รู้ลึกเรื่องการทำ "อาหารทารก" ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

พอลูกน้อยอายุได้สัก 6 เดือน คุณแม่มักจะเฟ้นหาอาหารทารกที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ให้ลูกน้อยของคุณ แต่อาหารทารกในท้องตลาดก็มีราคาสูงเหลือเกิน ถ้าทำเองได้ก็คงประหยัดเงินได้โขอยู่ แต่อาหารทำเองจะยังคงคุณค่าทางโภชนาการเหมือนที่วางขายกันไหม หรือต้องใส่อาหารเสริมและวิตามินอะไรเพิ่มบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้ลึกเรื่องการทำ “อาหารทารก” ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

รู้ลึกเรื่องการทำ “อาหารทารก” ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรพลาด

จริง ๆ แล้ว นอกจากอาหารทารกทำง่ายและประหยัดเงินได้มากโขแล้ว มันยังทำให้มีประโยชน์สูงสุดได้ด้วย

ประโยชน์ที่ได้จากการทำอาหารเองให้ลูกน้อย

  • หาวัตถุดิบไม่ยากและวิธีทำก็ง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก
  • ปรุงรสให้ถูกปากลูกน้อยได้ตามใจชอบ อยากใส่อะไรก็ใส่ได้ขอให้สะอาดปลอดเชื้อและมีคุณค่าทางอาหารที่ทารกต้องการเท่านั้นเอง เหมือนอาหารทำทานเองที่บ้านที่มีรสชาติถูกปากทุกคน หาซื้อที่ไหนไม่ได้
  • ประหยัดเงินเพราะสามารถเตรียมให้พอดีกับที่ลูกต้องการในแต่ละมื้อได้ ไม่มีของเหลือทิ้ง
  • เลือกวัตถุดิบที่สดใหม่ปลอดสารตามที่ต้องการ

นอกจากอาหารทารก จะทำง่าย และประหยัดเงินแล้ว มันยังทำให้มี ประโยชน์สูงสุดได้ด้วย

อาหารสมอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชีวิตคนในสังคมปัจจุบันนี้ที่มีการแข่งขันสูงและทุกคนต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ทำให้พ่อแม่หลายคนที่ยังต้องทำงานอยู่คิดว่าตัวเองคงไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกน้อยเองและไม่รู้ว่าคุณทำอาหารที่มีโภชนาการสูงให้ลูกได้ในราคาที่ถูกกว่าอาหารที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ง่าย ๆ

เริ่มด้วยเกร็ดความรู้เบื้องต้นง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ที่อยากทำอาหารให้ลูกน้อยเอง

  • เอา ผักผลไม้ต่าง ๆ ที่คุณอยากให้ลูกลิ้มลองมาบดหรือปั่นรวมกับนมธรรมดาหรือนมสูตรสำหรับทารกหรือน้ำก็ได้ แล้วก็แบ่งให้พอดีกับแต่ละครั้งที่ต้องใช้ แล้วแช่แข็งไว้ วิธีนี้ช่วยให้คุณประหยัดเวลาเตรียมอาหารลูกได้และยังสะดวกใช้เวลาเดินทางอีกด้วย
  • ทำอาหารของตัวคุณและของลูกน้อยไปพร้อม ๆ กัน ช่วยให้คุณประหยัดเวลาได้มากขึ้นและไม่เหนื่อยเกินไป
  • อาหารบางอย่างที่ผู้ใหญ่ทานได้ทารกก็ทานได้เช่นกัน ขอแค่อย่าใส่เครื่องปรุงรสก็พอ

คำถามคาใจสำหรับพ่อแม่ที่อยากทำอาหารให้ลูกเอง

  • ใช้อุปกรณ์ครัวที่มีอยู่แล้วได้เพราะวิธีทำอาหารทารกส่วนมากจะเป็นการทำให้อาหารพวกผักผลไม้ ซีเรียล และธัญพืชต่าง ๆ สุกและนิ่มลง ด้วยการนึ่งหรือใช้เตาไมโครเวฟ แล้วบดหรือปั่นให้เป็นเละ แต่ต้องระวังไม่ให้มีเมล็ดหรือกากพอที่จะติดคอลูกได้ และถ้าแบ่งอาหารที่ทำไว้แล้วใส่ภาชนะเล็ก ๆ อย่างที่ทำน้ำแข็งแช่แข็งไว้สำหรับใช้มื้อต่อไปหรือไว้ใช้ตอนเดินทางก็จะสะดวกมากขึ้น  อย่าลืมหาภาชนะเล็ก ๆ ที่เป็นแก้วมีฝาปิดไว้สำหรับเก็บอาหารที่กินไม่หมดไว้ป้อนลูกมื้อต่อไปด้วย
  • หลังจากทำให้นิ่มแล้วบดหรือปั่นให้เหลวแล้ว ก็ปรุงแต่งรสชาติได้ตามใจให้มีสารอาหารครบถ้วนที่ทารกต้องการ
  • การนึ่งหรือใช้ไมโครเวฟเป็นวิธีเตรียมอาหารทารกที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้ดีที่สุด

ทารกเป็นวัยที่ยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่ดีพอ ดังนั้นถ้าคุณมีเครื่องล้างจานที่มีระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยการนึ่งจะกำจัดเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามช้อนหรือใบมีดของเครื่องบดปั่นได้ดี วิธีนี้ทำให้คุณมั่นใจ 100% ว่าอุปกรณ์เตรียมอาหารทุกอย่างที่ใช้ปลอดเชื้อจริง ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาหารทารกทำเอง

ปัจจัยอื่นที่ต้องใส่ใจเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทีนี้คุณก็เห็นแล้วว่าการทำอาหารทารกนั้นง่ายกว่าที่คิดไว้มาก แต่คุณก็ยังต้องพิถีพิถันในการตระเตรียมผักผลไม้ที่นำมาทำอาหารให้แน่ใจว่าสะอาด เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดจากเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะทารกน้อยไม่มีภูมิต้านทานโรคที่ดีพอนั่นเอง
  • ปอกเปลือกผลไม้ออกให้หมดและดูให้แน่ใจว่าไม่มีเมล็ดหลงเหลืออยู่ อย่างที่รู้กันดีว่าเด็กทารกยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่แข็งแกร่งพอที่จะรับมือกับสารเคมีป้องกันศัตรูพืชที่ตกค้างสะสมอยู่ตามเปลือกผลไม้ ส่วนเมล็ดที่เล็กมากก็อาจติดคอเด็ก ทำให้เสียชีวิตได้
  • งดน้ำตาลและเครื่องปรุงรสทุกชนิด อาหารสำหรับเด็กที่จะปรุงแต่งรสชาติด้วยน้ำตาลได้ ต้องเป็นอาหารสำหรับเด็กที่โตพอที่จะร่วมโต๊ะอาหารแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้เท่านั้น
  • น้ำผึ้งมีประโยชน์ก็จริง แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอ่อนที่อายุยังไม่ถึง 3 ขวบ
  • ห้ามเด็กวัยก่อน 1 ขวบ ทานไข่ดิบ ๆ เป็นอันขาด เพราะเด็กอาจแพ้ได้ แต่ถ้าเป็นไข่คนที่ทำให้สุกแล้วสำหรับเด็กอายุระหว่าง 8 – 10 เดือนก็อนุโลมได้
  • กุมารแพทย์ไม่แนะนำให้เด็กต่ำกว่า 3 ขวบกินเนยถั่ว เพราะบางคนแพ้ถั่วจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • งดให้นมวัวกับเด็กวัยต่ำกว่า 1 ขวบ
  • ถ้าอยากให้ลูกลองอาหารใหม่ ๆ ค่อย ๆ ให้ลองทีละอย่าง แล้วเว้นไปอีกสัก 3-4 วันถึงให้ลองตัวใหม่ จะได้รู้ว่าอาหารทารกตัวไหนที่ทำให้เด็กแพ้หรือย่อยยาก
  • งดเว้นผลไม้พวกเบอร์รี่ทุกชนิดและองุ่น เพราะเมล็ดจากผลไม้พวกเบอร์รี่และเปลือกองุ่นทำให้เด็กติดคอและเสียชีวิตได้ ยกเว้นสตรอเบอร์รี่ที่ได้ปั่นอย่างละเอียดแล้ว แต่ที่ดีที่สุดคืองดไปเลยเพื่อความปลอดภัย
  • พ่อแม่ไม่ต้องรีบให้ลูกเริ่มทานเนื้อสัตว์เพื่อเสริมสร้างโปรตีนเพราะทารกได้รับโปรตีนอย่างพอเพียงไม่ว่าจะจากนมแม่หรือนมผงสูตรสำหรับทารก พอครบ 1 ขวบ ก็สามารถดื่มนมสูตรเดียวกับที่ผู้ใหญ่ดื่มได้ จึงไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องนี้
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำผลไม้ทำให้ผลไม้นิ่มลงหรือปั่นรวมไปกับผลไม้ให้ลูกดื่ม เพราะในน้ำผลไม้มีส่วนผสมของน้ำตาลสูงมาก ซึ่งจะทำให้เด็กฟันผุ

น้ำผึ้งมีประโยชน์ก็จริง แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็กอ่อนที่อายุยังไม่ถึง 3 ขวบ

อะไรที่เด็กชอบกินและมีประโยชน์

เมื่อคุณรู้วิธีเตรียมอาหารทารกด้วยตัวเองและรู้ว่าอะไรที่ไม่ดีต่อลูกน้อยแล้ว คุณก็ควรจะรู้ด้วยว่าอะไรที่ดีและเด็กชอบกิน ความจริงแล้วเด็กมักจะชอบทุกอย่าง แต่คุณคือคนตัดสินใจเลือกว่าอะไรดีที่สุดสำหรับลูก

  • อโวคาโด เป็นตัวเลือกอันดับแรกเพราะนอกจากจะอร่อยแล้วยังบดปั่นได้ง่ายและที่สำคัญคือมีคุณค่าทางอาหารสูง
  • ลูกแพร์และแอปเปิล เป็นผลไม้ที่หาได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก ควรมีติดบ้านสำรองไว้ นึ่งหรือเข้าเวฟให้นิ่มแล้วทำให้เละก่อน
  • ถั่วเขียวและผักประเภทถั่วธัญพืชควรนึ่งแล้วนำมาบดให้เละผสมน้ำหรือนมสำหรับทารก ถ้าใช้อาหารทารกสูตรนี้ ต้องใช้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
  • ลูกพีชและลูกพลัมต้องเอามานึ่งหรือเวฟก่อนแล้วตระเตรียมตามต้องการ
  • ถั่วต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวต้องล้างให้สะอาด ทำให้สุกหมดทุกเม็ด แล้วบดให้เละผสมน้ำนิดหน่อย เพิ่มรสชาติและสารอาหารด้วยคอตเตจชีสลงไปก็ได้
  • กล้วยหอมที่ใช้ป้อนเด็กต้องเป็นกล้วยหอมที่สุกจนเกือบงอมแล้วเท่านั้น
  • ถ้าอยากให้ลูกทานโอ๊ตมีลอบแห้งต้องเทนมลงไปเพื่อทำให้นิ่มลง
  • อย่าลืมว่าโอ๊ตมีลที่แพ็คขายเป็นถุงมีน้ำตาลผสมอยู่เยอะมาก
  • ฟักทองเป็นแหล่งวิตามินและสารอาหารที่หลากหลายและมีโภชนาการสูง ถ้าคุณหาซื้อฟักทองปลอดสารที่บดเละแล้วไม่ได้ คุณก็ต้องทำให้นิ่มด้วยวิธีนึ่งหรือเวฟ แล้วมาบดให้เละเหมือนผักผลไม้อื่น ๆ เช่นกัน

ย่าลืมว่าโอ๊ตมีลที่แพ็คขายเป็นถุงมีน้ำตาลผสมอยู่เยอะมาก

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Healthy Children.org – Starting Solid Foods

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูตรอาหารเสริมสำหรับเด็กที่เพิ่งหย่านม

อาหารเสริมก่อนนอน ช่วยให้ลูกหลับดีขึ้น

3 สารอาหารสำคัญ สุดยอดเคล็ด(ไม่)ลับ เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ให้เขาเก่งกว่าใคร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team