สต็อกน้ำนมเหลือง สต็อกนมแม่หลังคลอด ทำอย่างไร แค่ไหนถึงพอ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ที่อยากเก็บนมแม่เอาไว้ให้ทารกกินภายหลัง โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องกลับไปทำงาน สต็อกน้ำนมเหลือง ทำได้ไหม ควรสต็อกนมอย่างไรตั้งแต่ช่วงหลังคลอด ไปจนถึงเริ่มกลับไปทำงาน เพื่อให้ทารกอิ่มท้อง ไม่ขาดนมแม่ที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับลูกน้อย

 

สต็อกน้ำนมเหลือง ทำได้ไหม

ปัญหาเกี่ยวกับการสต็อกนมแม่ คือ คุณภาพของน้ำนมที่ลูกจะได้รับ และที่สำคัญสำหรับ “น้ำนมเหลือง (Colostrum)” ที่มีประโยชน์อย่างมาก เจอได้ในช่วงหลังคลอด 1-3 วัน คุณแม่หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่า น้ำนมเหลืองมีสารอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะ แลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin), MFGM (Milk Fat Globule Membrane), DHA  และ 2’-FL ซึ่งแลคโตเฟอร์รินมีส่วนช่วยสำคัญต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคของทารก และสามารถช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสให้กับทารก รวมไปถึงส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ซึ่งสำคัญมากสำหรับทารก

คุณแม่หลายคนจึงอยากรู้ว่าจะสามารถเก็บน้ำนมเหลืองเอาไว้ได้ไหม ต้องบอกว่าในระยะก่อนคลอด คุณแม่อาจจะสามารถนวดและบีบน้ำนมเหลืองออกมาได้เล็กน้อย แต่การเก็บน้ำนมเหลืองก่อนคลอดขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายคุณแม่ก่อนคลอดแต่ละคนด้วยเช่นกัน และน้ำนมเหลืองที่เก็บก่อนคลอดจำเป็นต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดได้สนิทเท่านั้น รวมถึงคุณแม่ควรมีอายุครรภ์ตั้งแต่ภ์ 36 ถึง 37 สัปดาห์เป็นต้นไป เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบความพร้อมของคุณแม่ เนื่องจากการกระตุ้นเต้านมก่อนคลอดอาจทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและการหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน ซึ่งอาจเร่งการเจ็บครรภ์คลอดให้เร็วขึ้นได้ 

นอกจากนี้คุณแม่ควรรับคำแนะนำในการกระตุ้นน้ำนมให้ได้มากที่สุด เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำนมน้อยเกินไปในช่วงหลังคลอด ซึ่งสำคัญมาก

 

 

การสต็อกน้ำนมในช่วงหลังคลอดจนถึงช่วงกลับไปทำงาน

คุณแม่ที่ไม่เคยสต็อกน้ำนมแม่มาก่อน เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาฝากคุณแม่กัน ว่าตั้งแต่ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ไปจนถึงช่วงที่กลับไปทำงาน ควรรู้อะไรบ้างหากจะปั๊มนมเก็บเอาไว้ลูกกินภายหลัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด

ช่วงที่เริ่มได้เร็วที่สุดคือสัปดาห์แรกหลังคลอด ให้คุณแม่สังเกตอาการในช่วงที่เหมาะที่สุด คือ อาการคัดเต้านม โดยเฉพาะในช่วงที่เพิ่งตื่นนอนใหม่ ๆ ช่วงเช้า ยิ่งคุณแม่พักผ่อนมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะมีปริมาณน้ำนมหลังคลอดมากขึ้นตามไปด้วย ในช่วงแรกทารกจะไม่ได้ต้องการน้ำนมปริมาณมาก เนื่องจากขนาดท้องของทารกยังมีขนาดที่เล็กมากอยู่ ปริมาณน้ำนมของคุณแม่จึงมีแนวโน้มที่จะเหลือเก็บใส่ตู้เย็นเอาไว้

ในช่วงนี้ต้องรีบสังเกตตนเอง หากพบว่ามีปริมาณน้ำนมน้อย แม้จะเพียงพอต่อการให้ทารกกินอิ่มในวันนั้น ๆ แต่ในอนาคตอาจเป็นปัญหาใหญ่ได้ เพราะทารกจะต้องการปริมาณน้ำนมแม่มากขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณแม่พบปัญหาจึงควรรีบปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการกระตุ้นน้ำนมแม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การสต๊อกน้ำนมช่วง 1 เดือน

ในช่วงนี้โดยปกติแล้วร่างกายของคุณแม่จะผลิตน้ำนมได้มากขึ้น และน้ำนมจะมีจำนวนมากพอ ที่จะให้ทารกเข้าเต้า และยังเหลือสำหรับปั๊มเก็บเอาไว้ แต่เรื่องสุขภาพของคุณแม่เป็นเรื่องไม่แน่นอน และส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำนมที่คุณแม่จะมีในแต่ละวัน ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่ควรเน้นที่การพักผ่อนให้เพียงพอในทุกวัน รวมไปถึงกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้สารอาหารในน้ำนมมีมากพอให้กับทารกด้วย

น้ำนมที่คุณแม่นำมาสต็อกไว้ในตู้เย็น หากไม่ได้ฉุกเฉินไม่ควรนำมาให้ลูกกิน ควรเน้นให้ลูกเข้าเต้า เพราะการนำลูกเข้าเต้ามีประโยชน์ต่อทารก และคุณแม่มากกว่า ส่วนนมแม่ที่สต็อกไว้ในตู้เย็น ให้จัดลำดับวันที่ให้ดี เพื่อไม่ให้หยิบผิด และไม่ให้มีนมเสียเพราะลูกกินไม่ทัน แล้วค่อยเริ่มนำมาให้ลูกกินในช่วงที่คุณแม่ไปทำงานแล้ว ในเรื่องนี้เราจะอธิบายในหัวข้อต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. การสต็อกนมแม่ช่วงกลับไปทำงาน

ในช่วงนี้เมื่อลูกไม่ได้อยู่กับคุณแม่ คุณแม่สามารถนำน้ำนมที่สต็อกไว้มาให้ทารกกินแทนเข้าเต้าได้ โดยให้เรียงลำดับตามวันที่ของนมที่เก็บไว้ และคุณแม่สามารถปั๊มนมเก็บไว้เพิ่มได้เรื่อย ๆ โดยทั่วไปสามารถปั๊มได้ทุก 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามแม้จะให้ทารกกินน้ำนมที่เก็บไว้ในช่วงทำงาน แต่เมื่อมีโอกาสควรให้ลูกเข้าเต้าด้วย เพราะการอุ้มลูกเข้าเต้ามีส่วนช่วยในเรื่องของการกระตุ้นน้ำนมแม่ และทำให้สายสัมพันธ์ของคุณแม่ และลูกน้อยแนบแน่นมากยิ่งขึ้นด้วย

คุณแม่ควรเน้นที่ให้ลูกเข้าเต้าสลับกับการให้นมสต็อกตามความเหมาะสม หากคุณแม่ยังสามารถให้นมลูกได้ ควรให้ลูกกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึง 6 เดือน ซึ่งเป็นขั้นต่ำที่ทารกควรได้รับนมแม่ หลังจากนั้นคุณแม่สามารถลดมื้อนมแม่ และค่อย ๆ เพิ่มมื้ออาหารใหม่ ๆ ให้กับลูกได้ลองกิน โดยทั่วไปจะเริ่มที่อาหารบดก่อน นอกจากนี้ในช่วงนี้คุณแม่สามารถเลือกสูตรนมผงที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะแลคโตเฟอร์ริน (Lactoferrin) และสารอาหารอื่น ๆ ซึ่งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย

 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการสต็อกน้ำนมแม่

นอกจากความรู้เบื้องต้นของการปั๊มนมที่เราบอกไปแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ ยิบย่อย ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ โดยเราสรุปมาให้ ดังนี้

  • ช่วงลาคลอดโดยประมาณ 3 เดือน คุณแม่ควรปั๊มนมเก็บไว้ใช้ช่วงทำงานประมาณ 30-50 ถุง ถุงละ 2-4 ออนซ์ โดยคุณแม่ควรหาโอกาสปั๊มนมเพิ่มเรื่อย ๆ เมื่อมีการใช้นมที่เก็บสต็อกไว้ เพื่อไม่ให้สต็อกขาดจนมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารกในอนาคต
  • ก่อนที่คุณแม่จะปั๊มนมเก็บไว้ทุกครั้ง คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับความสะอาดของอุปกรณ์ และมือของคุณแม่ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อน สิ่งเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อทารกน้อยได้หากไม่ระวัง
  • หมั่นล้างอุปกรณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปั๊มนมหลังสต็อกเสร็จแล้ว โดยทั่วไปสามารถใช้น้ำร้อนผสมสบู่ในการทำความสะอาดได้
  • คุณแม่ต้องระวังการเก็บนมแม่ให้ดี หากใส่ตู้เย็นช่องธรรมดา จะอยู่ได้เพียง 8 วันเท่านั้น ในขณะที่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งปกติ จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์  และหากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา จะเก็บได้สูงสุด 6 เดือน

 

การสต็อกนมของคุณแม่เอาไว้ เป็นทางเลือกขั้นพื้นฐานที่คุณแม่ควรทำอยู่แล้ว เพราะการเอาลูกเข้าเต้าตลอดเวลาอาจไม่สามารถทำได้ และเป็นทางออกที่ดีสำหรับทารกที่ยังต้องการนมแม่อยู่ในช่วงขั้นต่ำ 6 เดือนแรก

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

นมแม่ 3 ระยะ น้ำนมเหลือง นมแม่ทั่วไป ต่างกันอย่างไร

น้ำนมไหลก่อนคลอด น้ำนมเป็นสีขุ่น ๆ แบบนี้ผิดปกติไหม ?

คุณแม่ต้องรู้! น้ำนมเหลืองดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการเจ็บป่วย

ที่มา : enfababy, UHS, UHS, jpaget

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon