สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนพบเจอบ่อยๆ เมื่อถึงเวลาเปิดเทอมใหม่ ๆ เราจะเห็นภาพที่บริเวณหน้าโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนอนุบาล เด็กจะร้องไห้งอแง บางครั้งดิ้นทุรนทุรายไม่ยอมเข้าโรงเรียน กลายเป็นปัญหาน่าปวดหัวเมื่อ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล เพราะลูกอาจรู้สึกกังวลใจที่ต้องห่างพ่อแม่แต่บางครั้งอาจพบในเด็กโตได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรละเลยปัญหานี้ เรามาหาสาเหตุและวิธีรับมือกันค่ะ
เพราะอะไร ? โรงเรียนจึงกลายเป็นฝันร้ายสำหรับลูก “School Refusal”
School Refusal หรือ ภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน คือ การที่เด็กไม่อยากไปโรงเรียน หรือต่อต้านการไปโรงเรียน ซึ่งมักกระตุ้นให้เด็กๆ แสดงพฤติกรรมเอาแต่ใจออกมา เช่น งอแง ร้องไห้ หรือมีอารมณ์รุนแรง ปัญหา ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล เป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กวัยนี้ สาเหตุหลักๆ มาจากความผูกพันกับพ่อแม่ กลัวอยู่คนเดียว ความกลัวสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือต้องการความสนใจ หรือกลับมาจากเที่ยวพักผ่อนวันหยุดในระยะยาว มีการเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในบางกรณี อาจมีสาเหตุอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่า เช่น ปัญหาที่โรงเรียน หรือปัญหาทางด้านอารมณ์ของเด็กเอง คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด
สาเหตุที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล
เด็กเล็กๆ มักจะกังวลเรื่องต่างๆ มากมาย เช่น กลัวความมืด กลัวอยู่คนเดียว หรือกลัวว่าพ่อแม่จะหายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีสาเหตุอื่นๆ อีกที่ทำให้ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล
-
กลัวคุณครู
การเปลี่ยนแปลงจากบรรยากาศที่บ้านมาอยู่ที่โรงเรียนอาจทำให้เด็ก ๆ บางคนรู้สึกไม่คุ้นเคย อย่างเช่น ที่บ้านอาจคุยกันเสียงเบา ๆ แต่ที่โรงเรียนคุณครูต้องพูดเสียงดังเพื่อให้เด็กทุกคนได้ยิน เด็ก ๆ อาจจะรู้สึกกลัวว่าครูดุก็ได้ค่ะ
-
กลัวโรงเรียน
หลายครั้งที่เด็กกลัวโรงเรียน เพราะคำพูดขู่ของคุณพ่อคุณแม่ เช่น ถ้าดื้อจะให้ครูตีเลยนะ การขู่ว่าจะให้ครูตี อาจทำให้เด็กรู้สึกกลัว ไม่ปลอดภัย กลัวโรงเรียนและไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งคำบู่แบบนี้จะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและครูได้ค่ะ
- กลัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ไม่มีเพื่อน
กลัวเพื่อนไม่เข้าใจ เพื่อนไม่คุยด้วย เพื่อนไม่เล่นด้วย การที่ลูกน้อยไม่มีเพื่อนเล่นที่โรงเรียน อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกเหงาและขาดความมั่นใจได้ค่ะ เพราะเด็กๆ ในวัยนี้ต้องการเพื่อนเพื่อเล่นและเรียนรู้ร่วมกัน การที่ลูกน้อยรู้สึกโดดเดี่ยว ขาดเพื่อน ขาดแรงบันดาลใจ อาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในอนาคตได้ค่ะ
-
เป็นเด็กเลือกกิน
เรื่องอาหารการกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความอยากไปโรงเรียนของลูกน้อย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เลือกกิน หรือกินยาก หากอาหารที่โรงเรียนไม่ถูกปาก อาจทำให้ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม
-
วิธีการเรียนการสอน
เด็กๆ ต้องการความอิสระในการเล่นและทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ และอาจจะรู้สึกอึดอัดที่จะต้องทำตามคำสั่ง หรือเมื่อรู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจในห้องเรียน ลูกน้อยจึงอาจจะไม่อยากไปโรงเรียนและขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ได้ค่ะ
10 วิธีรับมือ ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล ให้ได้ผล
การปรับเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจของลูกน้อย จะทำให้การไปโรงเรียนก็จะไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1.ปลูกฝังโรงเรียนไม่ได้น่ากลัว
คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกอยากไปโรงเรียนมากขึ้นได้ โดยการเล่าเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับตอนที่คุณพ่อคุณแม่ยังเด็ก เช่น เรื่องที่ไปโรงเรียนแล้วได้เล่นกับเพื่อนๆ ได้อ่านหนังสือเล่มโปรด หรือได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่สนุกสนาน การเล่าเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้ลูกจินตนาการตามและอยากไปโรงเรียนเหมือนคุณพ่อคุณแม่บ้าง
2.อยู่เป็นเพื่อนลูก
เด็กๆ หลายคนมักจะรู้สึกกลัวและไม่คุ้นเคยกับการไปโรงเรียนครั้งแรก คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกน้อยไปทำความคุ้นเคยกับโรงเรียนก่อน เช่น พาไปดูสนามเด็กเล่น หรือพาไปส่งที่ห้องเรียน และอยู่กับลูกน้อยสักระยะหนึ่ง ถ้าทำไม่ได้ ก็ฝากลูกน้อยไว้กับคุณครูหรือเพื่อนๆ เพื่อให้ลูกได้ปรับตัวและรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น การให้ลูกน้อยได้ทำความรู้จักกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะช่วยลดความกลัวและทำให้ลูกอยากไปโรงเรียนมากขึ้นค่ะ
3.ให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ลูกพร้อมสำหรับการไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้นค่ะ แทนที่จะบังคับให้ลูกนอน ควรสร้างกิจวัตรก่อนนอนที่ผ่อนคลาย เช่น การอ่านนิทาน หรือร้องเพลงกล่อม การมีกิจวัตรก่อนนอนที่เป็นประจำ จะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าถึงเวลาที่ควรเข้านอนแล้ว และยังช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและหลับได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ
4.สอนเรื่องการใช้ชีวิตในโรงเรียน
หลายคนอาจคิดว่าการส่งลูกไปโรงเรียนก็เพียงพอแล้ว ให้คุณครูได้สอนและดูแลต่อ แต่จริงๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่จะมีส่วนสำคัญมากในการช่วยลูกพัฒนา ทั้งเรื่องความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่างๆ เช่น การกินอาหาร การรอคอย หรือการทำตามคำสั่ง การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญและฝึกฝนลูกตั้งแต่เด็กๆ จะช่วยให้ลูกปรับตัวเข้ากับโรงเรียนได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้คุณครูสามารถสอนลูกได้ง่ายขึ้น และลูกก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
5.เติมพลังบวกให้ลูกด้วยคำพูด
การให้กำลังใจลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ชมเชยเมื่อลูกทำได้ดี กอด หอม หรือพาไปทำกิจกรรมที่ลูกชอบ แต่ถ้าลูกเจอปัญหา เราควรให้กำลังใจและมองโลกในแง่ดี เช่น บอกลูกว่าไม่เป็นไร ครั้งหน้าต้องทำได้ดีกว่า หรือให้สังเกตถ้ามีเรื่องอะไรเกิดขึ้น และอาจจะปัญหาตามมา คุณพ่อคุณแม่ควรหาทางแก้ไขร่วมกับลูกค่ะ เช่น คุณครูเสียงดัง เพื่อนแกล้ง เป็นต้น
6.ไม่ควรโกหกลูก
การโกหก หรือ การหลอกล่อลูกให้ไปโรงเรียนและมีสิ่งตอบแทนให้ลูก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำนะคะ เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ลูกจะไม่เชื่อใจเรา และอาจจะไม่ยอมไปโรงเรียนอีกในครั้งต่อไป ควรพูดคุยกับลูกน้อยอย่างตรงไปตรงมาและให้ข้อมูลที่ชัดเจน เช่น บอกเวลาที่แน่นอนว่าจะมารับ หรือบอกกิจกรรมที่ทำร่วมกันหลังเลิกเรียน เพื่อให้ลูกน้อยวางใจและรู้สึกมั่นใจ
7.พูดคุยกันบ่อยๆ
การคุยกับลูกเป็นประจำทุกวัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะทำให้เรารู้ว่าลูกเป็นอย่างไรบ้างที่โรงเรียนค่ะ ลองหาเวลาคุยกับลูก อาจจะเป็นตอนรับลูกกลับบ้าน หรือตอนทานข้าวเย็น แล้วถามลูกว่าวันนี้สนุกมั้ย เจออะไรมาบ้าง ถ้าลูกมีปัญหาอะไรก็ตาม เช่น โดนเพื่อนแกล้ง หรือไม่เข้าใจบทเรียน เราจะได้ช่วยลูกหาทางแก้ไขได้ทันท่วงทีค่ะ
8.ไปรับลูกให้ตรงเวลา
การไปรับลูกตรงเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ นอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยแล้ว ยังเป็นการสอนให้ลูกรู้จักรอคอยอีกด้วยค่ะ เช่น แม่จะตรงเวลามารับลูกเสมอนะคะ หรือ อย่าห่วงนะคะ แม่จะรีบมารับ หรืออาจะลองบอกเวลาที่แน่นอนกับลูก เช่น พอเข็มยาวถึงเลข 3 แม่จะมารับเลยนะคะ การเชื่อมโยงเวลาเข้ากับกิจกรรมที่ลูกชอบ จะทำให้ลูกรู้สึกตื่นเต้น ไม่เบื่อระหว่างรอและรอคอยที่จะได้ทำกิจกรรมนั้นๆ ค่ะ
9.ห้ามขู่ว่า “เดี๋ยวจะโดนคุณครูดี”
หากลูกน้อยกลับมาบ้านแล้วไม่ยอมทำการบ้าน แทนที่จะขู่ลูกว่า “ถ้าไม่ทำการบ้าน ครูจะตีนะ” ซึ่งจะทำให้ลูกกลัวคุณครูและไม่อยากไปโรงเรียน ลองเปลี่ยนวิธีเป็นการบอกลูกล่วงหน้า เช่น “อีก 5 นาทีเราจะไปทำการบ้านกันนะลูก” หรือ “พอเล่นเสร็จแล้ว เราไปอ่านหนังสือที่คุณครูให้งานมานะคะ” การบอกล่วงหน้าจะช่วยให้ลูกเตรียมใจและทำกิจกรรมได้อย่างราบรื่นมากขึ้นค่ะ
10.สร้างสัมพันธ์กับครูและเพื่อน
การให้ลูกนำขนมหรือของฝากอื่นๆ ไปให้คุณครูหรือเพื่อนเป็นการสอนให้ลูกมีน้ำใจและรู้จักแบ่งปันค่ะ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ลูกได้เรียนรู้การเลือกของขวัญ และการคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่นอีกด้วยนะคะ แต่ควรทำเป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้เป็นการเปรียบเทียบกันในกลุ่มเพื่อนค่ะ
ก้าวแรกสู่โลกการเรียนรู้ เตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยก่อนไปโรงเรียนอนุบาล
การส่งลูกน้อยเข้าโรงเรียนอนุบาลเป็นก้าวสำคัญในชีวิตของทั้งเด็กและพ่อแม่ การเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยก่อนเข้าโรงเรียนจึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่หลายคนให้ความสำคัญ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่นและมีความสุข จะต้องเตรียมอะไรบ้าง
-
เตรียมความพร้อมในด้านร่างกาย
สอนให้ลูกล้างมือให้สะอาด ก่อนกินอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ และหลังจากเล่น ฝึกให้ลูกแต่งกายด้วยตัวเองได้ เช่น ใส่เสื้อผ้า กางเกง ถุงเท้า รวมถึงดูแลให้ลูกน้อยได้พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
-
เตรียมความพร้อมในด้านอารมณ์
ใช้เวลาร่วมกับลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ อ่านหนังสือ เล่นเกม และแสดงความรักให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น สอนให้ลูกน้อยรู้จักแสดงออกถึงความรู้สึกของตนเอง และเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์เมื่อเกิดความไม่พอใจ และสนับสนุนให้ลูกน้อยกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น และกล้าเข้าสังคม
-
เตรียมความพร้อมในด้านสังคม
พาลูกน้อยไปพบปะผู้คนในสังคม เช่น ไปสวนสาธารณะ ไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้เรียนรู้การเข้าสังคม รู้จักแบ่งปันของเล่นกับเพื่อน และช่วยเหลือผู้อื่น ฝึกให้ลูกน้อยทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ และปฏิบัติตามกฎระเบียบ
-
เตรียมความพร้อมในด้านสติปัญญา
อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและจินตนาการ เสริมทักษะลูกด้วยการเล่นเกมที่ช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น เกมต่อภาพ เกมจับคู่ เกมเรียงลำดับ อีกทั้งพูดคุยกับลูกน้อย เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยคิดและวิเคราะห์
ลูกไม่อยากไปโรงเรียน อนุบาล ? ปัญหานี้ไม่ควรมองข้ามนะคะ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาว คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นใส่ใจ และควรสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างใกล้ชิด หากพบว่าลูกน้อยมีอาการไม่อยากไปโรงเรียน หรือมีร่องรอยของการถูกเพื่อนแกล้งต้องรีบหาวิธีแก้ไขทันที
ที่มา : simplymommynote , speakuplanguagecenter
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูก 2 ขวบไปโรงเรียนวันแรก เตรียมลูกให้พร้อมก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้
ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนของเด็กอนุบาล ที่พ่อแม่ควรรู้และร่วมแก้ไข
ปัจจัยสำคัญที่ผู้ปกครองตัดสินใจ เลือกโรงเรียนให้ลูก : ผลสำรวจจาก theAsianparent Insights