ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกแพ้ยา รู้ได้อย่างไรว่าเด็ก ๆ แพ้ยา เช็กได้ด้วยวิธีไหนบ้าง บางครั้งที่คุยไปซื้อยาที่ร้านขายยามักจะพบคำถามว่า ลูกของคุณแพ้ยาอะไรบ้าง ซึ่งคุณเองก็อาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าลูกของคุณมีอาการแพ้ยาชนิดใดบ้าง มาดูกันดีกว่าเราสามารถเช็กวิธีแพ้ยาได้จากอะไรบ้าง

 

แพ้ยา คืออะไร?

การแพ้ยา เกิดขึ้นเมื่อคุณมีปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อยาที่คุณทาน หรือทา ซึ่งเป็นเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณที่ต่อต้าน หรือไม่ยอมรับตัวยานั้น ๆ โดยการทำให้เกิดอาการแพ้ การแพ้ยาส่วนใหญ่ไม่รุนแรงมากนัก และอาการจะหายไปภายใน 2-3 วันหลังจากที่คุณหยุดใช้ยา แต่การแพ้ยาบางชนิดอาจร้ายแรงมาก อาจเป็นอันตรายจนถึงชีวิตก็เป็นได้ ในบางกรณีอาการแพ้ยาอาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือเกิดขึ้นกับยาที่คุณเคยทานแล้วพบไม่อาการในทัน แต่พบอาการหลังจากการที่ได้ทาน หรือทาในครั้งถัด ๆ ไป โดยการแพ้ยานั้นเป็นปฏิกิริยาทางยาที่เป็นอันตราย หรือไม่พึงประสงค์ประเภทหนึ่ง มีอาการ และการรักษาแตกต่างประเภทกันไป ดังนั้นแพทย์จะต้องตรวจสอบว่าคุณมีอาการแพ้ยาจริง หรือหากคุณมีปฏิกิริยาประเภทอื่นที่ไม่ร้ายแรงเท่าอาการแพ้ยา

 

อาการแพ้ยาในเด็ก เป็นอย่างไร

การแพ้ยาในผู้ใหญ่ หรือการที่ลูกแพ้ยานั้นอาการของการแพ้มักไม่แตกต่างกันมากนัก โดยอาการแพ้ยานั้นมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงร้ายแรงมาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1 ถึง 72 ชั่วโมง ดังนี้

  • ลมพิษ หรือผื่นขึ้นผื่น อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของการแพ้ยา
  • ไอ มีน้ำมูกไหล หายใจลำบาก หรือหายใจไม่ออก
  • มีไข้ อุณหภูมิร่างกายสูง
  • ผิวหนังของเด็ก ๆ อาจเกิดแผลพุพองและลอก สิ่งเหล่านี้รวมถึงการตายของผิวหนังที่เป็นพิษและสตีเวนส์จอห์นสัน ซินโดรม (Stevens Johnson Syndrome)
  • การแพ้ชนิดรุนแรง (anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้นได้หลายระบบและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต จะต้องได้รับการรักษาในกรณีฉุกเฉิน อาการต่าง ๆ ที่จะปรากฏ ได้แก่ ลมพิษทั่วร่างกาย หายใจลำบาก คอหรือปากบวม และ/หรือรู้สึกมึนหัวมาก สิ่งเหล่านี้มักปรากฏภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากที่ลูกแพ้ยา หากไม่มีการรักษาได้ทันท่วงทีลูกของคุณอาจเสียชีวิตได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยาชนิดใดที่เด็ก ๆ มักจะเกิดอาการแพ้

ลูกแพ้ยา ไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ แต่เป็นเรื่องที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก ยาที่พบว่ามีอาการแพ้มากที่สุด มีดังนี้

  • เพนิซิลลิน (Penicillin) คือยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียอย่างแพร่หลายเช่น แอมพิซิลลิน (Ampicillin) หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
  • แอสไพริน (Aspirin) และยาต้านการอักเสบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa drugs)
  • วัคซีน (Vaccine)
  • ยากันชัก (Anticonvulsant)
  • ยาสำหรับคอพอกเป็นพิษ (hyperthyroidism)

ซึ่งหากลูกของคุณมีประวัติแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่ง เขาอาจแพ้ยาตัวยาอื่น ๆ เช่น หากลูกแพ้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) มีโอกาสสูงมากที่ลูกของคุณจะแพ้ยาที่คล้ายคลึงกันอย่าง แอมพิซิลลิน (Ampicillin) หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)

บทความที่น่าสนใจ : ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกแพ้ยา สามารถเช็ก หรือตรวจด้วยวิธีไหนได้บ้าง

ทุกครั้งที่เข้าพบแพทย์ หรือเภสัชกร มักจะพบคำถามว่าลูกของคุณแพ้ยาชนิดไหนบ้าง ซึ่งคุณไม่มีทางรู้ได้เลย โดยส่วนใหญ่แล้วคุณมักจะพบว่าลูกของตนเองแพ้ยาก็ต่อเมื่อได้รับประทาน หรือทาลงบนผิวหนังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งในการพบแพทย์ และมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายยาที่อยู่ในขอบข่ายของยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์อาจทำการทดสอบยาลงบนผิวหนังของลูกคุณ หรืออาจให้คุณทานยาในปริมาณเล็กน้อยเพื่อดูว่าคุณมีปฏิกิริยาหรือไม่ หากเด็ก ๆ มีอาการแพ้คุณควรหยุดการใช้ยานั้นในทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากลูกแพ้ยา

ในการรักษาเบื้องต้นสิ่งที่ดีที่สุด และต้องทำเป็นอย่างแรกคือคุณควรให้ลูกหยุดทานยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้โดยทันที และปรึกษาแพทย์ เพื่อดูว่าลูกของคุณสามารถทานยาชนิดอื่นได้หรือไม่ ในกรณีที่แพทย์ไม่สามารถเปลี่ยนตัวยาได้ แพทย์จะลองใช้วิธีที่เรียกว่า desensitization หรือการใช้ยาในปริมาณที่น้อยลงเพื่อให้เกิดปฏิกิริยา หรืออาการแพ้ที่น้อยลงตาม เพื่อรักษาโรคต้นเหตุของการที่จะต้องทานยานั้น ๆ ในบางกรณีแพทย์อาจค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้นทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายของเด็กนั้นปรับตัวเองให้เข้ากับตัวยาได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ เคยชินกับยา และหลังจากนั้นพวกเขาอาจไม่มีอาการแพ้อีกต่อไป

 

 

นอกจากนี้หากเด็ก ๆ มีอาการแพ้เพียงเล็กน้อย อย่างเช่น จาม คัน น้ำมูกไหล คันที่บริเวณริมฝีปาก มีอาการลมพิษเล็กน้อย หรือมีอาการคันเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ หรือไม่สบายท้อง คุณสามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้เกี่ยวกับอาการดังกล่าว โดยเภสัชกรจะจ่ายยาแก้แพ้ให้คุณในเบื้องต้น ซึ่งผลข้างเคียงของยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกง่วงนอน หรือบางชนิดก็ไม่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน

หรือหากลูกของคุณมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง คุณควรพาพวกเขาส่งให้ถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด เบื้องต้นหลังจากตรวจสอบอาการเสร็จ แพทย์อาจฉีดอะดรีนาลีน (Adrenaline) ให้กับลูกของคุณเป็นอย่างแรก หลังจากที่เด็ก ๆ มีปฏิกิริยาแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันเมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นบางอย่าง (Anaphylaxis) และแพทย์อาจสอนวิธีใช้ หรือวิธีปฏิบัติตน หากลูกของคุณมีอาการแพ้อย่างรุนแรงอีกครั้ง

บทความที่น่าสนใจ : ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

 

ทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ลูกแพ้ยาซ้ำแล้วซ้ำเล่า

การแพ้ยาในเด็ก ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปเด็ก ๆ ไม่ได้มีอาการแพ้อย่างรุนแรงมากนัก แต่การแพ้ยานั้นก็อาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่สบายตัว และงอแง ซึ่งคุณเองก็ควรที่จะเรียนรู้พฤติกรรมและมีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เกิดอาการแพ้ยาอีกครั้ง

  • เมื่อคุณเข้าพบแพทย์ หรือเภสัชกร คุณควรแจ้งทุกครั้งเกี่ยวกับตัวยา หรือชนิดของยาที่ลูกของคุณเคยเกิดอาการแพ้มาก่อนทุกครั้ง
  • หากคุณไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เกี่ยวกับตัวยาแล้วหละก็ คุณควรอ่านฉลากยาทุกครั้งที่คุณจะส่งยาให้เด็ก ๆ รับประทาน เพราะนอกจากอาการแพ้แล้ว พวกเขาอาจได้รับยาที่เกินขนาด และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ วิธีนี้เป็นสิ่งที่คุณไม่ควรทำ และไม่ควรให้เกิดขึ้นมากที่สุด

 

อาการแพ้ยาในเด็กไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเราไม่มีทางทราบได้เลยว่ายาชนิดไหนบ้างที่ทำให้ลูกน้อยของเรามีอาการแพ้ หมั่นสังเกตอาการของพวกเขาหลังได้รับการทานยาให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง และเป็นอันตรายถึงชีวิตในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความที่น่าสนใจ :

ภูมิแพ้ ลูกเป็นภูมิแพ้ รับมือได้ยังไงบ้าง รักษาได้หรือเปล่า?

เหงือกอักเสบ ลูกเหงือกอักเสบทำไงดี รักษาเบื้องต้นยังไงได้บ้าง

 

ที่มา : ncbi.nlm, ncbi.nlm, mottchildren

บทความโดย

Siriluck Chanakit