ทารกแรกเกิดนอนกี่ชั่วโมง ทารกต้องนอนมากแค่ไหน นอนกี่ชั่วโมง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนหลับ คือองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การหลับได้ลึก หลับได้นาน และหลับเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้พวกเขาตื่นขึ้นมามีความร่าเริงสดใส และพร้อมที่จะเรียนรู้โลกใบใหม่อย่างเต็มที่ คุณแม่คงสงสัยว่า ลูกของเราควรจะนอนกี่ชั่วโมงกันนะ ยิ่งเป็นลูกทารกล่ะ ทารกแรกเกิดนอนกี่ชั่วโมง หากลูกนอนนานเกินไป ควรจะปลุกหรือไม่ วันนี้ theAsianparent จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูกันว่า เด็กทารกแรกเกิดควรนอนกี่ชั่วโมง พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

 

ลักษณะการนอนของเด็กทารก

ลูกน้อยวัยทารก ยังไม่รู้จักกลางวัน หรือกลางคืน คุณพ่อคุณแม่จึงจะเห็นว่าเด็กทารกนอนหลับได้ตลอดเวลา แล้วก็สามารถตื่นขึ้นมาได้ตลอดทั้งวันเช่นกัน สาเหตุของการตื่นก็เป็นเพราะความหิวนั่นเอง กระเพาะของลูกยังเล็กมากเหลือเกิน และมีความจุไม่เพียงพอที่จะโอบอุ้มน้ำนมเพื่อหล่อเลี้ยงตัวเองได้นานนัก ลูกจึงมักจะตื่นขึ้นมาเพราะความหิว โดยไม่เลือกเลยว่าจะเป็นเวลาตีสอง ตีสาม หรือแปดโมงเช้าก็ตาม

 

ทารกแรกเกิดนอนกี่ชั่วโมง นอนเป็นเวลาขนาดไหน ?

1 วันมี 24 ชั่วโมง และเป็นเวลาที่ลูกน้อยแรกเกิดนอนหลับไปแล้วถึง 14 – 17 ชั่วโมง อาจจะดูว่านานแล้ว แต่ก็ยังมีเด็กทารกบางคนที่ทุบสถิติการนอนหลับยาวนานไปได้ถึง 19 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

โดยปกติ เด็กทารกจะตื่นขึ้นมาทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมงเพราะความหิว แม่ให้นมอาจจะต้องเอาลูกเข้าเต้าบ่อยเสียหน่อย เพราะลูกน้อยจะหิวเร็วกว่า เด็กที่กินนมขวด หากลูกน้อยหลับนานเกินไป คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะปลุกลูกให้ตื่นขึ้นมากินนมทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่พอดี และมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม หรืออย่างน้อย ๆ ก็ช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด หลังจากนั้นค่อยปล่อยให้ลูกหลับยาวขึ้น โดยไม่ต้องปลุกในเวลากลางคืนได้

 

ลักษณะการนอนหลับของทารก แบ่งตามช่วงอายุ

การนอนหลับของเด็กทารกไม่มีลักษณะที่แน่นอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเรียนรู้จากชีวิตน้อย ๆ ของลูกว่า พวกเขาชอบนอนหลับในเวลาไหนมากกว่ากัน ทารกอายุ 2 – 3 เดือนบางคนจะนอนตอนกลางคืนรวดเดียว 5 – 6 ชั่วโมง ในขณะที่ทารกบางคนก็ไม่เป็นแบบนั้น มาดูกันว่าทารกในแต่ละเดือน มีนิสัยการนอนอย่างไรบ้าง ​?

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอนกี่ชั่วโมง เทคนิคจัดตาราง การนอนของทารก เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เด็กแรกเกิด 0 – 2 เดือน นอนวันละ 14 – 17 ชั่วโมง

ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลจนกลับมาถึงบ้าน คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เห็นลูกลืมตาตื่นมามองหน้ากันบ้างเลย การนอนหลับน่ะ คงจะเป็นความสุขของลูกในตอนนี้ก็เป็นไปได้ เพราะลูกใช้เวลาไปกับการนอนมากถึง 14 – 17 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว

ในช่วงเวลา 2 เดือนแรก กิจวัตรประจำวันของลูกจะมีแค่การนอน ตื่นมากิน ขับถ่ายใส่ผ้าอ้อม เสร็จแล้วก็กลับไปนอนต่อ เป็นอย่างนี้วนไป คุณแม่เองก็จะได้พักผ่อน ในตอนที่ลูกนอนหลับ แต่ก็ต้องตื่น ในเวลาที่ลูกตื่นเช่นกัน โดยทารกแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมาทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง และเพราะลูกยังไม่รู้จักกลางวัน กลางคืน เจ้าตัวเล็กก็เลยจะตื่นทั้งวันกันไปเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ปลุกดีไหม ? หากลูกหลับนานเกินไปแล้ว

เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้านแล้ว ลูกควรจะได้รับน้ำนมอย่างพอเพียง เพื่อให้น้ำหนักตัวกลับไปเท่ากับตอนแรกคลอด (โดยทั่วไปน้ำหนักตัวแรกคลอดของทารกจะลดลง 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ หลังจากคลอด) ในช่วง 2 สัปดาห์แรก หรือประมาณ 10 -14 วัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องปลุกให้ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก เพื่อกินนม ซึ่งหลังจากน้ำหนักตัวของลูกเข้าที่แล้ว ก็สามารถปล่อยให้ลูกหลับนานกว่าเดิมได้ แม้ว่ายังไงเจ้าตัวเล็กก็คงจะตื่นขึ้นมาร้องหานมแม่ในตอนกลางดึกอยู่ทุก ๆ วันอยู่ดี ก็เป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้แหละ

เคล็ดลับ ช่วยให้ลูกนอนหลับในเวลากลางคืนได้ด้วยการสร้างบรรยากาศตอนกลางคืนให้มืด และสงบเงียบ ในขณะเดียวกันก็ใช้แสงสว่างจากดวงไฟในเวลากลางวัน จะทำให้ลูกแยกแยะกลางวันกลางคืนได้มากขึ้น และเป็นการฝึกให้ลูกนอนหลับเป็นเวลาด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกวัย 3 – 5 เดือน เริ่มรู้จักกลางวัน – กลางคืน

เข้าสู่เดือนที่ 3 – 5 ถึงเวลานี้ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็คงทำความคุ้นเคยกับวัฏจักรชีวิตน้อย ๆ ของลูกได้มากขึ้นแล้ว และคงพอจะคาดเดาความต้องการของลูกได้อย่างแม่นยำขึ้นแน่ ๆ ว่าลูกตื่นเพราะหิว หรือตื่นเพราะอยากจะเล่นกับพ่อแม่

ลูกน้อยในวัยนี้เริ่มจะคุ้นเคยกับแสงแดดยามเช้า และเข้าใจถึงความมืดมิดในยามค่ำคืนขึ้นมาบ้าง ทารกบางคนจะเริ่มนอนหลับได้ยาวมากขึ้น ประมาณ 6 ชั่วโมงในเวลากลางคืน คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ และไม่ต้องปลุก หากไม่จำเป็น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปจะเป็นอะไรไหม?

 

 

  • ทารกก็นอนไม่หลับได้เหมือนกัน

ถึงแม้ว่าลูกวัย 3 – 5 เดือน จะหลับในเวลากลางคืนได้นานขึ้น แต่ทำไมลูกของคุณแม่ยังตื่นขึ้นมากลางดึกทุกที ! จะเรียกว่าเด็กวัยนี้ก็มีอาการนอนไม่หลับ หรือพฤติกรรมการนอนถดถอย (sleep regression) ก็ว่าได้ เพราะหลังจากที่นอนหลับกลางคืน ตื่นตอนเช้าได้สักพัก ลูกก็จะกลับไปตื่นตอนกลางคืนบ่อย ๆ และงีบหลับในตอนกลางวันแทน สาเหตุของพฤติกรรมการนอนหลับที่ถดถอยลงไปนี้ เกิดจากการพัฒนาการที่ค่อย ๆ ก้าวไกลขึ้น ทั้งกระบวนการด้านความคิด การรับรู้ พัฒนาการทางอารมณ์ และร่างกาย จึงทำให้สูญเสียการนอนหลับที่เป็นปกติไปในช่วงเวลาหนึ่ง

เคล็ดลับ คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะค่อย ๆ กล่อมให้ลูกง่วง แต่ยังไม่ถึงกับหลับลึก เป็นการฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะหลับได้ด้วยตัวเองในอนาคต

 

ทารกวัย 6 – 8 เดือน มักจะงีบกลางวัน นอนกลางคืน

เมื่ออายุ 6 เดือน ทารกส่วนมากก็พร้อมที่จะนอนหลับอย่างเต็มที่ในเวลากลางคืน โดยไม่ตื่นมาดื่มนมกลางดึกอีกแล้ว นิสัยการนอนหลับของลูกวัยนี้จะนอนตอนกลางคืน 8 ชั่วโมงขึ้นไป และจะนอนตอนกลางวันอีกประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง แบ่งเป็นการงีบรอบสั้น ๆ ตลอดวัน

แต่กระนั้น ภาวะการนอนถดถอย (sleep regression) นั้น ก็ดูเหมือนจะกลับมาอีกแล้ว แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทารกจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแยกจาก (separation anxiety) ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นพัฒนาการของเด็ก ลูกอาจจะร้องไห้ ไม่ยอมนอน หากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่เคยฝึกให้ลูกนอนหลับด้วยตัวเองมาก่อน ก็จะเป็นการยากที่จะฝึกลูกในตอนนี้ หากลูกร้องไห้งอแง คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งโกรธ หรือทำหน้าดุใส่ ให้ลูบศีรษะลูกเบา ๆ ร้องเพลงกล่อม ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และรู้ว่าพ่อกับแม่จะอยู่ตรงนี้กับลูกเสมอ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกวัย 9 – 12 เดือน

ลูกวัย 9 เดือนนี้ได้นอนเต็มอิ่มเสียทีในตอนกลางคืน ลูกจะหลับสบายไปจนถึง 9 – 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว แต่ก็ยังจะงีบหลับในตอนเช้า และตอนกลางวัน รวมเวลานอนกลางวันก็ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมงต่อวัน

การกลับมาของพฤติกรรมการนอนที่ถดถอยคราวนี้ เป็นเพราะลูกกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญของชีวิตอีกช่วงหนึ่ง นั่นคือการขึ้นของฟันน้ำนม พัฒนาการด้านร่างกาย การคลาน การยืน ทักษะการได้ยิน และการสื่อสารใหม่ ๆ หากคุณพ่อคุณแม่ได้ฝึกให้ลูกนิสัยการนอนให้ลูกอยู่ตลอดเวลา ลูกก็จะกลับมานอนหลับเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกนอน อย่าทำแบบนี้! 5 สิ่งที่ต้องห้ามเกี่ยวกับการนอนของทารก

 

 

ท่านอนที่ปลอดภัยที่สุดของทารก

ท่านอนหงาย เป็นท่านอนของทารกที่ปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อโรคใหลตายในทารก หรือ Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) ท่านอนหงายปลอดภัยมากกว่าการนอนตะแคงถึง 2 เท่า และปลอดภัยมากกว่าการนอนคว่ำถึง 6 เท่า เพราะจะทำให้ลูกหายใจได้สะดวก

 

ทารกนอนคว่ำได้ไหม ?

หากต้องการให้ลูกหัวทุย อยากฝึกลูกนอนคว่ำ ควรทำขณะที่ลูกตื่น โดยมีข้อดีของการจับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวยเช่น การจับลูกนอนคว่ำ ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกวัย 0 – 6 เดือน สามารถพลิกตัว คลาน นั่ง ลุก ยืน และเดินได้เร็วกว่า การฝึกลูกนอนคว่ำ ทารกจะฝึกยกคอขึ้นจากพื้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ลดความเสี่ยงในการเกิด SIDS ทั้งนี้การให้ลูกนอนคว่ำต้องอยู่ในสายตาของพ่อแม่ อย่าปล่อยให้ลูกนอนหลับไปเลย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ หากคลาดสายตาจากพ่อแม่

 

การนอนหลับเด็กทารกอาจไม่มีลักษณะที่แน่นอน คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้วิธีการสังเกตอารมณ์ และนับชั่วโมงการนอนของลูกด้วย เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน บางคนอาจตื่นบ่อย บางคนอาจหลับยาก คุณพ่อคุณแม่จึงควรเข้าใจการนอนของลูก เพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของเขา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกนอนบิดตัว เกิดจากอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยหรือไม่?

ลูกนอนกระตุก ทารกนอนหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

ทารกนอนอย่างไรให้ปลอดภัย ท่านอนทารก ที่นอนทารกแรกเกิด ต้องเป็นแบบไหน

ที่มา : healthline, kidshealth

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team