ตรวจภาวะมีบุตรยาก ตรวจอะไรบ้าง? เตรียมพร้อมก่อนวางแผนมีลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่หลายคู่ล้วนเผชิญกับปัญหาการมีลูกยาก แม้ว่าจะพยายามสักเท่าไหร่แต่ก็ยังไม่สำเร็จสักที อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการ ตรวจภาวะมีบุตรยาก ที่จะช่วยหาสาเหตุที่ทำให้มีลูกยากและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ วันนี้เราจะพามาดูกันว่าการตรวจภาวะมีบุตรยากต้องตรวจอะไรบ้าง พร้อมบอกทางเลือกที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีลูกได้สำเร็จค่ะ

 

รู้จักภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก คือ การที่คุณพ่อคุณแม่มีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ใช้การคุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมออาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง แต่ก็ไม่ตั้งครรภ์ภายในระยะเวลา 1 ปี รวมถึงการมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ เคยผ่าตัดบริเวณอวัยวะเพศมาก่อน และปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่ตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ได้โดยไม่ต้องรอ 1 ปี แต่สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีอายุมาก หรือมีปัญหาทางสุขภาพ และไม่ตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือน ก็สามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจภาวะนี้ได้

 

ปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยาก

ส่วนมากแล้วสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก 40% เกิดจากผู้หญิง 40% เกิดจากผู้ชาย 20% เกิดจากทั้งสองฝ่าย ส่วนอีก 10% ไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีบุตรยากนั้นเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • ฝ่ายหญิง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงมีลูกยากเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น เคยแท้งบุตรหรือท้องนอกมดลูกมาก่อน มีเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก อุ้งเชิงกรานอักเสบ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนผิดปกติ อ้วนหรือผอมมากเกินไป มีโรคประจำตัว เช่น โรคไทรอยด์หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
  • ฝ่ายชาย สาเหตุที่ทำให้ผู้ชายมีลูกยากมีหลายสาเหตุเช่นเดียวกันกับของผู้หญิง เช่น พันธุกรรม จำนวนเชื้ออสุจิน้อยเกินไป การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ยารักษาโรคบางชนิด การใช้ยาบางอย่าง เช่น การฉายรังสี ยาเคมีบำบัด รวมถึงโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน และโรคทางต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมเราถึง มีบุตรยาก เป็นเพราะอะไร สาเหตุที่ไม่ท้องเกิดจากอะไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจภาวะมีบุตรยากของผู้หญิงและผู้ชายจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แต่ก็มีความเหมือนกันคือการตรวจระบบสืบพันธุ์หลัก ๆ ซึ่งการตรวจสุขภาพของทั้ง 2 ฝ่ายนั้น จะแตกต่างกันดังนี้

 

1. การตรวจภาวะมีบุตรยากของฝ่ายหญิง

สำหรับคุณแม่ที่กำลังจะตรวจภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะทำการตรวจร่างและตรวจทางนรีเวชที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์เพื่อตรวจหาสาเหตุว่าทำไมถึงมีบุตรยาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ตรวจรังไข่

แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวนด์ที่ช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติของรังไข่ เนื้องอกรังไข่ และท่อนำไข่ เนื่องจากรังไข่มีหน้าที่ผลิตเซลล์ไข่ จึงมีผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรง หากเกิดความผิดปกติก็จะทำให้เซลล์ไข่ผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากแพทย์ตรวจพบความผิดปกติ เช่น การมีเนื้องอกที่ทำให้ผลิตเซลล์ไข่ได้ไม่สมบูรณ์ แพทย์ก็ทำการรักษาได้อย่างถูกจุด

 

  • ตรวจมดลูก

การตรวจมดลูกเป็นสิ่งหนึ่งที่แพทย์จะต้องตรวจ เพราะมดลูกมีความเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ หากมดลูกของคุณแม่ไม่แข็งแรงก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ สำหรับการตรวจมดลูกนั้น แพทย์จะทำการส่องกล้องภายในมดลูกเพื่อหาความผิดปกติ ซึ่งเมื่อเจอความผิดปกตินั้น แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจและวางแผนการรักษาต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก

ในการตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก แพทย์จะทำการอัลตราซาวนด์ช่องคลอดเพื่อความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก หรือก้อนเนื้อในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากภายในโพรงมดลูกเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ หากมีการเจริญผิดที่ก็จะทำให้มีบุตรยากนั่นเอง

 

  • ตรวจฮอร์โมน

บางครั้งการมีบุตรยากก็อาจเกิดจากฮอร์โมนบางชนิดได้ คุณแม่จึงต้องตรวจฮอร์โมนเพื่อดูความสามารถในการทำงานของรังไข่และการผลิตเซลล์ไข่ ซึ่งฮอร์โมนที่ว่านี้เรียกว่าแอนตี้มูลเลอเรียน (AMH) แพทย์จะตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพื่อทดสอบสมรรถภาพของรังไข่ หากคุณแม่มีระดับฮอร์โมนนี้น้อยเกินไป ก็อาจเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก แต่ถ้าหากมีระดับฮอร์โมนนี้ที่สูงเกินไป ก็อาจทำให้เกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบด้วย เสี่ยงต่อการมีบุตรยากเช่นเดียวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคร้ายที่อาจทำให้คุณแม่มีบุตรยาก

 

 

2. การตรวจภาวะมีบุตรยากของฝ่ายชาย

นอกจากการตรวจสุขภาพของผู้หญิงแล้ว การตรวจสุขภาพของผู้ชายก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะการตั้งครรภ์ของผู้หญิง ต้องอาศัยจำนวนและความแข็งแรงของสเปิร์มนั่นเอง โดยสิ่งที่คุณพ่อจะต้องตรวจมีดังนี้

 

  • ตรวจความเร็วในการเคลื่อนที่ของอสุจิ

การเคลื่อนไหวของอสุจิก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากเคลื่อนไหวช้าเกินไป ก็จะทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย หากตรวจพบว่ามีปัญหานี้ แพทย์จะทำการหาวิธีที่ทำให้เซลล์ไข่และอสุจิสามารถปฏิสนธิกันได้โดยไม่ต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของอสุจิค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ตรวจปริมาณอสุจิ

การตรวจปริมาณอสุจิในน้ำเชื้อมีผลอย่างมากต่อการมีบุตร หากพบว่าคุณพ่อมีปริมาณอสุจิที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้มีบุตรยากนั่นเอง แพทย์จะทำการตรวจเก็บน้ำเชื้อใส่ภาชนะแล้วส่งตรวจเพื่อดูปริมาณของอสุจิ หากพบว่ามีน้อยเกินไป ก็จะทำการรักษาได้ถูกจุด

 

  • ตรวจความแข็งแรงของอสุจิ

ความแข็งแรงที่ว่านี้หมายถึงขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของอสุจิ หากอสุจิมีขนาดและรูปที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก หากฝ่ายชายมีปัญหานี้ แพทย์จะคัดเลือกอสุจิที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดไปผสมกับเซลล์ไข่เพื่อให้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้

 

  • ตรวจฮอร์โมน

ไม่เพียงแค่ผู้หญิงที่จะต้องตรวจฮอร์โมนเท่านั้น ผู้ชายก็จำเป็นต้องตรวจฮอร์โมนด้วยเช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมนของผู้ชายบางชนิดส่งผลต่อการมีบุตรด้วย เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งมีส่วนในการสร้างอสุจิ หากพบว่ามีปริมาณน้อยแพทย์ก็จะทำการรักษานั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะมีบุตรยากในชาย หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไม่ยอมท้อง

 

 

ทางเลือกสำหรับผู้มีบุตรยาก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีบุตรและตรวจพบภาวะมีบุตรยาก จริง ๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าจะมีลูกไม่ได้ เพราะเมื่อเรารู้สาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากแล้ว ก็จะช่วยให้รักษาได้อย่างถูกจุดนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาผู้มีบุตรยากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผสมเทียม (IUI) การทำอิ๊กซี่ (ICSI) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และการคัดเลือกอสุจิ (IMSI) ที่ช่วยเพิ่มรักษาภาวะมีบุตรยากได้ นอกจากนี้ หากคุณแม่ยังไม่ต้องการมีบุตรทันที ก็สามารถฝากไข่ไว้ก่อน แล้วค่อยผสมเทียมทีหลังเพื่อจะได้มีบุตรเมื่อพร้อมค่ะ

 

ตรวจภาวะมีบุตรยาก เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการมีบุตร หากสังเกตว่าไม่สามารถตั้งครรภ์ได้สำเร็จตามเวลาที่ควรจะเป็น ก็ควรไปตรวจภาวะมีบุตรยากเพื่อหาสาเหตุและรักษา ซึ่งปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีหลายรูปแบบที่จะช่วยรักษาภาวะนี้และเพิ่มโอกาสในการมีลูกให้แก่คุณพ่อคุณแม่ได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นับวันตกไข่ยังไงให้แม่น ลูกมาเลย! สำหรับคนที่มีลูกยาก

7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

ความเครียด ทำให้มีลูกยากจริงไหม? แม่เครียดมาก ๆ กลัวตั้งครรภ์ไม่ได้

ที่มา : 1, 2, 3, 4

บทความโดย

Sittikorn Klanarong