คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

คณะกรรมการด้านโภชนาการในสหรัฐอเมริกายอมรับว่า จริง ๆ แล้ว คอเรสเตอรอลในอาหารอาจไม่ได้ทำให้เส้นเลือดอุดตันอย่างที่เคยเข้าใจกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

เราอยู่กับข้อมูลที่ว่า คณะกรรมการ ด้านโภชนาการในประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่า จริง ๆ แล้ว คอเรสเตอรอล ในอาหารที่เรากินอาจไม่ได้ร้ายอย่างที่เคยคิด

แต่เราอาจเข้าใจอะไรบางอย่างผิด!

สมาคมหัวใจอเมริกันและวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจอเมริกันยืนยันว่า ปริมาณคอเรสเตอรอลในอาหารอาจไม่ได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระดับคอเรสเตอรอลในเส้นเลือด หลังพบว่าการควบคุมปริมาณคอเรสเตอรอลที่กินเข้าไปไม่ได้ช่วยลดคอเรสเตอรอลตัวหลักในเส้นเลือด (LDL) อย่างมีนัยสำคัญ

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และ แอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย

“การชมลูกไม่เป็น” ก็อาจเป็นอันตรายในการเติบโตทางใจของลูกเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย

ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ

ไขมันดี คืออะไร ?

ไขมันดี (High-Density Lipoprotein: HDL) คือ ไขมันคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ที่สะสมอยู่ตามหลอดเลือด แล้วส่งไปที่ตับเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย การบริโภคไขมันดีในปริมาณที่เหมาะสมจึงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจได้

ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มเข้ารับการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยระดับไขมันดีที่ปกติควรอยู่ประมาณ 40-60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากอยู่ในระดับ 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกาย แต่จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเมื่ออยู่ในระดับต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านชัด ๆ ฟังให้เข้าใจอีกที อย่าสับสนนะคะ LDL คือ คอเรสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ ถือเป็นคอเรสเตอรอล “ตัวร้าย” ของจริง แต่คอเรสเตอรอลที่อยู่ในอาหาร เช่น ไข่ ปลาหมึก หรือตับไก่ ไม่ได้เข้าไปเพิ่มคอเรสเตอรอลในเลือดโดยตรงค่ะ งดทานไปก็ไม่ได้ช่วยลด LDL เท่าไรอยู่ดี

เมื่อได้รับข้อมูลอย่างนี้แล้ว คณะกรรมการด้านโภชนาการในสหรัฐอเมริกาจึงปรับเปลี่ยนคำเตือนเรื่องคอเรสเตอรอลเสียใหม่ เดิมเคยแนะนำว่าไม่ควรกินคอเรสเตอรอลเกินวันละ 300 มิลลิกรัม แต่ในคู่มือแนวทางโภชนาการที่ดีของคนอเมริกันฉบับปี 2015 ไม่ได้จำกัดว่าห้ามกินเยอะเกินกี่มิลลิกรัมแล้ว

อย่างไรก็ดี รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเตือนว่า ถึงไม่ห้ามแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าสนันสนุนให้กินเยอะ ๆ ควรกินแต่พอประมาณจะดีกว่า ส่วนคนที่มีคอเรสเตอรอลสูงอยู่แล้วยังต้องปรึกษาคุณหมอให้ดีก่อน

เราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกายเหล่านี้ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ข้าวขาว, ธัญพืชที่ขัดสีแล้ว
  • ไขมันแข็ง, ไขมันทรานส์ที่ใช้ทำพวกคุกกี้ ครีมเทียม เนยเทียม
  • น้ำตาล
  • โซเดียม

ขณะเดียวกัน ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น ได้แก่

  • ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • ผัก, ผลไม้
  • นม, โยเกิร์ต, ชีสประเภทพร่องหรือขาดมันเนย

รู้แล้วก็อย่าลืมปฏิบัติตามด้วยนะคะ… ด้วยความห่วงใยจาก theAsianparent ค่ะ

The Asianparent Thailand

เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : uk.style.yahoo.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

ไขมันในเลือดสูงในเด็กอ้วน อันตรายที่พ่อแม่อย่ามองข้าม

น้ำตาล: ภัยร้ายใกล้ตัวลูก

อาหารไขมันต่ำอันตราย เหมือนกัน อาหารโลว์แฟต โลว์แคล อันตรายต่อลูกในท้อง