ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2568 เบิกได้เท่าไหร่ เบิกยังไง

คุณแม่ท้องที่่เป็นผู้ประกันตน สามารถรับสิทธิการตั้งครรภ์และการคลอดได้นะคะ มาดูกันว่าใช้สิทธิยังไง เบิกประกันสังคมเป็นค่าใช้จ่ายอะไร ได้เท่าไหร่บ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังวางแผนต้อนรับสมาชิกตัวน้อยในปี 2568 การรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2568 เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตน เพราะสิทธิประโยชน์เหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรได้ไม่น้อยเลยทีเดียว มาดูกันว่าข้อมูลเกี่ยวกับค่าคลอดในโรงพยาบาลรัฐและสิทธิประกันสังคมสำหรับคุณแม่ในปี 2568 มีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้วางแผนการเงินอย่างรอบคอบค่ะ

คลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐ ดียังไง?

การคลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยค่ะ เนื่องจากมีข้อดีหลายประการที่ตอบสนองความต้องการของคุณแม่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเรื่อง ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สามารถใช้ สิทธิประกันสังคม ได้ รวมถึงข้อดีต่างๆ ดังนี้

  • ประหยัดกว่าโรงพยาบาลเอกชน ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ โดยทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลเอกชน ทำให้เป็นทางเลือกที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวได้
  • สิทธิการรักษา คุณแม่ที่มีสิทธิสวัสดิการต่างๆ เช่น บัตรทอง หรือ สิทธิประกันสังคม จะสามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการคลอดจากภาครัฐ/สำนักงานประกันสังคม ได้ เป็นการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายได้ส่วนหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดบางประการเช่นกันในการคลอดลูกในโรงพยาบาลรัฐ เช่น ความแออัดจากการมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก อาจทำให้รอคิวนาน หรือไม่ได้รับความสะดวกสบายเท่าโรงพยาบาลเอกชน รวมถึงห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกก็อาจแตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชนด้วย

ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกยังไง ได้เท่าไร

ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม 2568 สำหรับผู้ประกันตนจะครอบคลุมค่าคลอดในรูปแบบของ “เงินเหมาจ่าย” รวมถึงได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การฝากครรภ์ การลาคลอด

  • ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ ราคาประมาณเท่าไร

โดยทั่วไป ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 15,000 บาท ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  1. ประเภทการคลอด
  • คลอดธรรมชาติ มักมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า อาจอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 7,000 บาท
  • ผ่าคลอด จะมีขั้นตอนการผ่าตัดและพักฟื้นนานกว่า จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการคลอดขยับสูงขึ้นกว่าการคลอดธรรมชาติ ซึ่งค่าคลอดในโรงพยาบาลรัฐอาจอยู่ที่ประมาณ 10,000 – 15,000 บาท
  1. ภาวะแทรกซ้อน หากมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด หรือต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ค่าใช้จ่ายการคลอดก็จะเพิ่มขึ้น
  2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าทำคลอดพิเศษ (เช่น การใช้ยาชาเฉพาะจุด) อาจมีราคาแตกต่างกันไปในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกได้เท่าไหร่

หากคุณแม่เป็นผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

  1. เงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร ได้รับเงินเหมาจ่ายจำนวน 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง ไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการคลอด โดยสิทธิประกันสังคมที่คุณแม่สามารถเบิกได้คือค่าคลอดแบบเหมาจ่าย 15,000 บาท อาจไม่รวมถึงค่าห้องหลังคลอด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องสำรองจ่ายค่าคลอดไปก่อนแล้วค่อยไปเบิกกับประกันสังคมในภายหลังค่ะ

ตัวอย่าง ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลรามาธิบดี

คลอดทางช่องคลอด

(คลอดธรรมชาติ)

  • ราคา 13,000 – 20,000 บาท
  • นอนโรงพยาบาล 2-3 วัน
คลอดทางช่องคลอด + ทำหมันหลังคลอด
  • ราคา 15,000 – 25,000 บาท
  • นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
ผ่าคลอด
  • ราคา 25,000 – 40,000 บาท
  • นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
ผ่าคลอด + ทำหมันหลังคลอด
  • ราคา 55,000 – 45,000 บาท
  • นอนโรงพยาบาล 3-4 วัน
ค่าห้องหลังคลอด (ต่อวัน)
  • เตียงธรรมดา+อาหาร ราคา 500 บาท
  • เตียงธรรมดา+อาหารพิเศษ ราคา 860 บาท
  • เตียงพิเศษเดี่ยว+อาหารพิเศษ ราคา 2,360-2,860 บาท

 

ทั้งนี้ มีตัวอย่างค่าใช้จ่ายการคลอดในโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โรงพยาบาลกลาง คลอดธรรมชาติ ประมาณ 4,600-5,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
  • โรงพยาบาลภูมิพล คลอดธรรมชาติ ประมาณ 8,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
  • วชิรพยาบาล คลอดธรรมชาติ ประมาณ 7,000-15,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
  • โรงพยาบาลตำรวจ คลอดธรรมชาติ ประมาณ 5,500-6,000 บาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ)

ฯลฯ

  1. ค่าฝากครรภ์ คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 1,500 บาท โดยแบ่งเป็น 5 ครั้ง คือ
  • ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 500 บาท
  • ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20-28 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 300 บาท
  • ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ เบิกได้ไม่เกิน 200 บาท
  • ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32-40 สัปดาห์ขึ้นไป เบิกได้ไม่เกิน 200 บาท
  1. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน) โดยสามารถเบิกได้สูงสุด 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการเป็นผู้ประกันตน เช่น เงินเดือน 15,000 บาท ได้รับเงินทดแทน 50% คือ 7,500 บาท เป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) รวมเป็นเงินทดแทนที่เบิกจากประกันสังคมได้ 22,500 บาท เป็นต้น
  2. เงินสงเคราะห์บุตร เบิกได้ 1,000 บาทต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี

ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม เบิกยังไง?

กระบวนการเบิกค่าคลอดจะเป็นไปอย่างราบรื่นหากคุณแม่เตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อม ดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (แบบ สปส. 2-01)
  2. สำเนาสูติบัตรของบุตร ในกรณีคลอดบุตรแฝด ให้แนบสำเนาสูติบัตรของบุตรแฝดทุกคน
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ (ต้องเป็นบัญชีออมทรัพย์เท่านั้น)
  5. ใบเสร็จรับเงินค่าฝากครรภ์ (ถ้ามี)
  6. สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีคุณพ่อซึ่งเป็นผู้ประกันตน เป็นผู้ยื่นขอรับสิทธิ)
  7. หนังสือรับรองการเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็ก (กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส)

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับสิทธิ ค่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ สิทธิประกันสังคม ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (แบบ สปส. 2-01) ให้ครบถ้วน และลงลายมือชื่อ
  2. รวบรวมเอกสารประกอบการยื่นคำขอทั้งหมด ยื่นที่ สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สะดวก หรือยื่นผ่านไปรษณีย์
  3. รอการพิจารณาและอนุมัติจากสำนักงานประกันสังคม
  4. เมื่อได้รับการอนุมัติ เงินจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ระบุไว้ในแบบคำขอ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วันทำการหลังเอกสารได้รับการอนุมัติ

ใช้สิทธิประกันสังคม คลอดโรงพยาบาลรัฐ อย่าลืม! วางแผนค่าใช้จ่าย

แม้ว่าสิทธิประกันสังคมจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการคลอดได้ แต่คุณแม่ควรสอบถามรายละเอียดจากโรงพยาบาลที่ต้องการคลอดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการคลอดและสิทธิประโยชน์ต่างๆ อีกครั้ง รวมทั้งตรวจสอบสิทธิประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองมีสิทธิในการเบิกจ่าย รวมถึงทราบถึงรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อเตรียมงบประมาณเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วยนะคะ เช่น

  • ค่าฝากครรภ์และตรวจสุขภาพ ซึ่งแม้ประกันสังคมอาจช่วยจ่ายบางส่วน แต่บางบริการอาจต้องจ่ายเอง
  • ค่าวัคซีนและการตรวจเพิ่มเติมสำหรับลูกน้อย โดยเฉพาะวัคซีนทางเลือก
  • ค่าอุปกรณ์สำหรับเด็กแรกเกิด เช่น เตียงเด็ก ผ้าอ้อม หรือขวดนม
  • ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้น ค่าเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเองหลังคลอด

 

 

ที่มา : pmghospital.in.th , policywatch.thaipbs.or.th

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฤกษ์มงคล ฤกษ์ผ่าคลอด 2568 ครึ่งปีแรก ให้ลูกน้อยรับพลังบวกตั้งแต่เกิด

ผ่าคลอดกี่วันถึงจะขับรถได้ คำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

ท้องลด ใกล้คลอดดูยังไง แม่ต้องรู้ อาการใกล้คลอดมีอะไรบ้าง?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี