8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่จะสงสัยว่า ลูกพัฒนาการช้า หรือไม่ จะเติบโตสมวัยหรือเปล่า ซึ่งปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเลยค่ะ เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เช่น เริ่มพูดเอง ปีนป่าย หรือฝึกเข้าห้องน้ำเอง แต่หากลูกทำได้ช้ากว่าปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีลูกมีพัฒนาการช้าก็ได้ วันนี้ theAsianparent จะพามาดู 8 สัญญาณเตือนที่ลูกอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการค่ะ

 

ลูกพัฒนาการช้า คืออะไร

ทารกมีพัฒนาการช้า คืิอ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยเมื่อเทียบกับเด็กปกติ ซึ่งเด็กอาจมีพัฒนาการล่าช้าในหลาย ๆ ด้าน หรือบางด้านเท่านั้น อาการผิดปกติจะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการช้า เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เช่น พันธุกรรมจากพ่อแม่ สุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์ ปัญหาในช่วงการคลอด สุขภาพของเด็กหลังคลอด และปัจจัยแทรกซ้อนหลังคลอด รวมไปถึงการดูแลและโภชนาการที่ลูกจะได้รับอีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนว่าลูกมีพัฒนาการช้าหรือไม่

 

สัญญาณเตือนลูกพัฒนาการช้า

อาการผิดปกติที่ส่งผลทำให้ลูกพัฒนาการช้านั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อีกทั้งหากลูกมีร่างกายที่ผิดปกติ ก็จะส่งผลไปถึงพฤติกรรมของลูกได้อีกด้วย ซึ่งอาการผิดปกติที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัด ที่ต้องคอยระวัง ได้แก่

 

1. ศีรษะ

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกมีศีรษะที่เล็ก หรือใหญ่เกินไป นั่นก็อาจบ่งบอกได้ว่า ลูกอาจจะมีการเจริญเติบโตทางสมองที่ผิดปกติได้ ส่วนขนาดเส้นรอบศีรษะโดยปกติของเด็กนั้นจะมีขนาดโดยประมาณดังนี้

  • แรกเกิด-3 เดือน : 35 เซนติเมตร
  • 4 เดือน : 40 เซนติเมตร
  • 1 ปี : 45 เซนติเมตร
  • 2 ปี : 47 เซนติเมตร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. หู

อย่างแรกเลยคือสังเกตว่า ใบหูของลูกผิดรูปหรือไม่ อยู่ต่ำ หรือสูงเกินไปอย่างเห็นได้ชัดหรือเปล่า ติ่งหูยาวผิดปกติ รูหูอยู่ในตำแหน่งปกติหรือไม่ หลังจากนั้นเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 6 เดือน ให้ลองสังเกตดูว่า ลูกสามารถหันหน้าตามทิศทางของเสียงได้หรือไม่ การให้ลูกฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน รวมถึงการพูดคุยโต้ตอบ จะเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังของลูกได้ในระดับหนึ่ง แต่หากลูกไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินรอบข้าง เช่น ไม่หัน ไม่สะดุ้งหรือตกใจเมื่อมีเสียงดัง ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ดูแลสุขภาพหู ของลูกน้อยของคุณอย่างไร ให้ถูกวิธี และถูกสุขอนามัย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ตา

หากว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า ตาของลูกจะห่างจนผิดปกติ ตาเหล่เข้า-ตาเหล่ออก หรือหากมองเห็นแสงสะท้อนจากรูม่านตาลูกเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจจะเป็นต้อ มีเนื้องอก หรือจอประสาทตาลอกได้

วิธีการช่วยกระตุ้นให้ลูกได้ฝึกเคลื่อนไหวดวงตา คือการให้ลูกได้มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะให้ลูกเล่นของเล่นที่มีสีสันสดใส หรือเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกก็ได้นะครับ แต่หากลูกมองตามวัตถุแล้วตาแกว่งไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องวัตถุ ไม่สบตา นั่นก็อาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นได้

 

4. จมูก

โดยทั่วไปทารกจะเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุได้ 3 วันแล้ว ยิ่งถ้าเป็นกลิ่นของคุณแม่ เขาก็จะยิ่งพยายามหันไปหาด้วยความคุ้นเคย แต่หากลูกไม่ตอบสนอง หรือไม่มีปฏิกิริยากับกลิ่นต่าง ๆ เลย เช่น ไม่นิ่วหน้าหรือจามเมื่อมีกลิ่นเหม็นฉุน ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติ หรือหากดั้งจมูกบี้ หรือเชิดมาก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ต้องดูหน้าตาโดยรวมด้วย เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นอาการของเด็กดาวน์ซินโดรมได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ปาก

สังเกตง่าย ๆ ว่า ลูกปากแหว่งเพดานโหว่หรือไม่ ลูกพูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียงและส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบตำพูดตามวัยหรือไม่ หรือหากลูกสองขวบแล้ว ยังพูดคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่ง และไม่พยายามพูดกับคนอื่น ก็อาจเป็นไปได้ว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า

ส่วนวิธีกระตุ้นพัฒนาการการพูดของลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้โดยการตอบสนองเสียงอ้อแอ้ของลูก ชวนลูกคุยโต้ตอบให้เหมือนคุยกันรู้เรื่อง ชวนลูกออกเสียงคำง่าย ๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง ชวนเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่ง หรือเป่าน้ำในแก้ว ซึ่งจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอ และการใช้ลมออกเสียงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคทางกรรมพันธุ์ในทารกที่ป้องกันได้

 

 

6. ลิ้น

อาการผิดปกติ คืออาการที่ลูกมีลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมาขณะพูด น้ำลายไหลย้อยอยู่ตลอด อ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวอาหาร หรือเคี้ยวข้าวนาน หรือไอและสำลักอาหารบ่อย ๆ

สำหรับวิธีกระตุ้นพัฒนาการทำได้โดยการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก เพื่อให้เกิดการดูด วิธีการนวดก็คือ ให้วางหัวนิ้วแม่มือลงบนคางใต้ริมฝีปากล่าง แล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสองประมาณ 5-10 ครั้ง

 

7. แขน ขา และลำตัว

เด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติ จะมีลักษณะดังนี้

  • แขนขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
  • นิ้วยึดติด นิ้วเกิน 5 นิ้ว นิ้วกุด
  • กล้ามเนื้อแขนขาเกร็งเกินไป ทำให้เด็กเคลื่อนไหวลำบาก และเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • ข้อสะโพกหลุด แบะออกมามากเกินไป หรือหนีบติดกันไม่ยอมแบะ
  • มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นสัญญาณของการเคลื่อนไหวลำไส้มีปัญหา หรืออาจจะมีปัญหาเรื่องการย่อยและการดูดซึม

หรือหากลูกมีกล้ามเนื้อแขนขานุ่มนิ่ม อ่อนปวกเปียก จนไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ยกแขนยกขาลำบาก ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีความสมดุลขณะถูกอุ้ม เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • 3 เดือนคอยังไม่แข็ง
  • 9 เดือนยังไม่คว่ำหรือยังไม่คลาน
  • 1 ขวบแล้วยังหยิบขอเล่นไม่ได้ กำมือไม่ได้

หากลูกมีภาวะเหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกพัฒนาการผิดปกติได้

 

8. ผิวหนัง

สังเกตว่าลูกมีสีผิวผิดปกติหรือไม่ เช่น

  • มีปานเป็นริ้ว เป็นแนวสีขาวหรือสีดำเป็นแถบใหญ่
  • มีปานตามผิวหนังมากกว่า 6 จุด
  • หลังมีปานลายเป็นต้นคริสต์มาส บวกกับกล้ามเนื้อนิ่ม
  • ผิวหนังแห้งอย่างมาก คันและต้องเกาอยู่ตลอดเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 วิธีบำรุงผิวทารก ให้อ่อนนุ่ม เสริมปราการผิวให้แข็งแรง

 

 

นมแม่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยได้

นอกจากนมแม่จะเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแล้ว ยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกไปด้วยได้ เพราะระหว่างที่ลูกดูดนม เด็กจะเกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง อีกทั้งสารอาหารในน้ำนมยังช่วยเสริมพัฒนาการควบคู่ไปกับการพัฒนาประสาทสัมผัสด้วย คุณแม่จึงควรให้ลูกดื่มนมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือนเป็นอย่างน้อย

เพราะนมแม่สารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย อย่างเช่น MFGM (Milk Fat Globule Membrane) หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันที่พบได้ในน้ำนมแม่ ผลิตจากต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมให้คงรูปอยู่ได้ ประกอบไปด้วยไขมันและโปรตีนชีวภาพกว่า 150 ชนิด อาทิ สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟไลปิด และแกงกลิโอไซด์ ที่มีส่วนช่วยสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณประสาท ช่วยในเรื่องการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี อีกทั้งยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ทารกแข็งแรงอีกด้วย โดยสารอาหารใน MFGM เมื่อทำงานร่วมกับ DHA แล้วจะช่วยเพิ่มโอกาสเชื่อมต่อเซลล์สมองได้มากกว่าการได้รับ DHA เพียงอย่างเดียว

 

อย่างไรก็ตาม อาการทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ใช่ทั้งหมดของอาการที่บ่งบอกถึงพัฒนาการช้า เพราะเด็กแต่ละคนก็อาจมีอาการแตกต่างกันออกไป เพียงแต่อาการข้างต้นนั้น เป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัย ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

10 วิธีเล่นเพื่อพัฒนาสมองลูก เล่นอะไรกับลูกแล้วลูกฉลาดบ้าง

วิธีสังเกต พัฒนาการทารกวัยแรกเกิด ถึง 1 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี ด้านการเคลื่อนไหว มองเห็น และสื่อสารภาษา

 

ที่มา : oknation, synphaet, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความโดย

P.Veerasedtakul