7 วิธี การคุมกำเนิด แบบชั่วคราว แบบถาวร แบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคุมกำเนิด มีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันทั้งรูปแบบการใช้งาน ระยะเวลาที่สามารถป้องกันได้ และการติดตามประสิทธิภาพของการป้องกัน การเลือกวิธีการคุมกำเนิดจึงขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการแบบไหน สำหรับในบทความนี้เราจะแนะนำทั้ง 7 วิธี คือ ยาเม็ดคุมกำเนิด, ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง, ฉีดยาคุมกำเนิด, ห่วงอนามัยคุมกำเนิด, ฝังยาคุมกำเนิด, ถุงยางอนามัย และยาคุมฉุกเฉิน

 

การคุมกำเนิด แบบไหนดี ?

การคุมกำเนิดทุกวิธีมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว แต่ไม่มีวิธีไหนสามารถป้องกันได้ 100 % ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าจะใช้การคุมกำเนิดแบบไหนก็ตาม จะต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานที่ถูกต้อง และมาตรวจตามแพทย์นัดเสมอ ซึ่งการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยม เช่น การใช้ถุงยางอนามัย, การกินยาคุม หรือการฝังยาคุม เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ระยะเวลาของการป้องกัน และรูปแบบการใช้งานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่า ต้องการป้องกันการตั้งครรภ์นานแค่ไหน และวิธีไหนที่สะดวกต่อตัวของเรามากที่สุด

 

วิดีโอจาก : Bhaewow

 

การคุมกำเนิดแบบถาวร

การคุมกำเนิดแบบถาวร จะทำให้ไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้อีก โดยวิธีที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ การทำหมัน ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง การทำหมันสำหรับเพศชายสามารถทำได้ทันทีโดยจะเป็นการตัดท่อน้ำเชื้อในถุงอัณฑะ สำหรับเพศหญิงจะเป็นการทำหมันเปียก และการทำหมันแห้ง ซึ่งเป็นการตัดท่อนำไข่บางส่วน

การคุมกำเนิดในรูปแบบถาวร ถือเป็นทางเลือกที่ส่งผลค่อนข้างมากสำหรับคู่รัก ดังนั้นต้องมั่นใจ และปรึกษากันก่อนตัดสินใจ เพราะจะไม่สามารถกลับมาตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ตามปกติแล้ว โดยสามารถเลือกการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวได้ก่อน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว

เป็นการคุมกำเนิดตามระยะเวลาที่ต้องการตั้งแต่การคุมครั้งต่อครั้งอย่างถุงยางอนามัย, การคุมกำเนิดระยะเวลาหลักอาทิตย์อย่างการแปะยาคุม, การคุมกำเนิดระยะเวลาหลายเดือน เช่น การฉีดยาคุมกำเนิด หรือการคุมกำเนิดหลายปี เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือการฝังยาคุม เป็นต้น โดยเราจะหยิบยกวิธีที่เราน่าจะได้ยินกันบ่อยขึ้นมาอธิบายให้พอเข้าใจทั้งหมด 7 วิธี ได้แก่

 

1. ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth Control Pill)

เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้หญิงหลายคน มีทั้งแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพียงอย่างเดียว และชนิดฮอร์โมนรวม (combined pills) โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ 21 เม็ด และ 28 เม็ด ซึ่งแตกต่างกันที่วิธีการรับประทาน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ยาคุม 21 เม็ด : ทานต่อเนื่องทุกวัน เวลาเดิม จะไม่มีเม็ดแป้งมาแทรก และเมื่อหมดแผง หลังจากนั้นหยุดทาน 7 วัน ก่อนเริ่มทานแผงใหม่
  • ยาคุม 28 เม็ด : จะเป็นตัวยา 21 เม็ด ที่เหลืออีก 7 เม็ด จะเป็นเม็ดแป้ง ให้ทานทุกวันจนหมดแผน หลังหมดแล้วไม่ต้องหยุด 7 วันแบบ 21 เม็ด ให้ทานแผงใหม่ได้เลย

 

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ปกติแบ้วจะกินในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือไม่เกินวันที่ 5 นับจากวันแรกที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องมีวินัยสูง ต้องทานให้ตรงเวลา จึงควรตั้งเวลา หรือแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการลืม

 บทความที่เกี่ยวข้อง : ราคายาคุมฉุกเฉิน แต่ละยี่ห้อเท่าไหร่บ้าง เทียบราคาอย่างละเอียด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง (Contraceptive patch)

เป็นวิธีการนำยาคุมปาแปะลงบนผิวหนัง โดยจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการทานยาคุมกำเนิดแบบประจำ เป็นวิธีที่มีความยืดหยุ่นสูง หากต้องการหยุดคุมกำเนิด ก็ทำเพียงดึงแผ่นออกหลังจากนั้น 1 – 2 รอบเดือนภาวะตกไข่จะกลับมาตามปกติอีกครั้ง โดยการแปะจะแปะภายใน 24 ชั่วโมงของวันแรกที่มีประจำเดือน โดยจะมีการเปลี่ยนแผ่นในทุกสัปดาห์

ในช่วงของ 7 วันแรกที่ใช้ยาคุมแบบแปะนี้ อาจจะยังไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ จึงควรป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่นด้วย หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงดังกล่าว เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น แผ่นแปะเองถูกออกแบบมาให้หลุดได้ยาก จึงสามารถมั่นใจได้ในความคงทน หากใช้ได้อย่างถูกวิธี

 

3. ฉีดยาคุมกำเนิด (Injectable Contraceptive)

สามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน หลังจากฉีดไปแล้ว โดยระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดยา มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน แต่ต้องเข้ารับการฉีดซ้ำตามระยะเวลาที่กำหนด หากมีการคลาดเคลื่อน หรือฉีดไม่ทันกำหนดจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทานยาคุมทุกวัน และไม่ต้องเสี่ยงลืม

 

4. ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device)

ลักษณะเป็นห่วงใส่ไว้ในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันการฝังตัวของไข่ มีจุดเด่น คือ การคุมกำเนิดได้ค่อนข้างยาวนาน 5 – 10 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าการใช้ห่วงจะจบแค่ตอนใส่เท่านั้น เพราะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเช็กตามเวลานัดเสมอ มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นค่อนข้างน้อยกว่าการใช้ตัวยาแบบอื่น แต่ต้องมีการดูแลเองด้วยที่บ้าน เช่น การต้องคอยตรวจสายห่วงทุก 1 เดือนด้วยตนเอง เพราะหากห่วงไม่สมบูรณ์จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยเช่นกัน

 

5. ฝังยาคุมกำเนิด (Contraceptive Implant)

เป็นยาที่ใช้ฝังบริเวณใต้ผิวหนังสามารถช่วยป้องกันได้ 3 – 5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของ โดยตัวยาจะเป็นหลอดเล็ก ๆ มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ใช้เวลาในการฝังเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่ต้องการใช้การคุมกำเนิดด้วยการลงทุนครั้งเดียว แต่คุมได้ค่อนข้างนานหลักปี โดยที่ไม่ต้องทานยาทุกวัน ไม่ต้องคอยฉีดยาตามนัด และไม่ต้องพบแพทย์เพื่อเช็กความสมบูรณ์เหมือนกับวิธีอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

6. ถุงยางอนามัย (Condom)

การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องของฝ่ายชาย ถือเป็นการป้องกันแบบชั่วคราวที่ดีที่สุดเท่าที่ฝ่ายชายจะสามารถทำได้ หากสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เช่น เลือกขนาดที่เหมาะสม ใส่ถูกต้อง และถุงยางไม่มีความชำรุด ไม่ฉีด รั่ว หรือขาด จะช่วยป้องกันการคุมกำเนิดได้ดี อย่างไรก็ตามการชำรุดของถุงยางยังอาจเกิดขึ้นได้ขณะการมีเพศสัมพันธ์ แต่จุดเด่นของถุงยางอนามัยที่การคุมกำเนิดวิธีอื่น หรือวิธีที่ใช้ยาคุมไม่มี นั่นคือ การป้องกันโรคติดต่อ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ จากการมีเพศสัมพันธ์นั่นเอง

นอกจากนี้ยังมี “ถุงยางผู้หญิง” ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายกับของผู้ชาย คือ การป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าถึงมดลูกจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นการใช้แล้วทิ้งไม่ต่างจากแบบของผู้ชาย แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรใช้ร่วมกับถุงชายของผู้ชาย เพราะจะเกิดการเสียดสีกัน จนทำให้ขาด หรือรั่วได้

 

7. ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pill)

การใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ในการคุมกำเนิด เนื่องจากการคุมกำเนิดด้านบนที่กล่าวมาไม่ได้ผล หรือเกิดความผิดพลาด จนนำมาซึ่งความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ที่เราบอกว่าเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากตัวยาสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของผู้หญิง จึงไม่สมควรทานบ่อย ๆ ไม่ใช่แค่ผลข้างเคียงต่อร่างกายเท่านั้น การทานบ่อยจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงด้วย โดยควรทานภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือผิดพลาด และช้าที่สุดไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมกินช้าสุดกี่วัน เกิน 72 ชั่วโมง ยังทานยาคุมฉุกเฉินได้อยู่ไหม ?

 

การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวของเพศหญิง ส่วนมากจะส่งผลกระทบ หรือมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับวิธีที่เลือกใช้ เช่น ประจำเดือนมาน้อย, น้ำหนักขึ้น หรืออาการระคายเคือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจมีข้อบ่งชี้สำหรับบางคนที่อาจจะไม่สามารถใช้การคุมกำเนิดบางอย่างได้ ดังนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีต่าง ๆ ควรศึกษาให้ดีก่อน หรือรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนก็ได้เช่นกัน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม

ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ?

การกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ฉบับเข้าใจง่ายสำหรับคุณผู้หญิง

ที่มาข้อมูล : siphhospital, pobpad, sikarin, hdmall

บทความโดย

Sutthilak Keawon