การอดอาหารสามารถช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ? การอดอาหารเป็นผลดีต่อร่างกายหรือไม่?

คุณผู้หญิงหลาย ๆ คนอยากที่จะลดน้ำหนักกันอยู่ใช่ไหม แต่คิดออกแค่วิธีเดียวคือการอดอาหารนั้น แต่การอดหารพื่อลดน้ำหนักอาจจะมีผลกระทบต่อร่างกายมาก มาดูกันเลย การงดอาการแบบไม่เป็นผลกระทบต่อร่างกายมากจนเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คุณผู้หญิงที่กำลังกังวัลว่าตัวเองน้ำหนักมากเกิน อาจจะกำลังหาวิธีลดน้ำหนักอยู่ใช่ไหม ทางเราเชื่อว่าถ้าคุณนั้นคิดหาวิธีลดน้หนักอย่างแรกที่คุณนั้นคิดออก คือการ อดอาหาร นั้น แต่คุณก็สังสัยใช่ไหมว่า การอดอาหารเนื่อจะทำให้เสียสุขภาพหรือเปล่า วันนี้มาหาคำตอบกัน ว่า อดอาหารแล้วน้ำหนักจะลดจริงหรือไม่?

 

อดอาหาร สามารถช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ? การอดอาหารเป็นผลดีต่อร่างกายหรือไม่?

การอดอาหารช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ?

การอดอาหารสามารถช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ การอดอาหารก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก ๆ เนื่องจากทำให้น้ำหนังตัวลดลงได้จริง เพราะในระยะแรกของการที่อดอาหารร่างกาย จะปรับลดความรู้สึกอยากอาหารลง แต่ว่าการอดอาหารต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงอาจจะกระตุ้นนนความรู้สึกหิว และเมื่อได้กลับมากินอาหารตามปกติ จึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมในเวลาสั้น ๆ เพราะการอดอาหารเป็นเวลานานทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานปกติ ไขมันในร่างกายจึงยิ่งสะสม และทำให้น้ำหนักตัวนั้นเพิ่มขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้แล้ว การอดอาหารอาจจะทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยปกติแล้ว ร่างกายของเรานั้นจะเปลี่ยนอาหารที่กินให้เป็น น้ำตาลกลูโคส แล้วดูดซึมเข้ากระแสเลือด และนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่อร่างกายนั้นขาดน้ำตาลอาจจะทำให้เกิดอาการเหงื่อออกมาก ใจสั่น หิว และอาจจะเป็นลม หากอดอาหารต่อไป อาจทำให้เกิดอาการสับสน ตาพร่า ชัก และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลดน้ำหนักแบบง่ายๆ ด้วยเคล็ดลับ 25 ข้อ ลดน้ำหนักไวพร้อมปรับสุขภาพของคุณ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีอดอาหารที่เป็นที่นิยมอย่างมาก

การอดอาหารที่ด้วยหารการทำเป็น IF หรือIntermittent Fasting ซึ่งเป็นวิธีการอดอาหารที่รับประทานอาหารแบบเป็นช่วงเวลาผู้ที่ทำ IF สามารถหินอาหารได้ตามปกติสลับกับอดอาหารเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ โดยช่วงที่อดอาหารจะนับรวมเวลานอนไปด้วย และผู้ที่ทำ IF สามารถดื่มน้ำเปล่า กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในช่วงที่อดอาหารได้ แลพการทำการอดอาหาร IF มีหลายรูปแบบ โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมคือ 16/8 ซึ่งหมายถึงการอดอาหาร 16 ชั่วโมง และรับประทานอาหารได้ในเวลา 8 ชั่วโมง หรือการอดอาหารอบบ 5ต่อ2 ซึ่งเป็นการรับประทานอาหารแบบจำกัดพลังงานของอาหารให้อยู่ที่ประมาณ 500 – 600 แคลอรี่/ต่อวัน โดยให้ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง นากจากการทำ IF จะช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักแล้ว ยังเชื่อกันอีกว่าการทำ IF นั้นอาจจะช่วยในเรื่องชะลอความเสื่อมตามวัย และยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวานชนิดที่ 2  อย่างไรก็ตาม การทำ IF อาจไม่เหมาะกับกลุ่มคนดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรอยู่
  • ผู้สูงอายุ และผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต ความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ และภาวะขาดประจำเดือน
  • ผู้ที่กินยารักษาโรคเบาหวาน หรือยารักษาโรคบางชนิด อย่างยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจต้องกินยาพร้อมอาหาร การอดอาหารจึงอาจส่งผลต่อการดูดซึมของยาได้
  • ผู้ที่กำลังพักฟื้นจากการเจ็บป่วยและการเข้ารับการผ่าตัด

 

การอดหารสามารถช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ? การอดอาหารเป็นผลดีต่อร่างกายหรือไม่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การลดน้ำหนักแบบif คืออะไร

Intermittent Fasting หรือ IF เรียกได้ว่าเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมเปนอย่างมาก เพราะว่าการเริ่มต้นการควบคุมอาหารอย่างง่าย ๆ โดยการควบคุมแคลอรี่ และจำกัดเวลาในการรับประทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือ จำกัดเวลาการรับประทานอาหาร 8 ชั่วโมง และงดมื้ออาหาร 16 ชั่วโมง

บทความที่เกี่ยวข้อง : การทำ IF ให้ได้ผล จะต้องเริ่มต้นจากอะไร?

 

ทำ IF แล้วกินอะไรได้บ้าง?

การทำ IF สามารถที่จะทานอาหารได้ทุกอย่างเลย แต่แนะนำว่าควรเป็นอาหารที่ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ ทั้ง วิตามิน  คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แร่ธาตุ และเกลือแร่ เพื่อที่จะให้ร่างกายไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไป และถ้าเรากินอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้วละก็ จะยิ่งช่วยให้เรานั้นสามารถที่จะควบคุมน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การอดหารสามารถช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ? การอดอาหารเป็นผลดีต่อร่างกายหรือไม่?

อดอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

การอดการเป็นเวลาสั้น ๆ อาจไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากสำหรับคนทั้วไปที่สุขภาพร่ากายที่แข็งแรง อย่างไรก็ตาม การอดอาหารก็มีข้อควรระวัง และข้อที่คุณนั้นควรที่ผฏิบัติตามอยู่ เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายของคุณนั้นเสียสมดุลมากจนเกินไป และไม่ให้สุขภาพเสียจนเกินไป ดังต่อไปนี้

  • อย่างแรกเลยคือ คุณควรที่จะลดปริมาณการกินอาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ละน้อย เพื่อที่จะให้ร่างกายปรับสมดุลก่อนเริ่มการอดอาการอย่างน้อย 2 – 3 วัน แต่ถ้าคุณลดปริมาณอาหารในจำนวนมากในตอนนั้นคุณอาจจะรู้สึก หิว ปวดท้อง ได้
  • คุรควรที่จะปรึกษาทางแพทย์ก่อนที่จะทำการลดอาการ หากมีภาวะ หรือโรคประจำตัว หรือใช่ยารักษาโรคคบางชนิด เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และประสิทธิภาพของยา
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย เรื่องจากขณะที่ทำการอดอาหารอาจจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำบ่อยขึ้น ซึ่งเกิดจากร่างกายที่ไม่ได้รับน้ำส่วนหนึ่งจากการกินอาหาร และควรที่จะดื่มน้ำมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเริ่มรู้สึกกระกายน้ำ เพื่อที่จะป้องกันภาวะการขาดน้ำ
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่สูง เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักที่จะทำให้คุณนั้นอิ่มเพียงแค่ช่วงสั้น ๆ คุณควรที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างเช่น ประเภทโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ที่อยู่ใน ถั่ว มันฝรั่ง ธัญพืชขัดสีน้อย และฟักทอง ซึ่งพวกนี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายและทำให้อยู่ท้องได้นานกว่า
  • หากรู้สึกหิว กรือร่างกายนั้นอ่อนเพลียในช่วงของการอดอาหาร คุณอาจจะกินอาหารมื้อเล็ก ๆ โดยเลือกอาหารที่มีแคลอรี่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการอ่อนเพลีย และการเป็นลง เนื่องมาจากการอดอาหารนั้นเอง
  • การออกกำลังกายเบา ๆ เช่นทำงานบ้าน เดิน หรือการเล่นโยคะ จะดีกว่า คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำบกิจกรรมที่ใช้แรงมาก เนื่องจากการอดอาหารอาจจะทำให้ร่างกายของคุณนั้นอ่อนแอลง เหนื่อล้าง่าย และอ่อนเพลียง่ายนั้นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารเพื่อสุขภาพ เมนูกล้วย รสชาติอร่อยๆ ได้ประโยชน์คนท้อง!

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เมนูอาหารสุขภาพ7วัน  สำหรับผู้ชายและผู้หญิงที่พิสูจน์โดยหลักวิทยาศาสตร์

7 เซตครีมทาผิวคนท้อง ให้ผิวสวยแบบ pregnancy glow ถูกใจแม่ตั้งครรภ์แน่นอน!

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่คนท้องไม่ควรกิน

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad , chillpainai

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Kittipong Phakklang