ท้องนอกมดลูก มีสาเหตุจากอะไร ? มีอาการแบบไหน และใครบ้างที่เสี่ยง ?

ผู้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องระวังเรื่องของ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียลูกได้ หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นก็คือ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่า ท้องนอกมดลูก คืออะไร อาการคนท้องนอกมดลูก อันตรายไหม สาเหตุ วิธีป้องกัน ตลอดจนการดูแลตัวเอง เมื่อตกอยู่ในภาวะท้องนอกมดลูก

 

 

ท้องนอกมดลูก คืออะไร ?

ท้องนอกมดลูก เป็นหนึ่งในภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการตั้งครรภ์ในบริเวณที่อยู่นอกโพรงมดลูก โดยปกติเรามักจะพบในบริเวณท่อนำไข่เป็นส่วนมาก แต่ก็ยังสามารถตั้งครรภ์ในบริเวณอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น ปากมดลูก รังไข่ หรือในช่องท้อง และหากพบว่ามีการท้องนอกมดลูกเกิดขึ้น จะต้องทำการยุติการตั้งครรภ์โดยทันที ซึ่งการยุติการตั้งครรภ์ สามารถใช้วิธีการผ่าตัด หรือการรักษาโดยการใช้ยา

 

 

รู้ได้อย่างไรว่าท้องนอกมดลูก อาการเมื่อท้องนอกมดลูก

การท้องนอกมดลูกเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและส่งผลกระทบต่อจิตใจของว่าที่คุณแม่ เนื่องจากต้องเอาเด็กออก การสูญเสียในครั้งนี้ต้องใช้เวลาฟื้นตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจมากทีเดียว คุณอาจจะตั้งความหวังไว้ว่า คุณสามารถตั้งครรภ์ปกติในครั้งต่อไปก็ได้ เพื่อให้คุณทำใจได้เร็วขึ้นและก้าวผ่านประสบการณ์นี้ไปอย่างเจ็บปวดน้อยที่สุด

โดยปกติ เรามักจะสังเกตอาการได้เมื่อครรภ์เข้าสู่สัปดาห์ที่ 8 คุณแม่จะเริ่มสังเกตอาการต่าง ๆ อย่าง ปวดท้องเฉียบพลัน มีเลือดออกจากช่องคลอด เวียนศีรษะ ความดันต่ำ ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น อย่านิ่งนอนใจไป ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการตรวจหาสาเหตุของอาการ เพราะคุณอาจเสี่ยงกับภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

อาการเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นว่าคุณมีความเสี่ยงในการท้องนอกมดลูก มีอาการ 3 อย่าง เช่น ประจำเดือนขาด เลือดออกทางช่องคลอด และปวดท้องน้อย และอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น

  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก
  • ปวดไหล่ คอ และ บริเวณทวารหนัก
  • หน้ามืดเป็นลม
  • มีภาวะช็อก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มักจะไม่มีอาการชัดเจน หรืออาจจะมีอาการคล้ายการตั้งครรภ์ทั่วไป ได้แก่

  • ประจำเดือนไม่มา
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
  • เจ็บหน้าอก
  • คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ

 

 

ท้องนอกมดลูกพบได้บ่อยหรือไม่ ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม

อาการท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกอาการ การท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นไม่บ่อย อาจพบในผู้หญิงร้อยละ 1 การที่ท่อรังไข่อุดตัน อาจเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดการท้องนอกมดลูก

  • หากคุณผู้หญิงกำลังวางแผนจะมีลูก แต่กำลังเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ ทางออกที่ดีที่สุดคือ รักษาตัวให้หายดีเสียก่อนแล้วจึงค่อยพยายามมีลูก
  • ช่วงที่พักรักษาตัวหลัง รักษาอาการท้องนอกมดลูก คุณควรพักสักระยะหนึ่ง เพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ หลังจากต้องเผชิญกับความผิดหวังและสูญเสียลูกในเวลาเดียวกัน เรื่องที่เกิดเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณไม่ควรโทษตัวเองและทำร้ายจิตใจตัวเอง
  • คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มต่าง ๆ ที่คอยให้กำลังใจ และความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ต้องเสียลูก นอกจากนี้คุณควรทิ้งช่วงสักระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มพยายามมีลูกอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้วคุณหมอแนะนำว่าควรรอสัก 3-6 เดือน
  • ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูกมาก่อน สามารถมีลูกที่แข็งแรงได้ในอนาคตเหมือนคนอื่นทั่วไป แม้ว่าบางคนจะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่คุณท้องนอกมดลูกเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อแล้วแพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 13 วิธี หยุดอาการปวดประจำเดือน มดลูกจ๋า อย่าใจร้าย

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกเกิดจากกรณีใด

  • เคยท้องนอกมดลูกมาก่อน หากคุณผู้หญิงเคยท้องนอกมดลูกบ่อย ๆ นั่นแสดงว่า เป็นคนตั้งครรภ์ยาก มดลูกไม่แข็งแรง
  • ตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุมากแล้ว ผู้หญิงที่อายุมากหรือวัย 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก มากกว่าผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน บริเวณอุ้งเชิงกราน อาจเกิดพังผืดบริเวณปีกมดลูก มีการขัดขวางการเดินทางของตัวอ่อน หรือทำให้ตัวอ่อนเดินทางช้าลง จนต้องฝังตัวที่บริเวณปีกมดลูกเสียก่อน
  •  การผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ผู้หญิงที่เคยมีปัญหาเรื่องท่อนำไข่จนเคยผ่าตัดอุ้งเชิงกราน อาจก่อให้เกิดพังผืด หรือท่อนำไข่ตีบตันบางส่วน ทำให้การเดินทางของตัวอ่อนช้าลง และอาจฝังตัวบริเวณปีกมดลูกก่อนไปถึงโพรงมดลูกได้
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด ยาคุมฉุกเฉิน ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ท่อนำไข่บีบตัวช้าลง และทำให้ตัวอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้าลง จนอาจต้องไปฝังตัวก่อนที่จะถึงโพรงมดลูก
  • การใส่ห่วงอนามัย วิธีคุมกำเนิดแบบใส่ห่วงอนามัย อาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยในการตั้งครรภ์ สืบเนื่องมาจากการตั้งท้องยาก หรือตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ผู้หญิงมักจะอาศัยการตั้งครรภ์โดยวิธีการสมัยใหม่ แต่จริง ๆ แล้ว การกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมน หรือ การทำกิฟท์ (Gamete Intrafallopian Tube Transfer) ค่อนข้างยาก และลูกหลุดง่าย บางรายอาจต้องทำถึง 10 ครั้ง
  • ท่อนำไข่มีความผิดปกติ ผู้หญิงที่มีปัญหา รังไข่และท่อนำไข่มีพังผืด หรือบีบตัวได้น้อยกว่าปกติ ก็เป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถช่วยตัวอ่อนให้เคลื่อนไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้สำเร็จ ส่งผลให้ท้องนอกมดลูกได้ และอาจจะเกิดขึ้นหลายครั้ง

 

อาการแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก

ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก จะไม่เกิดขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เนื่องจากท่อนำไข่ และอวัยวะในบริเวณที่ไข่ฝังตัว เกิดความเสียหาย ฉีกขาด หรือเกิดการติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยเกิดการตกเลือด ทั้งนี้ ยังนำไปสู่ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (Disseminated Intravascular Coagulopathy: DIC) จนเกิดอาการช็อกจนนำไปสู่การเสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง: ท้องลมคืออะไร? ที่มา สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร?

 

 

 

วิธีรักษาภาวะท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

การท้องนอกมดลูก สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและอายุครรภ์ของแต่ละคน ดังนั้น หากคุณแม่คิดว่ามีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หากปล่อยรอไว้จนกระทั่งอวัยวะภายในมีการฉีกขาด อาจมีอันตรายถึงชีวิต แพทย์ต้องใช้การผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อรักษาอาการท้องนอกมดลูก

หากตรวจพบตอนอายุครรภ์ยังไม่มาก และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อนำตัวอ่อนออก และเย็บซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย อีกทางเลือกหนึ่งคือแพทย์อาจใช้ยา เพื่อยุติการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ การรักษาการท้องนอกมดลูก ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของตัวอ่อนที่ฝังตัวไปแล้ว และบริเวณที่ตัวอ่อนฝังตัว โดยแพทย์จะมีวิธีการรักษาผู้ป่วยท้องนอกมดลูก ดังนี้

 

  • การใช้ยา

แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งยาที่ใช้นั้นจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ ป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญเติบโตต่อไป เช่น ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) แพทย์อาจฉีดยานี้แล้วคอยตรวจเลือดเรื่อย ๆ เพื่อดูผลการรักษาต่อไป นอกจากนี้การใช้ยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงคล้ายอาการแท้งลูก คือจะมีอาการชาหรือปวดเกร็งหน้าท้อง มีเลือดและเนื้อเยื่อไหลออกจากช่องคลอด และผู้ป่วยจะยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เป็นเวลาอีกหลายเดือนหลังการใช้ยา

 

  • ใช้วิธีการผ่าตัด

โดยทำการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparotomy) เป็นวิธีการผ่าตัดสร้างรูเล็ก ๆ แล้วนำเครื่องมือชนิดพิเศษสอดเข้าไปในรู เช่น กล้องขยายขนาดเล็ก แพทย์จะสามารถมองเห็นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการผ่าตัดด้วยภาพจากกล้อง แล้วนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกมา รวมถึงทำการรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งหากปรากฏว่า เนื้อเยื่อบริเวณท่อนำไข่มีความเสียหายมาก อาจต้องผ่าตัดนำท่อนำไข่ออกไปด้วย

 

  • การรักษาภาวะแทรกซ้อน

แพทย์จะดูอาการข้างเคียง อย่างภาวะแทรกซ้อนจากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก จำเป็นต้องได้รับเลือด หรือภาวะอักเสบติดเชื้อ อาจต้องได้รับยาลดการอักเสบและยาปฏิชีวนะเข้ามาช่วยในการรักษาด้วย แต่ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้นั้นมาจากสุขภาพของคุณแม่เป็นสำคัญ

 

การพักฟื้นร่างกายและจิตใจ

การรักษาอาการท้องนอกมดลูก คุณควรพักสักระยะหนึ่งเพื่อฟื้นฟูร่างกายและจิตใจหลังจากต้องเผชิญกับความผิดหวังและสูญเสียลูกในเวลาเดียวกัน   เรื่องที่เกิดเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณไม่ควรโทษตัวเองและทำร้ายจิตใจตัวเอง คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มต่าง ๆ ที่คอยให้กำลังใจ และความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ต้องเสียลูกและควรทิ้งช่วงสักระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพยายามมีลูกอีกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอแนะนำว่าควรรอสัก 3-6 เดือนค่ะ

ทั้งนี้ คุณสามารถเข้าไปปรับทุกข์ พูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์คล้าย ๆ กันได้ที่ แอปพลิเคชัน theAsianparent โดยตั้งค่าโปรไฟล์ให้อยู่ในโหมด รายงานการสูญเสียบุตร คุณจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ อยู่เคียงข้างคุณตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าคุณจะพร้อมกลับมามีเจ้าตัวน้อยใหม่อีกครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งปากมดลูก ภัยร้ายใกล้ตัวของผู้หญิง อันตรายถ้าไม่รีบตรวจ?

 

 

การป้องกันการท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูก อันตรายไหม

จริงอยู่ภาวะท้องนอกมดลูกเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถป้องกันได้ 100%  แต่คุณแม่หรือคุณผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงที่อาจก่อความเสียหายต่ออวัยวะในช่องท้องและระบบสืบพันธุ์ได้ เพราะหากเกิดอาการท้องนอกมดลูกบ่อย ๆ จะมีผลต่อมดลูกได้

 

1. ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคทางเพศสัมพันธ์ คุณและคนรักควรใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคติดต่อ แต่หากติดเชื้อให้รีบไปพบแพทย์และรักษาโรคให้หายขาด หากซื้อยามาทานเองบ่อยครั้งมักไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อเรื้อรัง และทำให้เกิดพังผืดอุ้งเชิงกรานได้

 

2. งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงที่จะท้องนอกมดลูกสูงกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่เลย นอกจากนี้ แม้ไม่สามารถป้องกันการท้องนอกมดลูกได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้อาการป่วยที่เกิดขึ้นลุกลามรุนแรงไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

 

3. สังเกตอาการที่เป็นสัญญาณสำคัญ

หมั่นตรวจเช็กสุขภาพตนเองว่าเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกหรือไม่ หรือมีอาการอย่างที่กล่าวข้างต้นหรือไม่ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาให้ทันการณ์

 

4. วางแผนการดูแลครรภ์ให้ดี

ช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ยังอ่อนแอ เสี่ยงต่อการแท้งง่ายมาก ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ภายใต้การดูแลและคำแนะนำจากแพทย์ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะพ้นช่วงไปสู่ระยะปลอดภัยของการตั้งครรภ์

 

 

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากคุณแม่พบว่าประจำเดือนขาด หรือกำลังตั้งครรภ์ ร่วมกับมีอาการปวดท้อง มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด อย่ารอช้า ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพราะโดยทั่วไปแล้ว การตั้งครรภ์ที่ปกติจะไม่มีอาการปวดท้องน้อยอย่างมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด แต่ทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ก็คือ เมื่อทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์ในทันที คุณหมอจะได้ช่วยตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันเวลา

ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูกมาก่อน ก็สามารถมีลูกที่แข็งแรงได้ในอนาคต เหมือนคนอื่นทั่วไป แม้ว่า จะเหลือท่อนำไข่ข้างเดียวก็ตาม หากสาเหตุที่คุณท้องนอกมดลูก เกิดจาก ความเจ็บป่วย หรือการติดเชื้อแล้ว แพทย์ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

ท้องนอกมดลูกแม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็อันตราย และมีความเสี่ยงสูง เพราะไข่ยังคงติดอยู่ที่รังไข่ หรืออวัยวะภายในช่องท้องส่วนล่าง หากตัวอ่อนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องอาจทำให้อวัยวะฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก และสร้างความเจ็บปวดได้ ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น แม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการนั้น ๆ

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ปวดท้องหลังคลอด ปวดมดลูกหลังคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีลดอาการปวดไหม

แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก

เย็บปากมดลูก ป้องกันคลอดก่อนกำหนด ทำไมต้องเย็บปากมดลูก คนท้องต้องเย็บปากมดลูกทุกคนหรือไม่

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องนอกมดลูก ได้ที่นี่!

ตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากอะไรคะ มีวิธีป้องกันไหมคะ กลัวมาก ๆ เลยค่ะ

ที่มา : 1 , 2 , medthai , pobpad , mamastory

บทความโดย

จุฑาทิพ ดันน์