ท้องแล้วเบื่ออาหาร อาการปกติของคุณแม่ท้องช่วงไตรมาสแรก แม้จะพยายามกินเท่าไร ก็จะเกิดอาการเวียนหัว อาเจียนจนเบื่ออาหารไปโดยปริยาย แต่การที่รู้ว่าตนเองตั้งท้องจึงเกิดความวิตกกังวลว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ ดังนั้นลองไปทำความเข้าใจกับอาการเบื่ออาหารของคุณแม่ท้องกันเลยค่ะ
ท้องแล้วเบื่ออาหาร ภาวะที่คุณแม่ท้องต้องรับมือ
ตั้งท้องแล้วเบื่ออาหาร เพราะเหนื่อยกับอาการแพ้ คลื่นไส้ อยากให้คุณแม่ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ เพราะเป็นเรื่องปกติของคนท้องที่จะแสดงอาการเหล่านี้ โดยมีสาเหตุ คือ
1. เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่
ปกติแล้วในการตั้งครรภ์ นอกจากร่างกายของผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย ซึ่งพบบ่อยในระยะเวลา 1-3 เดือนแรก จึงทำให้ช่วง 3 เดือนแรกเกิดความรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และอยากนอนตลอดทั้งวันได้
2. คุณแม่ท้องเบื่ออาหารมาก
อาการเบื่ออาหารมาพร้อมกับการเหม็นกลิ่นและรู้สึกไม่ชอบรสชาติอาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกหงุดหงิด ขยะแขยงกลิ่น หรือเบื่ออาหารเหล่านั้น สังเกตได้ว่าอาหารที่คุณแม่เคยชื่นชอบกิน อาจกลายเป็นอาหารที่ไม่อยากแม้แต่จะมองหรือเข้าใกล้ที่สุด
3. เบื่ออาหารจากอาการแพ้ท้อง
สิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ท้องเบื่อาหารคือ เหนื่อยที่จะอาเจียน เบื่ออาการคลื่นไส้ และเวียนหัว ถือว่าเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เบื่ออาหารได้เช่นกัน เช่นไม่กล้ากินมากกลัวอาเจียน ไม่กล้าที่จะแตะต้องอาหารเพราะไม่อยากคลื่นไส้ เพราะถ้าคุณแม่แพ้ท้องหนัก กลัวว่าถ้ารับประทานเข้าไปแล้วจะอาเจียนออกมาอีกนั่นเอง
4. ประสาทสัมผัสทีเปลี่ยนไป
คุณแม่ท้องส่วนใหญ่มีประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนไป เช่น สัมผัสกลิ่นและรสชาติได้ไวขึ้นจนกลายเป็นเกลียดกลิ่นหรือรสชาตินั้น ในขณะที่คุณแม่อีกหลาย ๆ คนกลับมีประสาทสัมผัสทางรสและกลิ่นลดลง ลิ้นรับรสชาติไม่ได้มากเท่าที่ควร อาจมีอาการขมคอจนอยากอาเจียน หรือที่เรียกกันว่า Metallic Taste รู้สึกไม่โอเคกับรสชาติอาหารที่เข้าไปในปากจึงเกิดความเบื่อ ไม่อยากอาหาร รู้สึกสะอิดสะเอียดอาหารนั้น ๆ ไปเลย
อาการท้องแล้วเบื่ออาหารส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม
- ไตรมาสแรก คนท้องเบื่อมักมีอาการแพ้ท้อง รู้สึกเพลีย เบื่ออาหารไม่ค่อยอยากกินอะไร แต่อาการเหล่านี้จะหายไป
- ไตรมาสที่ 2 อาการเบื่ออาหารและอาการแพ้ก็จะค่อยๆ ลดลงจนกลับมากินได้ตามปกติ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลมาก
- จากนั้นจะกินได้ปกติ เพราะช่วงแรก ทารกไม่ต้องการอาหารในการสร้างเนื้อเยื่อมากนัก อีกทั้งร่างกายของคุณแม่ที่มีความแข็งแรงจะป้อนสารอาหารที่จำเป็นแก่ทารกได้อย่างธรรมชาติ
- หากคุณแม่ท้องยังแพ้ท้องผิดปกติ จนเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ยังคงมีอาการเบื่ออาหาร ลองปรึกษาแพทย์ที่ดูแลค่ะ
ถ้าน้ำหนักแม่ไม่ขึ้น หรือน้ำหนักแม่ขึ้นน้อย มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่
แน่นอนว่าน้ำหนักตัวของแม่มีผลต่อลูกในท้อง ระหว่างตั้งครรภ์น้ำหนักตัวของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นรวมประมาณ 12-14 กรัม (ถ้าเกินกว่านั้นก็จะเสี่ยงอันตราย) สำหรับน้ำหนักของแม่ท้องจะประกอบด้วย
- ตัวลูกราว ๆ 3,300 กรัม
- รกราว ๆ 680 กรัม
- น้ำคร่ำราว ๆ 900 กรัม
- มดลูกที่ขยายขนาดขึ้นราว ๆ 900 กรัม
- เต้านมที่ขยายขนาดขึ้นราว ๆ 900 กรัม
- เลือดและน้ำในร่างกายที่เพิ่มปริมาณขึ้นราว ๆ 1,800 กรัม
- ไขมันและโปรตีนของตัวคุณแม่ราว ๆ 4,000 กรัม
บทความที่เกี่ยวข้อง: ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม คนท้องควรทำอย่างไร
อาหารสำหรับคนท้องแล้วเบื่ออาหาร
เลือกกินอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารที่สมดุลและหลากหลาย
- โปรตีน เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการสร้างอวัยวะและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เช่น นม ไข่ ถั่ว เนื้อสัตว์ เป็นต้น
- คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่ให้พลังงานและความอบอุ่นกับร่างกาย แหล่งอาหารกลุ่มนี้ เช่น ข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว สปาเกตตี้ เป็นต้น
- ไขมัน เป็นกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานและความอบอุ่นกับร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต และหากเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่จะพบได้จากอาหารทะเล สาหร่าย ปลา และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้จะมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ เช่น ดีเอชเอ, เออาร์เอ เป็นต้น
- วิตามิน เป็นสารอาหารที่ช่วยในการทำงานของกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น เป็นตัวช่วยให้ขบวนการย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แหล่งอาหารที่มีวิตามินที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ทุกชนิด ไข่ นม เนย ฟักทอง ถั่ว ฯลฯ
- แร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ก็เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ฯลฯ แร่ธาตุเหล่านี้จะได้จากการทานอาหารทุกชนิด เช่น ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวต่างๆ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง: กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ คลอดมาแข็งแรง
คนท้องต้องดูแลตัวเองอย่างไร
- ควรกินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่าง 2-3 ครั้งต่อวัน
- กินผักและผลไม้ในปริมาณมากเพื่อเพิ่มใยอาหารกับร่างกาย ช่วยให้ระบบขับถ่ายระหว่างตั้งครรภ์ทำงานได้ดี
- ดื่มน้ำอย่างน้อย 8-12 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะน้ำและเครื่องดื่มชนิดอื่น เช่น นมไขมันต่ำ และน้ำผลไม้
- กินปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพราะเนื้อปลาเป็นแหล่งที่สำคัญของกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid)
- ในการปรุงอาหารควรใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันโอลีฟ ในการทำอาหารแต่จำกัดปริมาณที่ใช้
กินอาหารที่สด สะอาด และมีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น จำกัดปริมาณอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร เนื่องจากปกติอาหารที่ผ่านการแปรรูปจะมีส่วนผสมของโซเดียม และสารกันบูดในปริมาณสูง - ลดการบริโภคคาแฟอีนด้วยการดื่มชา กาแฟ ช็อกโกแลต และน้ำอัดลมให้น้อยลง หากจำเป็นต้องดื่มชาหรือกาแฟขอให้กำจัดเพียงวันละไม่เกิน 1 แก้วเล็ก ๆ
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- จำกัดการบริโภคอาหารทอด ขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันสูง (เช่น มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ) อาหารรสหวานจัด และอาหารที่ให้พลังงานแต่ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ หากบริโภคมากเกินไป อาหารเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้คุณแม่มีน้ำหนักเกินหลังคลอดลูกได้นะคะ
แม้ว่าคุณแม่ท้องแล้วเบื่ออาหาร หรือจะอาเจียนมากแค่ไหน ทนไม่ได้กับกลิ่นหรือรสไม่แนะนำให้หยุดกินอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่รับประทานอะไรเลย ย่อมส่งผลเสียต่อลูกน้อยแน่นอน แนะนำให้ลองหาอาหารแก้แพ้ท้องที่กินได้สบายท้อง รสและกลิ่นไม่แรงมาแบ่งกินเป็นมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้นจะเป็นทางออกดีกว่าไม่รับประทานอะไรเลยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คนท้องอดอาหาร กินข้าวไม่ตรงเวลา ระวังลูกสมองไม่ดี
7 อาหารบำรุงสมองทารกในครรภ์ กินอะไรให้ลูกในท้องฉลาด
ผัวแพ้ท้อง แพ้ท้องแทนเมีย มีอาการแบบนี้จริงๆหรือ
ที่มา: konthong