ไฟช็อตดับสลด อุทาหรณ์สอนใจพ่อแม่ ให้ควรระวัง เป็นอีกหนึ่งไวรัลที่เป็นกระแสดังอยู่ในช่วงนี้ เกี่ยวกับปลั๊กไฟมรณะ ซึ่งความเป็นจริงนั้น ข่าวการเสียชีวิตของเด็ก จากการถูกไฟช็อต ไฟดูด มีให้ได้พบเห็นอยู่บ่อยครั้ง และครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่เด็กน้อยวัยกำลังน่ารัก น่าชัง ได้ใช้ช้อน จิ้มลงไปที่ปลั๊กไฟ จนทำให้เกิดการช็อตของไฟ จนถึงขั้นเสียชีวิต
ไฟช็อตดับสลด อุทาหรณ์สอนใจพ่อแม่ ให้ควรระวัง เป็นอีกข่าวจากต่างประเทศ ที่ได้รับความสนใจอยู่ในช่วงนี้ ตามกระแสโซเชียล แต่ในขณะเดียวกัน ในประเทศไทยของเรา ก็มีข่าวในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นกัน ที่เราจะต้องสูญเสีย ลูกน้อย ด้วยความซน ความสนใจใคร่รู้ ตามประสาเด็ก และความประมาทของตัวคุณพ่อคุณแม่เอง
จากเหตุไวรัล
กระแสไวรัล จากเพจข่าวต่างประเทศ ได้รับความสนใจมากมายเกี่ยวกับเรื่องราวของลูกน้อยวัยน่ารัก ได้นำช้อนทานอาหาร ปักลงไปในรูปลั๊กไฟ จนเกิดเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิต เป็นข่าวที่อยากให้เป็นบทเรียนเตือนใจคุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองทั้งหลายที่มีเด็กอาศัยอยู่ที่บ้านว่า ความปลอดภัย จากสิ่งของเครื่องใช้รอบตัว ก็จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง
ซึ่งทางเพจ theAsianparent ต้องขอไว้อาลัยให้กับครอบครัวผู้ประสบเหตุ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยเช่นกันค่ะ และหวังว่า อุทาหรณ์จากเหตุการณ์นี้ จะช่วยเตือนภัยให้ ผู้ปกครองหลาย ๆ บ้าน หันมาให้ความใส่ใจ และสนใจในการระมัดระวังความปลอดภัยกันมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ
อันตรายจากปลั๊กไฟพ่วง
อันตรายจากการใช้ปลั๊กพ่วง หรือรางเต้ารับเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้หากไม่ระมัดระวังในการใช้งานมีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น การใช้งานเกินขนาดพิกัดเสียบปลั๊กทุกช่องทำให้สายไฟเกิดความร้อนสูง การเสียบปลั๊กปล่อยไว้เมื่อไม่อยู่บ้านนานหลายวัน เหล่านี้เป็นการใช้ปลั๊กพ่วงแบบผิด ๆ ที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเพลิงไหม้ เพื่อความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สินทุกท่านจึงควรรู้วิธีใช้ปลั๊กพ่วงอย่างถูกต้องด้วยวิธีเหล่านี้
1. ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเต็มปลั๊กพ่วงทุกช่อง หรือเสียบติดกัน เพราะเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนสูงสะสมในสายไฟ
2. หลีกเลี่ยงการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟมากพร้อมกัน เช่น เตารีด(กำลังไฟ 430 – 1,600 วัตต์) กระติกน้ำร้อน(กำลังไฟ 300 – 600 วัตต์) ไมโครเวฟ(กำลังไฟ 300 – 1,500 วัตต์) เพราะเป็นการใช้งานเกิดขนาดพิกัดทำให้เกิดความเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจรได้ เพื่อความปลอดภัย จึงควรใช้ปลั๊กพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าลกำลังไฟน้อย เช่น พัดลมตั้งพื้น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือควรแยกนำเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้กำลังวัตต์สูงไปเสียบเต้ารับปลั๊กถาวรแทน
3. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน บ่อยครั้งมักมีข่าวเพลิงไหม้ที่มีสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งมาจากการเสียบปลั๊กไฟไว้นานหลายวันโดยที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ หรือหลงลืม ด้วยเหตุผลนี้เพื่อความปลอดภัยลดความเสี่ยงทำ ให้เกิดเพลิงไหม้จึงควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด โดยเฉพาะเมื่อไม่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังวัตต์สูง เช่น เตารีด เตาโมโครเวฟ โคมไฟส่องสว่างบนหิ้งพระ
4. ไม่ควรใช้งานปลั๊กไฟเสื่อมสภาพ เช่น ปลั๊กที่มีรอยไหม้ สายไฟขาด ปลั๊กหลวม มีรอยแตกร้าว ปลั๊กเก่า หรือหมดอายุ เพราะปลั๊กไฟเสื่อมสภาพเหล่านี้หากใช้งานต่อมีความเสี่ยงเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สร้างความเสียหายให้ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และเสี่ยงไฟฟ้าดูดขณะใช้งานอันตรายถึงชีวิต
นอกจาก 4 เรื่องข้างต้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ปลั๊กไฟพ่วง ควรเลือกซื้อปลั๊กที่มีเครื่องหมาย มอก. หรือผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นสินค้าผลิตจากวัสดุมีคุณภาพ ยกตัวอย่างปลั๊กทำจากพลาสติก PVC ทนทานต่อความร้อนช่วยลดความเสี่ยงไฟไหม้ และมีความปลอดภัยสูง
เหล่านี้เป็นวิธีใช้ปลั๊กไฟพ่วงอย่างปลอดภัยที่ช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเพลิงไหม้ได้ ท่านใดใช้ปลั๊กไฟพ่วงโดยไม่เคยตรวจเช็คสภาพ หรือใช้งานผิดวิธีมาตลอด เมื่อทราบถึงการใช้งานที่ถูกต้องแล้วควรใช้ปลั๊กไฟอย่างถูกวิธี ง่าย ๆ เริ่มต้นจาก 4 เรื่องที่นำมาแนะนำ เพียงเท่านี้ก็ช่วยสร้างความปลอดภัยในการใช้ปลั๊กไฟป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากไฟฟ้าลัดวงจรภายในบ้าน หรือสำนักงานท่านได้แล้ว
9 วิธีป้องกันอันตรายจากปลั๊กไฟ
ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ปลั๊กไฟก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากใช้อย่างประมาท ไม่ระมัดระวัง โตแล้วอาจจะต้องไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กตัวเล็ก ๆ ที่ยังไม่ค่อยประสีประสาต้องบอกเลยว่า อันตรายมาก เสี่ยงโดนไฟดูด ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำ 9 วิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
โดยทั่วไป แล้วเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการโดนไฟดูดมากที่สุด คือเด็กที่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กเล็กตั้งแต่วัยคลานขึ้นไป มักชอบที่จะใช้นิ้วเขี่ยอะไรไปทั่ว ชอบหยิบของที่ตกอยู่ตามพื้น และบางครั้งก็มักจะเอาพวกกิ๊บ หรือของต่าง ๆ ที่คว้าได้ แหย่เข้าไปในรูปลั๊กไฟตามผนัง ตามปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วงที่เสียบไฟไว้ บางครั้งก็คว้าสายไฟไปกัดด้วยความมันเขี้ยว จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรงกับลูกได้ ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีป้องกัน ระวังอันตรายใกล้ตัวคร่าชีวิตลูก ไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ
1. ใส่ตัวครอบปลั๊ก
หาซื้อตัวครอบปลั๊กไฟมาปิดรูปลั๊กที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งตัวครอบปลั๊กนั้นหาซื้อได้ง่ายมากตามแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้าง หรือตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
2. ความสูงของปลั๊กไฟ
ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้อยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตร
3. เก็บและม้วนสายไฟทุกครั้ง
เก็บและม้วนสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หลังใช้งานเสร็จเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกัดสายไฟ
4. ไม่ควรปล่อยให้สายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยหรือเสียบพาดอยู่ตามพื้น
เพราะเด็กเล็กอาจกระชากสายไฟเล่นจนทำให้เกิดไฟช็อต และอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่น กระติกน้ำร้อนร่วงตกลงมาใส่หัวเด็กจนเป็นอันตรายได้
5. หมั่นตรวจสอบสายไฟ
อย่าปล่อยให้สายไฟเปื่อย หรือชำรุด หากเจอต้องเปลี่ยนทันที ไม่ควรนิ่งนอนใจ
6. ระวังปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วง
หากมีการใช้ปลั๊กสามตา หรือปลั๊กต่อพ่วง ควรไว้ในที่สูง และไม่ควรเสียบไฟมากจนเกินกำลังไฟ เพราะบางครั้งการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลาย ๆ ตัว ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟช็อต หรือไฟรั่วได้
7. ระวังเสียบปลั๊กไม่แน่น
การเสียบปลั๊กไม่แน่น ไม่มิด มีเหล็กเสียบเลื่อนออกมาก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องคอยระวัง เพราะนอกจากจะเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดประกายไฟที่หัวปลั๊กแล้ว ยังเสี่ยงต่อการที่เจ้าตัวเล็กจะไปจับเล่นจนโดนไฟดูดอีกด้วย
8. ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ
คุณพ่อ – คุณแม่ควรหาซื้อ และติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
9. ตรวจดูต้นไม้ที่ปลูกไว้รอบบ้าน
ตรวจดูต้นไม้ที่ปลูกไว้รอบบ้าน ไม่ให้ไปเกี่ยวกับสายไฟ และหากพบเห็นก็ไม่ควรหักกิ่งตัดต้นเองนะครับ ควรโทรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะดีที่สุด
ที่มา : theAsianparent Facebook , ddproperty
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อันตรายอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด! เสริมเกราะป้องกันสุขภาพในบ้าน ด้วย แอร์ Panasonic nanoe™ X ยับยั้ง Covid-19 ได้*
ป้องกันเด็กไม่ให้โดนไฟดูด ทำยังไง? อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
เดินห้างต้องระวัง เด็ก 6 ขวบ โดนราวแขวนเสื้อดึงเปลือกตาขาด อันตราย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!