โอกาสทอง!!!เพิ่มเซลล์สมองให้ลูกก่อนสายเกินไป

การพัฒนาสมองให้แก่ลูกสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในครรภ์ นอกจากนี้เมื่อเจ้าหนูคลอดออกมาแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็ยังมีหน้าที่ช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองของลูก ทั้งด้านโภชนาการ การเลี้ยงดู การอบรมสั่นสอน ให้ลูกได้เล่น ได้ออกกำลังกาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สมองเกิดการพัฒนาได้ทั้งสิ้น แล้วการเพิ่มเซลล์สมองล่ะ ต้องทำอย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เซลล์สมอง

งานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า การพัฒนาสมองเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งลูกมีอายุครบ 2 ขวบปี ในช่วงเวลาดังกล่าวมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นกระบวนการสร้างเซลล์สมอง ควบคู่กับเส้นใยประสาทมีการทำงานได้รวดเร็วที่สุดในชีวิต ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เซลล์สมองของลูกพัฒนาได้ มีองค์ประกอบ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. พันธุกรรม 2. การเลี้ยงดู และ3. โภชนาการ

โอกาสทอง!!!เพิ่มเซลล์สมองให้ลูกก่อนสายเกินไป

1. นมแม่

นมแม่ คือ อาหารชั้นเลิศสำหรับทารก และมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองตั้งแต่แรกเกิด คือ ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ช่วยในการทำงานของสมอง โดยให้กรดอะมิโนจำเป็น เช่น ทริปโทเฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับสร้างสารสื่อประสาท และเป็นส่วนประกอบของเส้นใยประสาทของลูก ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี และดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาสมองและอารมณ์

2. การเลี้ยงดูด้วยความรักและความเข้าใจ

การเลี้ยงดูลูกอับดับแรกที่พ่อแม่ควรทำ คือ การสัมผัส โอบกอด การเล่น การได้หัวเราะกับลูก งานวิจัย พบว่า เด็กที่ไม่ค่อยได้เล่น หรือไม่ค่อยได้รับการสัมผัสโอบกอด จะมีสมองที่มีขนาดเล็กกว่าเด็กปกติ 20 – 30 % นอกจากนี้ การโยกตัวลูกเบา ๆ การสบตา การพูดคุยกับลูกมากเท่าไหร่ยิ่งช่วยเพิ่มสารแห่งความสุข (เอนดอร์ฟิน)ในสมองลูกมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดเป็นช่วงที่เส้นใยประสาทกำลังก่อตัว ถ้าลูกได้เล่น ได้หัวเราะ สมองของลูกจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกรักมีพัฒนาการที่ดี มีสมองและความจำที่ดี ควรส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างเหมาะสม นั่นคือ เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองโดยมีคุณพ่อคุณแม่อยช่วยเหลือแนะนำ การเลี้ยงดูลูกน้อยในสภาพแวดล้อมที่ดี ได้รับการกระตุ้นฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความแนะนำ 5 ความเชื่อผิด ๆ ในการเลี้ยงดูส่งผลเสียต่อ IQ และ EQ ของลูกได้

3. แบบอย่างที่ดีคือ พ่อแม่

พ่อแม่คือกระจกสะท้อนของลูก ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อยากเห็นลูกจดจำในสิ่งที่ดี การปฏิบัติตนของพ่อแม่ก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น หากพ่อแม่เป็นคนชอบใฝ่หาความรู้ ชอบอ่านหนังสือ ภาพสะท้อนเหล่านี้จะสะท้อนกลับเข้าไปในสมองของลูก แต่ถ้าพ่อแม่ทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ชอบทะเลาะ มีปากเสียงกัน ภาพทางลบเหล่านี้ก็จะถูกซึมซับถ่ายทอดไปยังสมองลูกเช่นกัน

บทความแนะนำ 7 เรื่องจริงของสมองลูก เพื่อการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

4. เครียดVSความสุข ส่งผลต่อเซลล์สมองของลูกต่างกัน

หากลูกมีความเครียดและแรงกดดันมาก หรือมีอารมณ์ซึมเศร้า ถือเป็นอารมณ์เชิงลบ จะส่งผลเชิงลบต่อสารเคมีในสมอง ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ของลูกลดลง นอกจากนี้ ความเครียดขัดขวางการคิดและการเรียนรู้ เด็กที่เกิดความเครียดจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดี เช่น เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทำให้เกิดความหวาดกลัว เครียด บรรยากาศการเรียนรู้ไม่มีความสุข คับข้องใจ

จากผลการวิจัย เด็กที่มีความเครียด สารเคมีทั้งร่างกายปล่อยออกมาจะไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด เรียกว่า คอร์ติโซล (Cortisol) จะทำลายสมองโดยเฉพาะสมองส่วนคอร์เท็กซ์หรือพื้นผิวสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด กับสมองส่วนฮิปโปแคมปัสหรือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำ ซึ่งความเครียดทำให้สมองส่วนนี้เล็กลง เด็กที่ได้รับความเครียดอยู่ตลอดเวลา หรือพบความเครียดที่ไม่สามารถจะคาดเดาได้ ส่งผลต่อการขาดความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะเด็กมีสมองพร้อมที่จะเรียนได้ แต่ถูกทำลายเพราะความเครียดทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ได้หายไปตลอดชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในทางตรงข้าม หากลูกมีความสุข มีอารมณ์ที่มั่นคง สมองจะหลั่งสารเคมีที่ดี ส่งผลให้การเรียนรู้รวดเร็วและมีความจำที่ดี มีความพร้อมที่จะเรียนรู้

5. การเล่นช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง

การเล่นของเด็กมีผลต่อการพัฒนาเซลล์สมองโดยตรง ประสบการณ์ที่ได้จากการเล่น ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับ การสัมผัส ล้วนส่งเสริมให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น การเล่นเป็นการทำงานของเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ส่งเสริมการพัฒนาสมอง และเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพสมอง และ เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากสุดของเด็กโดยเฉพาะถ้าพ่อแม่เล่นกับลูก พ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก ยิ่งเล่นมากยิ่งฉลาดมาก

แต่ในปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่บางท่านมักจะส่งเสริมให้ลูกได้เรียนด้านวิชาการจนบางทีอาจจะมากเกินไป หรือที่เรียกว่า over program จนลูกไม่มีเวลาทำอย่างอื่น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วควรจะให้ลูกมีเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตวัยเด็กให้สมดุล ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ การปรับตัว การช่วยเหลือกัน, การเข้ากับผู้อื่น ใช้ชีวิตในสังคม, มีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้นเพราะสิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานของชีวิตที่สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่วัยเด็ก

บทความแนะนำ ของเล่นที่ดีที่สุดของลูก คือพ่อแม่

6. หนังสือคืออาหารสมอง

เซลล์สมองของลูกจะเชื่อมต่อและแตกแขนงออกไปเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม ผ่านการเรียนรู้และฝึกใช้ประสาทสัมผัส โดยเฉพาะทางสายตาและทางหู การอ่านหนังสือเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่มีอิทธิพลในการกระตุ้นเซลล์สมองช่วยเพิ่มเส้นใยสมองให้มากขึ้น เชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นสายใยมากขึ้น

บทความแนะนำ แม่ท้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดทารกตั้งแต่ในครรภ์

7. การนอนเสริมประสิทธิภาพของสมอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก ในแต่ละวันลูกทำกิจกรรมมากมายทั้งเรียน และเล่น จนร่างกายและสมองเหนื่อยล้า การพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือ การนอน เด็กวัยเรียนร่างกายต้องการการนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง ในช่วงเวลานอนสมองจะทำงาน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน การได้นอนหลับที่ดีและเพียงพอจะช่วยให้ลูกสนใจจดจ่อในการเรียนที่โรงเรียน มีความสามารถที่จะตัดสินใจและมีความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองโดยตรง

บทความแนะนำ เผยความลับ… การพัฒนาสมองของลูกกับการนอนหลับ

8. โภชนาการดี สำคัญต่อสมอง

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน เด็กวัยนี้มีการเคลื่อนไหวและใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดอยู่เฉย ยกเว้นว่าไม่สบาย ดังนั้นร่างกายจึงต้องการสารอาหารต่างๆ ครบทั้ง 5 หมู่และในปริมาณที่เพียงพอ เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยกำลังโต ร่างกายของเด็กต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้าม เนื้อ เนื้อเยื่อและ ฮอร์โมน ที่เป็นขุมพลังงานสำหรับเด็กที่จะนำไปใช้แต่ละวัน ที่สำคัญการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามสัดส่วนในแต่ละช่วงวัยจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเสริมสร้างร่างกายและสมอง

บทความแนะนำ เคล็ดลับ 19 ประการสร้างโภชนาการที่ดีให้ลูกวัยอนุบาล

9. ดนตรี & ศิลปะ ช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต เส้นใยสมองของลูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่จะมีประสิทธิภาพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นจากการเลี้ยงดู ผ่านสิ่งแวดล้อม ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมอง การฟัง การสัมผัส การได้กลิ่น และการรับรส

การฟังเสียงจึงเป็นหนึ่งในการพัฒนาเซลล์สมอง โดยเฉพาะการฟังเสียงดนตรี ส่งผลให้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาทำงานประสานกัน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้ เสียงดนตรีจึงเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการพัฒนาไอคิวและอีคิวของลูกไปพร้อมๆ กัน การฟังดนตรีจึงช่วยกระตุ้นให้มีการสื่อสารข้อมูลของสมองส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างเชื่อมโยงและราบรื่นยิ่งขึ้น

งานศิลปะมีผลต่อการพัฒนาเด็กทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม รวมไปถึงการพัฒนาสมองและจินตนาการ เช่น เมื่อเด็กวาดภาพ เขาต้องใช้สมองในการคิด วาด ลงสี สมองได้คิดทบไปทบมาหลายครั้ง แต่ละครั้งคือ การวางแผน การเปรียบเทียบ การเลือกทำ สมองได้ทำงานอยู่เรื่อย ๆ ทำให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองส่งผลดีต่อความคิด ความจำของเด็กนั่นเอง

จะเห็นได้ว่า ดนตรีและศิลปะมิใช่เพียงแค่งานอดิเรกให้พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่กลับสร้างคุณค่าทั้งทางด้านจิตใจ การคิด จินตนาการ และสติปัญญาอีกด้วย

เด็กมีสมองเหมือนกัน แต่ฉลาดต่างกัน จุดสำคัญที่ทำให้เด็กฉลาดแตกต่างกัน คือ ปริมาณการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ซึ่งเกิดจากโภชนาการที่เหมาะสม การสัมผัส โอบกอด ความรัก ความเข้าใจ การเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้ลูกได้ค่ะ

จะเห็น โอกาสทองในการสร้างเซลล์สมองให้แก่ลูกนั้นทำได้ไม่ยากเลย ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่ให้เวลา ให้โอกาส ในการเลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ เซลล์ประสาทของลูกก็จะได้รับการพัฒนาเชื่อมต่อโยงใยเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ต่อไป

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูล

รศ.พญ.ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย “ไซแนปส์” เชื่อมต่อแสนล้านเซลล์สมอง สู่การเรียนรู้…ที่ไม่หยุดนิ่ง เว็บไซต์ไทยรัฐ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ.ญ.เกศินี โอวาสิทธิ์ นาทีทองพัฒนาสมองลูก ต้องทำใน 1,000 วันแรกของชีวิต เว็บไซต์ผู้จัดการ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

7 วิธีง่าย ๆ ออกกำลังกายสมองให้ลูกน้อย

เชื่อหรือไม่! ทำงานขณะเลี้ยงลูกมีผลต่อพัฒนาการสมองเด็ก