ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง

ลูกร้อง แม่สามีบอกหิวข้าว ให้ป้อนเลย! ปัญหาทุกบ้าน เจอกันทุกครอบครัว พ่อผัว แม่สามี แนะนำวิธีเลี้ยงลูก อยากให้กินกล้วย กินข้าวตั้งแต่เล็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน

ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อที่เจอแทบทุกบ้าน แม่ ๆ จนใจ ร้องไห้ทุกวัน ความคิดเห็นไม่เคยตรงกัน กับแม่สามี

คุณแม่ท่านหนึ่งโพสต์ว่า แม่มีแอบร้องไห้ค่ะ คือลูกเราชอบร้องตอนหัวค่ำทุกวัน

แม่แฟนบอกว่า ลูกมึงร้อง มันอยากกินข้าว ป้อนมันเลย

คือเราไม่อยากป้อนเลย ลูกเพิ่ง 3 เดือน พออธิบายไปบอกเมียมึงอนามัยเกิน ถ้าลูกมึงกินข้าวจะใหญ่ กินอิ่มมันก็หลับ ขอความคิดเห็นหน่อยควรทำอย่างไรดี

ป้อนอ าหารทารก

อันตราย! ป้อนอาหารทารกต่ำกว่า 6 เดือน

ก่อนอื่นมาดูอันตรายของการป้อนอาหารเสริมทารกก่อน 6 เดือน กันก่อนนะคะ พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์ กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3 อธิบายถึงร่างกายทารกในช่วงอายุ 6 เดือนแรก ว่า ร่างกายของทารกเมื่ออายุต่ำกว่า 6 เดือน จะยังไม่พร้อมย่อยอาหารอื่น ๆ นอกเหนือจากนม โดยเฉพาะทารกในวัยต่ำกว่า 4 เดือน เพราะยังมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน ไม่เพียงพอ ซึ่งน้ำย่อยนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 4-5 เดือน

ป้อนอาหาร ทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อวัยวะของหนูยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์

พญ.ภณิดา ยังบอกด้วยว่า ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ โดยอัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนเท่าผู้ใหญ่ที่อายุ 2 ปี นอกจากนี้ ทารกอายุก่อน 4-6 เดือน ยังมีพฤติกรรมห่อปากและเอาลิ้นดุนอาหารออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้ลิ้นช่วยตวัดเพื่อกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้

ทั้งนี้ ช่วงอายุ 6 เดือนแรกทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตจากน้ำนมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารกอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องป้อนน้ำตาม แต่สำหรับทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ทานน้ำหลังอาหารก็เพียงพอ โดยให้จิบจากแก้วนิดหน่อย

ป้อนอาหารทารก

ลูกร้องกลางคืน

สาเหตุที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หิว หากคุณแม่สงสัยว่าลูกร้องงอแงตอนกลางคืน เป็นเพราะนมไม่พอหรือเปล่า ให้สังเกตที่ฉี่ของลูก หากลูกฉี่ 6 ครั้งใน 1 วัน ถือว่าได้รับน้ำนมเพียงพอ หากลูกไม่ได้ทานนมแม่ แนะนำให้ลองเพิ่มปริมาณนมก่อนนอนให้มากขึ้น
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ การที่ลูกร้องงอแงตอนกลางคืนอาจเป็นเพราะในช่วงกลางวันเขาไม่ได้เล่นออกกำลังกายมากพอ คุณแม่ควรลดเวลาทำงานอย่างอื่นแล้วมาเล่นกับลูกมากขึ้น เมื่อลูกได้เล่นตอนกลางวันมากขึ้น ช่วยให้ลูกเลิกร้องกวนตอนกลางคืนได้
  • แบ่งเวลานอนกลางวันไม่ดี เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกร้องกวนตอนกลางคืน และนอนตื่นสาย เช่น ตื่นนอนตอน 10 โมงเช้า แล้วนอนอีกครั้งตอนบ่าย 2 พอตกเย็นก็นอนอีกจนถึง 3 ทุ่ม เมื่อตื่นขึ้นมา จึงไม่ยอมนอน คุณแม่ควรพยายามไม่ให้ลูกนอนหลัง 6 โมงเย็น โดยการชวนลูกเล่น หรือพาออกไปเดินเที่ยวข้างนอก จะช่วยให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ดีขึ้น
  • พยาธิเส้นด้ายที่ก้น ทำให้ลูกคันก้น และนอนไม่หลับตอนกลางคืน ในกรณีที่มีคนในบ้านเป็นพยาธิเส้นด้าย ควรนำอึของลูกไปตรวจเพื่อหาไข่พยาธิ

ป้อนอาหารทารก

ลูกร้องโคลิคหรือเปล่า

อาการโคลิค (Colic) หรือโบราณเรียกว่า ร้องไห้ร้อยวัน เกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 5 เดือน

  1. เกิดขึ้นในทารกอายุน้อยกว่า 5 เดือน
  2. อาการร้องกวนมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน ในช่วงเวลาเดิมซ้ำๆ ทุกวัน
  3. ร้องดังด้วยอาการคล้ายกับปวดท้อง มีอาการเกร็งท้อง มือ และงอขาเข้าหาตัว
  4. ร้องแล้วปลอบยาก ไม่สามารถป้องกันการร้องได้ และจะหยุดร้องไปเอง
  5. ระหว่างที่ไม่มีอาการร้องกวน เด็กดูมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

baby feeding

วิธีแก้ลูกร้องโคลิค

วิธีบรรเทาอาการโคลิคของลูก ทำได้ดังนี้

  1. จดจำเวลาที่ลูกเริ่มร้อง ฉวยจังหวะก่อนถึงเวลานั้น อุ้มหนูน้อยในท่าพาดบ่า ท่านอนคว่ำบนท่อนแขน หรือกอดกระชับแนบอกจนได้ยินเสียงหัวใจแม่เต้น แล้วพาออกไปนั่งรถ เดินเล่นรอบบ้าน หรือนั่งบนเก้าอี้โยกเบาๆ
  2. การห่อหุ้มตัวทารกด้วยผ้าในลักษณะเลียนแบบการตั้งครรภ์ จะช่วยให้เด็กๆ รับรู้ถึงถึงความอบอุ่น ปลอดภัย
  3. คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองด้วยว่าการดื่มกาแฟ น้ำอัดลม อาหารรสเผ็ดจัด อาจส่งผ่านไปทางน้ำนมสู่ลูก ลองงดอาหารเหล่านั้นดูราว 1 สัปดาห์ และสังเกตว่าลูกยังมีอาการร้องโคลิคอยู่หรือไม่
    อาบน้ำอุ่นให้หนูน้อย นวดท้องอย่างนุ่มนวลตามเข็มนาฬิกา โดยขณะนวดอย่าลืมพูดบอกรักเด็กๆ ไปด้วยนะคะ
  4. จับนั่งหรือทำให้เรอ บางครั้งท่าป้อนนม หรือจุกนมที่ไม่เหมาะสม ก็ทำให้เกิดลมในท้องของทารกได้ แม้ว่าการมีลมในท้องมากเกินไปจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของโคลิค แต่ก็จะทำให้เด็กๆ ร้องไห้เพราะอึดอัดนะคะ

 

ลองสังเกตอาการของลูกให้ดีว่า ที่ลูกร้องเป็นประจำนั้น เกิดจากความหิว ลูกร้องโคลิค หรือลูกกำลังเจ็บป่วย หากมีอาการอื่น ๆ ที่แม่มองว่า ผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ รีบพาลูกไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด

 

ถ้าแม่ ๆ กำลังกลุ้มใจ อยากได้คำแนะนำ อ่านเลย! รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม

ทารกไม่อุจจาระ ทารกท้องผูก วิธีแก้ ทำอย่างไรถึงจะช่วยทารกถ่ายได้

วิธีสังเกตอาการ ลูกสำลักนม ก่อนอันตรายถึงตาย พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนม

00

บทความโดย

Tulya