เดจาวู ความลึกลับกับวิทยาศาสตร์ เกิดจากอะไร มีจริงหรือไม่ !?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายคนคงเคยได้ยิน เรื่องราวของ “เดจาวู” กันมาบ้างแล้ว อีกทั้งอาจจะมีหลาย ๆ คน ที่เคยรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นกับเรามาก่อน ปรากฎการณ์ลึกลับ ที่ทำเอาหลายคนต้องแปลกใจ เป็นความรู้สึกราวกับว่าเรา เคยไปสถานที่ที่นึง หรือ เคยคุยกับใครสักคน ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว เราไม่เคยเดินทางไป หรือไม่เคยพบเจอกับคน ๆ นั้นมาก่อนเลย อาการแปลก ๆ เหล่านี้ ยังไม่มีที่มาอย่างแน่ชัด ว่าเป็นมายังไง จะเกี่ยวข้องกับความทรงจำทับซ้อนหรือไม่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

 

เดจาวู คืออะไร ?

คำว่า “เดจาวู” มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “เคยเห็นมาก่อนแล้ว” นั่นคือความรู้สึก ที่หลาย ๆ คน เผชิญสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งมาก่อน แต่เป็นเพียงความรู้สึกคุ้นเคย ที่เหมือนเคยเห็นเท่านั้น แต่อีกใจหนึ่ง ก็รู้สึกว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น คุ้นเคยกับสถานที่ เหมือนเคยไปมาแล้ว แต่ยังไม่เคยไปมาก่อน หรือการพูดคุยกับใครสักคน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน

 

จากการสำรวจพบว่า ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ เคยมีอาการเดจาวูเกิดขึ้นมาก่อน โดยมักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 15-25 ปี และจะอาการจะน้อยลง หลังจากอายุมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ มักเกิดจากการรับความรู้สึกจากภาพ เช่น รู้สึกเหมือนเคยเห็นสถานที่ที่พึ่งไปครั้งแรกมาก่อน

 

เดจาวู คืออะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เดจาวู เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของเรื่องลึกลับนี้ ยังคงเป็นปริศนา และไม่มีคำตอบที่แน่ชัด เนื่องจากยังไม่มีการศึกษา หรืองานวิจัยที่แน่ชัด ส่วนมากยังเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ที่ทำการทดสอบได้ยาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีทฤษฎีปรากฎการณ์เดจาวูอยู่บ้าง แต่ไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัด โดยคาดว่า จะมีอยู่ 4 สาเหตุหลัก ๆ คือ ความสนใจ ความทรงจำ การประมวผลแบบผสาน และ ระบบประสาท

1. ความสนใจ

สาเหตุของการเกิดเดจาวู อาจอธิบายได้ว่า อาจเกิดจากความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เช่น คุณกำลังตั้งใจอ่านหนังสือ แต่แล้วก็มีเสียงรบกวนเข้ามา ทำให้คุณหันไปสนใจเสียงนั้นแทน จากนั้น เมื่อคุณกลับมาอ่านหนังสือเช่นเดิม ภาพของการอ่านหนังสือที่ยังค้างอยู่ จะถูกสมองจัดการ คุณจึงรู้สึกว่าเหตุการณ์นี้เหมือนเคยเกิดขึ้นในอดีตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ความทรงจำ

การใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรา ได้รับข้อมูลมากมายในทุก ๆ วัน แต่สมองของเรา ไม่สามารถบันทึกไว้ได้ทั้งหมด บางสิ่งที่เรารับรู้ อาจมีรายละเอียดคล้าย ๆ กับสิ่งที่เราเคยบันทึกไว้ ในความทรงจำอยู่แล้ว แต่เราไม่สามารถจดจำ รายละเอียดได้ทั้งหมด สมองจึงตีความว่า คล้ายความทรงจำ ที่ถูกบันทึกไว้อยู่แล้ว

 

3. คุ้นเคยจากการท่องเที่ยว

สำหรับคนที่ชอบเดินทาง และ เคยเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ หลายที่ อาจมีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกเดจาวูได้ มากกว่าบุคคลที่ไม่ได้ชอบเดินทาง และไม่ค่อยได้ออกไปไหน ซึ่งความทรงจำต่าง ๆ จะทำให้เกิดความคุ้นเคย กับภาพสถานที่ ที่พึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกได้ง่าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เดจาวู กับฝันลึกลับ

 

4. จดจำความฝัน

การที่เราฝัน และจดจำความฝันของตนเองได้นั้น อาจมีโอกาสเกิดเดจาวู ได้มากกว่าผู้ที่ไม่สามารถ จำความฝันของจนเองได้ ซี่งอธิบายได้ด้วยหลักการ การเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะภาพในความฝัน ก็อาจเป็นความทรงจำ ที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคย ต่อสิ่งต่าง ๆ เช่นกัน

 

5. สมองทำงานผิดปกติ

ผู้เชี่ยวชาญบางคน คิดว่า อาการเดจาวู เกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาท ที่เกิดความขัดข้อง โดยอาจเกิดขึ้น เมื่อสมอง ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ได้อย่างราบรื่น ทำให้การจัดเรียงข้อมูลต่าง ๆ ในสมองไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากพบว่า บางคนเคยมีอาการเดจาวู ก่อนเกิดอาการชักเกร็ง และยังพบว่า อาจเกิดในผู้ป่วยสภาวะสมองเสื่อม เช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับ การทำงานของสมอง

 

อาการเดจาวู อันตรายมั้ย ?

อาการเดจาวู ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่บางครั้ง มันอาจเป็นสัญญาณของโรค อย่างโรคลมชัก หรือปัญหาเกี่ยวกับสมอง ระบบประสาทได้ หากใครมีอาการบ่อย อย่างเดือนละ 2 - 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ควรสังเกตอาการ และไปพบแพทย์ 

 

ยังไงก็ตาม อาการเดจาวู ยังไม่มีข้อสรุป และผลวิจัยที่แน่ชัด ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร มีที่มายังไง มีเพียงทฤษฎีจากผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ อาการนี้ก็ยังคงเป็นอาการลึกลับ ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ทฤษฎีที่มีอยู่ ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาของข้อมูล : 1 , 2

 

บทความที่น่าสนใจ :

6 Tips สอนสมองลูกให้เรียนดีและมีความสุข

งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้

7 เรื่องจริงของสมองลูก เพื่อการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด

 

 

บทความโดย

Waristha Chaithongdee