อาการคนเริ่มท้อง เป็นยังไง ดูยังไงว่าตัวเองท้องหรือไม่ ภาวะตั้งครรภ์ปกติหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการคนเริ่มท้อง เป็นอย่างไร เพราะผู้หญิงแต่ละคนมักจะแสดงอาการแพ้ท้องแตกต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงระยะสัปดาห์แรกนั้น บางคนอาจไม่มีอาการแสดงใด ๆ เลย ในทางกลับกันบางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องหรืออาการอื่นตามมาอย่างหนัก และแพ้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ในวันนี้ เรามี ” 10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้ ” มาฝากกัน เรามาดูกันค่ะว่า จะสามารถทราบได้อย่างไรบ้าง ว่านี่คือการท้องจริง หรือแค่คิดไปเอง

 

10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้

หลาย ๆ คำบอกเล่าที่เราเคยได้ยินมาว่า นี่แหละคืออาการคนท้อง แต่ครั้นจะรีบไปตรวจกับแพทย์เลยก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่พร้อม แต่บางคนก็ต้องการมีน้องเสียเหลือเกิน อยากบอกว่าให้คุณแม่ใจเย็น ๆ ค่ะ ลองมาดู 10 อาการก่อนว่า คุณแม่มีอาการเหล่านี้หรือไม่

  • ประจำเดือนขาด

ต้องแน่ใจว่าปกติแล้วคุณเป็นคนที่มีประจำเดือนปกติ ไม่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งถ้าหากประจำเดือนขาดไปเกินกว่า 10 วัน นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่ากำลังตั้งท้องแล้วค่ะ

  • รู้สึกคัดเต้านม

มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจากรกและรังไข่จะผลิตไข่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หัวนมและลานนมมีสีเข้มขึ้น เต้านมขยายใหญ่ รู้สึกรัดรึง เจ็บ ๆ ตึง ๆ อาการแบบนี้คืออาการของคุณแม่มือใหม่ค่ะ ถ้าท้องสองเป็นต้นไปจะไม่ค่อยรู้สึกแล้ว

  • ตกขาวมากขึ้น

เมื่อรูปร่างหรือสรีรรวมถึงฮอร์โมนในร่างกายมีการปรับระดับสูงขึ้นจึงทำให้ผู้หญิงมีอาการตกขาว มากกว่าปกติ จะเป็นมูกสีขาวขุ่น ไม่ใช่สีเขียว สีเหลือง นะคะ ถ้ามีสีเหล่านี้แสดงว่ากำลังติดเชื้อในช่องคลอดค่ะ

  • เลือดจาง ๆ ออกจากช่องคลอด

หากมีเลือดออกเล็กน้อยกะปริบกะปรอย สีจาง ๆ อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของการปฏิสนธิภายในมดลูก เรียกว่าเลือดล้างหัวเด็กซึ่งเลือดนี้จะหยุดไหลไปเองภายใน 1-2 วัน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้

ต้องบอกว่าเป็นอาการพื้นฐานของคนตั้งท้องจะมีอาการปวดหัวในสัปดาห์แรกนั้น แล้วจะค่อย ๆ มีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแม่ท้อง บางคนเครียดวิตกกังวลมากเกินไป จนทำให้เกิดอาการวิงเวียน จนความเครียดลงกระเพาะจนอาเจียนออกมา  แต่บางคนแค่ปวดหัวเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ปวดหัวอย่างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องกินยาแก้ปวดอะไรได้บ้าง

  • ปวดหลังล่าง แถวบั้นเอว

ผู้หญิงจะปวดหน่วง ๆ ช่วงบั้นเอว บริเวณหลังล่าง บางคนอาจมีอาการตะคริว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อส่วนกลาง ตรงเชิงกรานแถวมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับทารกน้อย จึงทำให้ปวดหลัง และจะปวดเรื่อย ๆ เพราะทารกจะเติบโตขึ้นภายในร่างกายของคุณแม่นั้นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รู้สึกหายใจถี่

คนท้องจะรู้สึกหายใจถี่ ๆ เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ เพราะลูกน้อยกำลังเจริญเติบโตและต้องการออกซิเจนจากคุณแม่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้คุณแม่ควรหายใจลึก ๆ ยาว ๆ เพื่อนำออกซิเจนเข้าไปในร่างกายให้มากขึ้น

  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น

เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์จะสร้างของเหลวมากขึ้น มดลูกที่ขยายต้องการเลือดไปเลี้ยงทารกจึงทำให้ไตทำงานหนักกว่าปกติ กรองเอาของเสียจากปัสสาวะเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย ทั้งนี้เมื่อมดลูกที่ติดอยู่กับกระเพาะปัสสาวะขยายตัวจึงไปกดทับซึ่งกันและกัน ส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยนั่นเอง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ว่ากันว่า คนท้องอารมณ์แปรปรวน เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงค่ะ ทั้งอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย อ่อนไหว ดราม่าเก่งขึ้น ร้องไห้ง่าย บอกได้เลยว่านี่คือบอกการเข้าสู่สภาวะตั้งครรภ์ในระยะแรก ทั้งนี้คุณพ่อต้องเตรียมรับมือ ทำความเข้าใจโดยไม่ถือสาคุณแม่มือใหม่ อาจจะกินยากขึ้นด้วยนะคะ

  • ท้องอืด ท้องผูก ไม่สบายท้อง

เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น จะส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้มีการบีบตัวของลำไส้ลดลง ทำให้อาหารย่อยช้าลง เกิดลมในกระเพาะมากขึ้น จึงทำให้ท้องอืดและท้องผูก  ดังนั้นคุณแม่ควรหันมาเริ่มดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ผัก ผลไม้ นม เพื่อเสริมสร้างร่างกายและลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรงตั้งแต่เนิ่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง: ตั้งครรภ์ 1-3 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

 

อาการคนเริ่มท้อง ต้องดูที่น้ำหนักคุณแม่หรือไม่?

น้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้น มีผลมาจากหลายส่วน ทั้งจากลูกน้อยที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตภายในครรภ์ของคุณแม่ ทั้งจากรก น้ำคร่ำ ปริมาณเลือด แม้กระทั่งเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น แต่ก่อนที่จะคิดว่าน้ำหนักจะเพิ่มมากจนคุณแม่หรือลูกในท้องจะอ้วนเกินไปนั้น มีวิธีคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์กัน โดยคำนวณจากดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ เริ่มต้นจาก น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารคนท้องไตรมาสแรก 10 อย่าง  คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไรมาดูกัน!

 

ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนัก

ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว ส่วนน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดจะมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่า

 

 น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์)  น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) 12.5 – 18กิโลกรัม 2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5 – 16 กิโลกรัม 1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) 7 – 11.5 กิโลกรัม  0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
อ้วน (≥30) 5 – 9 กิโลกรัม 0.2กิโลกรัม

 

อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.5-16 กก.

  • หากคุณแม่มีค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5-18 กก.
  • ถ้ามีค่า BMI เพิ่มขึ้นระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 7-11.5 กก.
  • แต่ถ้าหากผู้หญิงมีค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 5-9 กก. นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง: ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ ” 10 สัญญาณ อาการคนเริ่มท้อง ที่ผู้หญิงต้องรู้ ” ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ การสังเกตตัวเองเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรละเลยเด็ดขาด เพื่อให้เราสามารถเตรียมตัวได้ดีขึ้น หากแม่ท้องท่านใดรู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นมากเกินกำหนด ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก เพราะนั่นจะส่งผลเสียโดยตรงต่อทารกในครรภ์ ทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ โดยสิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของคุณหมอจะดีที่สุดค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

40 เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ วิดีโอแนะนำการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ โดย theAsianparent และ The Selection เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงของคุณแม่มือใหม่

ท้อง 1 อาทิตย์ตรวจเจอไหม ตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์ตรวจเจอไหม มาดูกัน!

เคล็ดลับเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และเทคนิคการเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ตั้งครรภ์

ที่มา: 1 , 2

บทความโดย

Napatsakorn .R