X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ? ก่อนลงมือชง คุณแม่มือใหม่อ่านก่อน

บทความ 5 นาที
นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ? ก่อนลงมือชง คุณแม่มือใหม่อ่านก่อน

ลูกเริ่มหย่านมแม่แล้วมากินนมชงได้มากขึ้น สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่เคยชงนมผง หรืออาจมีข้อสงสัยว่า นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ชงแล้วไม่อยากให้เสีย อยากให้ลูกได้กินนมที่มีสารอาหารครบถ้วน มีโอกาสในการปนเปื้อนน้อยที่สุด ทุกคำตอบอยู่ในบทความนี้เรียบร้อยแล้ว

 

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ?

หากอิงตามอุณหภูมิห้องปกติ นมชงทั่วไปเฉลี่ยแล้วจะอยู่ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น (ระยะเวลาแปรตามนมผงในแต่ละยี่ห้อด้วย) ดังนั้นจึงไม่ควรชงเตรียมทิ้งไว้นาน หรือหากต้องการเตรียมเอาไว้ คุณแม่ควรรู้วิธีการเก็บรักษา เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานมากขึ้น เหมาะกับคุณแม่ที่พาลูกน้อยออกไปข้างนอก ในขณะที่คุณแม่ที่อยู่บ้าน เราแนะนำให้ชงในเวลาที่จะให้ลูกกินนมจะดีที่สุด เพื่อความสดใหม่ และสารอาหารที่อยู่ในนมผง จะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

กรณีที่คุณแม่ให้ลูกกินนมไปแล้ว แต่ลูกกินไม่หมด คุณแม่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 ชั่วโมง หากเลยเวลาแล้วควรเอาขวดเก่าทิ้ง แล้วชงขวดใหม่ให้ลูกเลย อย่างไรก็ตามแม้จะมีวิธีการเก็บรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน แต่เราอยากให้คุณแม่ให้ความสำคัญกับนมที่ชงใหม่ ๆ มากกว่านมที่ชงเก็บเอาไว้ เพื่อประโยชน์ของตัวลูกน้อยเอง เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน ดีต่อพัฒนาการของร่างกาย

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 นมผงสูตร 3 วิธีเลือกนมผงสำหรับเด็ก สูตรไหนเหมาะกับลูกน้อย

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

อยากให้นมชงอยู่ได้นานมากขึ้น ควรทำอย่างไร ?

สำหรับนมที่ชงแล้ว จะเก็บรักษาควรปิดภาชนะให้มิดชิดที่สุด กรณีที่ลูกยังไม่กินตอนนี้ ควรรีบเก็บเข้าตู้เย็น สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง คือ การวางไว้ในจุดที่โดนแสงแดด หรือโดนความร้อน รวมถึงในรถ เพราะจะทำให้นมเสียได้อย่างรวดเร็ว สำหรับนมที่ชงแล้ว ให้ดูเวลาในการเก็บรักษาตามนี้

 

  • ชงไปแล้วลูกกินแล้วแต่ไม่หมด : นมที่ชงแล้ว ลูกควรทานให้หมดภายใน 1 ชั่วโมงหลังชง เพราะจะเสียเร็ว หากเกินเวลาควรทิ้งทันที
  • ชงแล้วยังไม่กิน : ควรเก็บรักษาทันที ด้วยการใส่ตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 – 4 องศาเซลเซียส ไม่แนะนำให้มากกว่านี้ และไม่แนะนำให้แช่นมในช่องน้ำแข็ง และไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 24 ชั่วโมงนับจากเวลาที่ชงเสร็จ
  • ทำการชงไปแล้ว แต่ลืมใส่ตู้เย็น : นมที่ชงไว้ในอุณหภูมิห้องไม่ควรให้ลูกกินหากเกิน 2 ชั่วโมงไปแล้ว อย่างไรก็ตามเราไม่แนะนำให้ลูกกินนมชงที่ตั้งไว้ แล้วลืมใส่ตู้เย็น เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนไปแล้ว

 

ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเปิดนมผงแล้ว ควรใช้ชงให้หมดภายใน 1 เดือน ไม่ควรเก็บไว้นาน เพื่อให้มีความสดใหม่ และลดโอกาสในการปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ และอย่าลืมตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุข้างกล่องก่อนตัดสินใจซื้อด้วย เพื่อคำนวณว่าจะใช้ได้หมดทันไหม

 

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง 2

 

ชงนมผงให้ระวัง คุณภาพอาจน้อย แถมอยู่ได้ไม่นาน

การชงนมผงให้กับลูกน้อยวัยกำลังโต อาจไม่ได้ทำให้ลูกโตมาแข็งแรงอย่างที่คิด เป็นเพราะการชงนมผงที่ผิดวิธี โดยสิ่งที่คุณแม่ต้องระวังให้ดี หากทำแบบนี้อยู่ให้หยุดทันที

 

  • ถึงแม้จะเคยชงนมผงมาก่อน ก็ไม่สามารถคิดไปเองว่านมผงต่างยี่ห้อกันก็ชงแบบเดียวกัน ควรศึกษาฉลาก และวิธีการชงทุกครั้งที่ซื้อมา ไม่ว่าจะต่างยี่ห้อ หรือต่างสูตร
  • อย่ากะปริมาณการชงด้วยตนเองเด็ดขาด ต้องทำตามสัดส่วนที่กำหนดไว้เท่านั้น เนื่องจากนมที่ถูกชงแบบผิดสัดส่วนที่กำหนด จะส่งผลเสียต่อลูกได้ เช่น มีอาการท้องผูก, ขาดสารอาหาร หรือขาดน้ำ เป็นต้น
  • ตามสื่อออนไลน์บางแห่ง อาจทำคลิปเติมส่วนผสมอื่น ๆ ลงในนม เพื่อให้มีรสชาติใหม่ ๆ เพื่อหวังให้ลูกกินนมได้อร่อยขึ้น เช่น น้ำตาล หรือซีเรียล เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ห้ามเอาอะไรเติมลงไปในขั้นตอนการชงนมเด็ดขาด
  • หากต้องการจะอุ่นนม ห้ามอุ่นนมชงผ่านไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะความร้อนจะไปไม่ทั่วถึงนมทั้งหมด คุณแม่อาจสัมผัสว่าอุ่นแล้วไม่ร้อนมาก แต่อาจยังมีนมบางส่วนที่ร้อน ส่งผลให้เสี่ยงทำให้ลูกรักปากพองอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : จำให้แม่น !! การเลือกซื้อนมผงให้ลูก อย่างไรให้เหมาะ ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง อย่าเพิ่งเชื่อว่าดี !

 

7 ขั้นตอนชงนมให้ดีรักษาไว้ได้นานเต็มเวลา ดีต่อลูกรัก

นอกจากสิ่งที่ต้องระวังด้านบนแล้ว หากคุณแม่อาจมาถึงจุดนี้อาจเป็นกังวลว่าตอนนี้ เราชงนมให้ลูกน้อยถูกหรือเปล่า ไม่ต้องห่วงไป เพราะเรามีขั้นตอนเบื้องต้นมาแนะนำ อย่างไรก็ตามคุณแม่อย่าลืมศึกษาเพิ่มจากข้างกล่องด้วยนะ

 

  1. ก่อนและหลังชงนมให้ลูกทุกครั้ง ควรล้างทำความสะอาดมือ และภาชนะให้ดีก่อนเสมอ สำหรับภาชนะควรเอาเข้าเครื่องฆ่าเชื้อด้วย หรือนำไปต้มก็ได้เช่นกัน และเช็ดให้แห้งก่อนนำมาชงนม
  2. น้ำร้อนที่จะใช้ชงให้ลูก ไม่ควรเป็นน้ำต้มที่เหลือมาจากการต้มครั้งก่อน ทุกครั้งที่ต้มน้ำไปชงนงให้ลูก ควรล้างกาน้ำ และใช้น้ำใหม่เสมอ
  3. น้ำที่เดือดแล้ว ยังไม่ควรนำมาชงนมทันที ควรตั้งทิ้งไว้ก่อนประมาณ 30 นาที หรือหากมีเครื่องวัดอุณหภูมิ ควรรอให้ลงมาอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส
  4. ก่อนเริ่มลงชงนมต่อไป ให้ทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่จะชงนมให้ลูก เพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อนเชื้อโรคที่มองไม่เห็น
  5. เมื่อพร้อมแล้วให้เติมน้ำอุ่น และตามด้วยนมผง ไม่แนะนำให้ใช้ช้อนอื่นในการตัก ควรใช้ช้อนที่กล่องให้มา เพื่อวัดปริมาณสัดส่วนได้ถูกต้อง เสร็จแล้วประกอบจุกนมกับฝาดันให้สนิท
  6. นำฝาปิดขวดน้ำที่ชงแล้ว จากนั้นเริ่มเขย่าเพื่อให้ผงนม และน้ำอุ่นเข้ากัน จนกว่านมผงจะละลายรวมกับน้ำ ไม่ได้จับตัวเป็นก้อน
  7. ทดสอบว่านมร้อนเกินไปหรือไม่ ด้วยการลองหยดนมลงบนแขนของตนเอง หากพบว่าร้อนเกินไป สามารถตั้งทิ้งไว้ได้ก่อน และคอยมาเช็กอุณหภูมิจนกว่าจะใช้ได้

 

นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง

 

อย่าเสียดายนมชง สนใจความสดใหม่ดีกว่า

ก่อนจะทิ้งนมที่เกินเวลาแล้ว หากมีความคิดที่ว่าเกินไปเพียงไม่กี่นาที คงจะยังกินได้อยู่ ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน คุณแม่ห้ามเสียดายนมที่สุ่มเสี่ยงจะเกินเวลาเด็ดขาด หากต้องทิ้งก็ต้องทิ้ง เพราะหากนำมาให้ลูกกิน เพราะกลัวว่าจะเสีย จากความเสียดาย จะส่งผลเสียต่อทารกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารได้ แนะนำอาการมีไข้, อาเจียน, ถ่ายเหลว และอุจจาระเปลี่ยนไป รวมถึงมีมูกเลือด เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ รวมถึงความผิดปกติใด ๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพราะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในทางเดินอาหารได้

 

วิธีชงนม และวิธีการเก็บที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์โดยตรงต่อตัวของลูกน้อยเอง หากให้ความสำคัญแน่นอนว่าลูกน้อยจะแข็งแรง และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างแน่นอน

 

บทความจากพันธมิตร
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
ไม่อยากให้ลูกตัวเล็ก ต้องอย่าพลาด 5 ขวบปีแรกช่วงเวลาสำคัญ มารู้จัก เคล็ดลับช่วยเสริมความสูง ให้ลูกได้ก่อนใคร!
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา
5 วิธีเสริมภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดเวลา

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่ที่เคยชงนมผงเด็ก 1 ออนซ์เท่ากับกี่ ml

1ออนซ์เท่ากับกี่ml คะแม่ๆ ชงนมให้ลูกค่ะ แต่แม่ งงอยู่เลย 1ออนซ์เท่ากับกี่มิลลิลิตร

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นมผง ได้ประโยชน์น้อยกว่านมพร้อมดื่มจริงหรือ? คุณแม่ควรเลือกซื้อนมผงอย่างไร

นมผงทารก นมผงดัดแปลง เลือกสูตรไหน แม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกแพ้นมผง

10 อันดับ นมสูตร 4 ที่ดีที่สุดสำหรับเด็กวัยหัดเดิน 2-3 ปีเป็นต้นไป

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • นมแม่และนมผง
  • /
  • นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ? ก่อนลงมือชง คุณแม่มือใหม่อ่านก่อน
แชร์ :
  • แลคโตเฟอรินในนมแม่ ป้องกันแบคทีเรียให้ทารก ให้นมลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร

    แลคโตเฟอรินในนมแม่ ป้องกันแบคทีเรียให้ทารก ให้นมลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร

  • แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

    แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

  • เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม ใครทำอยู่หยุดด่วน ไม่ใช่ผลดีกับทารก

    เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม ใครทำอยู่หยุดด่วน ไม่ใช่ผลดีกับทารก

  • แลคโตเฟอรินในนมแม่ ป้องกันแบคทีเรียให้ทารก ให้นมลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร

    แลคโตเฟอรินในนมแม่ ป้องกันแบคทีเรียให้ทารก ให้นมลูกไม่ได้ควรทำอย่างไร

  • แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

    แลคโตเฟอร์ริน คืออะไร พบได้ในนมแม่ มีส่วนสำคัญกับทารกมากกว่าที่คิด

  • เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม ใครทำอยู่หยุดด่วน ไม่ใช่ผลดีกับทารก

    เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม ใครทำอยู่หยุดด่วน ไม่ใช่ผลดีกับทารก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ