั้น การที่แม่ท้องเล็กไม่ได้หมายความว่า ลูกในท้องจะตัวเล็กเสมอไป ฉะนั้น ลองมาดูแนวทางการดูแลตัวเองในช่วงตั้งท้องกันดีกว่า โดยข้อมูลดังกล่าวจาก นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์

 

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก

1. เราจะสงสัยว่าทารกในครรภ์ตัวเล็ก ถ้า…

  • น้ำหนักคุณแม่ ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ

สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลง หรือ ไม่เพิ่มขึ้นได้ ไม่ต้องกังวล

  • การวัดความสูงของมดลูกโดยแพทย์เมื่อมาฝากครรภ์ แล้วมีขนาดน้อยกว่าปกติ

ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือ ช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

 

2. เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์ตัวเล็กหรือไม่

  • เนื่องจากทารกที่ตัวเล็กกว่าปกติ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และ อาจจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณหมอที่ดูแลจะทำการตรวจทารกด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อยืนยันว่า ทารกตัวเล็กจริงหรือไม่ โดยจะใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวทารกที่น้อยว่า 10% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทารกปกติในอายุครรภ์นั้นๆ
  • ถ้าตรวจพบว่า ทารกตัวเล็กจริง คุณหมอจะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุ และ วางแผนการดูแลรักษาต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณแม่กังวลว่าลูกในท้องจะตัวเล็กกว่าปกติหรือไม่ ลองปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการตรวจครรภ์ เพื่อวางแผนและดูแรรักษากันต่อไป อาหารเพิ่มน้ำหนัก

 

3. สาเหตุ “ทารกตัวเล็ก” ไม่ใช่ “ทารกที่ผิดปกติ” เสมอไป

  • ทารกตัวเล็ก สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒานาของร่างกาย และ ระบบประสาท และ สมองปกติ แต่มีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติได้ สาเหตุหลัก จะเป็นเรื่องของพันธุกรรมพ่อแม่ ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กเหมือนกัน แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และ จะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น
    • สาเหตุจากแม่ : แม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
    • สาเหตุจากลูก : ลูกมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด
    • สาเหตุจากรก: ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกเกาะตำเหน่งที่ผิดปกติ มีการติดเชื้อที่รก

 

4. การดูแลรักษา

การดูแลรักษาที่สำคัญ คือ “การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และ คลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม” ไม่ใช่เน้นการเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กให้กลับมาเป็นปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : วิจัยเผย คนท้องกินข้าวดึก มีผลต่อน้ำหนัก คนท้องกินข้าวมือดึกแล้วอ้วน

 

อาหารเพิ่มน้ำหนัก

แนวทางการดูแลรักษา วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

  • อาหารเพิ่มน้ำหนัก

น้น “สารอาหารที่มีประโยชน์ (nutritions)” ไม่ใช่เน้น “พลังงาน (calories)” ทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นโปรตีน แต่ให้หลากหลาย และ มาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน นมวันละ 2 ลิตร ทารกคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อแพ้ไข่ แพ้นม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ คลอดมาแข็งแรง

 

เลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ อาหารเพิ่มน้ำหนัก

  • พักผ่อน

การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ความกังวล ก็ทำให้ลูกตัวเล็กได้เช่นกัน

    • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
    • ออกกำลังกาาย: การออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถทำได้ และพบว่าอาจช่วยให้สุขภาพลูกแข็งแรงด้วย
    • ดูแลรักษาโรคประจำตัวของมารดา
    • ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทารกที่ตัวเล็ก คุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพทารกอย่างละเอียด

 

ออกกำลังให้พอเหมาะ ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป

 

The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent  นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ


 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารต้านหวัดคนท้อง เมนูอาหารต้านหวัด แก้ไอ เสริมสร้างภูมิต้านทานคนท้อง

ลูกในท้อง หัวโต ขนาดรอบศีรษะ ทารกในครรภ์ บอกโรคได้ แบบไหนอันตราย

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม?

ที่มา :  parenting.firstcry