วันนี้เรามีเคล็ด(ไม่ลับ)มาฝากคุณพ่อบ้าน แม่บ้านกันกับ 11 วิธีแก้ ชักโครกกดไม่ลง จบปัญหาส้วมตัน ด้วยเทคนิคที่สามารถทำตามกันได้ง่าย ๆ ที่บ้าน แบบไม่ต้องง้อช่าง พร้อมแล้วเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
ชักโครกกดไม่ลง สาเหตุ
- พฤติกรรมการใช้โถชักโครก หากใครชอบทิ้งกระดาษทิชชู่ ผ้าอนามัย รวมถึงเส้นผม เศษขยะ หรืออาหาร เป็นสาเหตุที่ทำให้ชักโครกกดไม่กด ส้วมตัน เพราะระบายน้ำออกได้ไม่ดี จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นอกจากของเสียจากร่างกายแล้ว ไม่ควรทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ในโถชักโครก
- คุณภาพของโถชักโครก ชักโครกที่ดี และมีคุณภาพนั้น จะออกแบบมาเพื่อให้สิ่งปฏิกูลให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย ถูกสุขลักษณะ และไม่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมระหว่างรอยต่ออีกด้วย จึงแนะนำควรเลือกชักโครกที่ผลิตจากวัสดุ เซรามิก เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน และทำความสะอาดง่าย
- การติดตั้งชักโครก หากมีการติดตั้งที่ดี จะสามารถช่วยป้องกันปัญหาส้วมตัน ซึ่งท่อระบายอากาศที่ดี ควรติดตั้ง ท่ออากาศรูปตัว T จะทำให้ระบายน้ำ และระบายสิ่งปฏิกูลให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย
11 วิธีแก้ ชักโครกกดไม่ลง
1. ไม้แขวนเสื้อ
แต่ควรเลือกไม้แขวนเสื้อที่ยืดได้และมีพลาสติกหุ้มเพื่อป้องกันไม่ให้ขูดโถชักโครกเป็นรอยได้ เริ่มจากยืดไม้แขวนเสื้อออกให้เป็นเส้นลวดยาวปลายโค้งงอ จากนั้นใช้ส่วนที่โค้งดันลงไปในรูชักโครก เพื่อเขี่ยหรือดันสิ่งที่อุดตันอยู่ให้ไหลลงไปในท่อ จากนั้นลองกดชักโครกเพื่อทดสอบ
2. แปรงขัดห้องน้ำ
เริ่มจากใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวหาได้ข้าง ๆ โถชักโครก นำฝั่งที่เป็นขนแปรงกดลงไปในรูชักโครกด้วยความเร็วและแรง จนสิ่งที่อุดตันชักโครกอยู่หลุดออก
3. แรงดันน้ำ
วิธีง่าย ๆ เพียงเตรียมน้ำประมาณ 10 – 15 ลิตร แล้วยกขึ้นสูง ๆ เพื่อให้การเทน้ำเกิดแรงดันปริมาณมาก
วิธีแก้ชักโครกกดไม่ลง
4. น้ำร้อน
วิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่ชักโครกไม่อุดตันมากหรือมีของแข็งติดท่อ การราดด้วยน้ำร้อน แต่ระวังไม่ใช้น้ำเดือดเพราะอาจทำให้ชักโครกแตกร้าวได้ โดยน้ำร้อนประมาณ 1 แกลลอน (10-12 ถ้วยตวง) เทใส่ชักโครกแล้วทิ้งเอาไว้ 2-3 นาที เพื่อรอให้น้ำร้อนเข้าไปสลายคราบไขมันที่เกาะตามผนังท่อระบาย แล้วลองกดน้ำทิ้งดูว่าชักโครกกลับใช้งานได้ตามปกติแล้วหรือไม่
5. น้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน หรือสามารถใช้ยาสระผม สบู่แทนได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับชักโครกที่ไม่อุดตันมาก โดยทำได้ง่าย ๆ เพียงบีบน้ำยาล้างจานปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 15 – 30 นาที หรืออีกวิธีคือบีบน้ำยาล้างจานแล้วเติมน้ำร้อนตามลงไปประมาณ 1 แกลลอน ปล่อยทิ้งไว้สัก 4-5 นาที เพื่อขจัดคราบสิ่งอุดตันสิ่งสกปรกต่าง ๆ จะค่อย ๆ สลายลงไป
6. ใช้เทปกาว
เมื่อน้ำภายในโถชักโครกยุบตัวลงไป นำเทปกาว หรือ พลาสติกแรปมาปิดปากโถชักโครกที่แห้งสนิท โดยปิดให้สนิทรูรั่วหรืออากาศเล็ดลอดออกมาได้ จากนั้นกดชักโครก จะทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาดันอากาศที่อยู่ใต้เทปกาวที่ติดไว้ให้นูนหรือปูดขึ้นมา ให้ใช้ฝ่ามือค่อยกดและดันเบา ๆ แรงดันอากาศจะช่วยผลักสิ่งที่อุดตันภายในท่อให้หลุดออกไป ทำซ้ำ ๆ แบบนี้อีก 1-2 ครั้ง ให้แน่ใจแล้วกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งอุดตันตามไปอีกครั้ง จึงแกะเทปกาวออกได้
7. แมกนีเซียมซัลเฟต หรือ ดีเกลือฝรั่ง
หากใช้น้ำยาล้างจานแล้วยังไม่ได้ผล แนะนำให้ลองดีเกลือฝรั่ง (epsom salts) หรือสบู่แช่ตัว (bath bomb) เทใส่ในโถส้วม จะช่วยแก้ปัญหากดชักโครกไม่ลงได้
8. งูเหล็ก
งูเหล็ก หรือ เหล็กทะลวงท่อ เป็นอุปกรณ์ใช้แก้ปัญหาท่อตันโดยเฉพาะ ใช้ส่วนที่โค้งดันลงไปในรูชักโครก ค่อย ๆ หมุน เพื่อให้สิ่งที่อุดตันท่อหลุดออกไป จากนั้นกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งสกปรกให้ออกไป
9. โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์
โซดาไฟ ไม่ใช่เบกกิ้งโซดา หากใครเคยใช้น้ำยาล้างจานแล้วยังไม่ได้ผลแนะนำให้ลองโซดาไฟค่ะ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนที่รุนแรงกว่า แต่ต้องระมัดระวังในการใช้งานควรใส่ถุงมือ แว่นตาป้องกัน โดยนำน้ำปริมาณครึ่งถัง ใส่โซดาไฟลงไปประมาณครึ่งถุง ละลายให้เข้ากัน แล้วเทลงในโถชักโครก ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาที จากนั้นลองกดน้ำทิ้ง
10. สารฟอกขาว น้ำยาซักผ้าขาว
มีสรรพคุณคล้ายน้ำยาล้างจาน ช่วยทำความสะอาด ขจัดคราบสิ่งสกปรก โดยใส่น้ำยาซักผ้าขาวลงในโถชักโครกประมาณ 1 – 2 ฝา และปล่อยทิ้งไว้สักพัก แล้วราดน้ำลงไป
11. เบกกิ้งโซดาหรือน้ำส้มสายชู
อัตราส่วนใส่เบกกิ้งโซดาลงไปในชักโครก 1 ถ้วยตวง ตามด้วยน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที จากนั้นใส่น้ำร้อนตามลงไป แล้วลองกดน้ำทิ้ง ชักโครกจะสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับเทคนิคเคล็ดลับงานบ้านดี ๆ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ทุกคนนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกัน และครั้งหน้าเราจะมีเคล็ดลับงานบ้านดีอะไรมาฝากกันอีกรอติดตามชมกันได้เลยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ :
น้ำยาถูพื้น เลือกยังไงให้เหมาะกับพื้นบ้าน ?
15 วิธีไล่หนู กำจัดหนูในบ้านยังไงให้ไม่ต้องรู้สึกบาป!
10 อันดับน้ำยาถูพื้น น้ำยาถูพื้นยี่ห้อไหนดี เลือกยังไงให้เหมาะกับพื้นผิวบ้าน
ที่มาข้อมูล : apthai , 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!