พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 10 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 10 เดือน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความเข้าใจอย่างไร พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการหรือทักษะอะไรได้บ้าง อาการน่าเป็นห่วงของเด็กวัยนี้คืออะไร เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ และข้อควรรู้ของเด็กวัยนี้จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 4 ขวบ 10 เดือน
พัฒนาการของหนูน้อยในช่วงนี้จะอยู่ในขั้นเตรียมเข้าโรงเรียนค่ะ ทำให้เด็กๆ มีพัฒนาการทางร่างกายต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- เด็กจะชอบทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เต้น กระโดด วิ่งเล่น
- โยนรับส่งลูกบอลในท่าที่เหมือนกับผู้ใหญ่
- ทำกิจกรรมที่ใช้สายตากับมือพร้อมๆ กันมากขึ้น
- ใช้เครื่องมือง่ายๆ ได้อย่างแม่นยำและมีความปลอดภัย เช่น ใช้กรรไกรตัดกระดาษ
- มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายกับเด็กคนอื่น เช่น ผลักเพื่อน ต่อสู้กัน หรือยั่วยุ
- รับรู้เกี่ยวกับการใช้พื้นที่รอบๆ ตัวได้มากขึ้น
- ยืนขาข้างเดียวได้นานกว่า 10 วินาที
- สามารถพลักตัวกลับและกระโดดได้
- สามารถขี่จักรยานสามล้อและแบบสองล้อได้
ช่วงเวลาเหล่านี้ คุณจะสังเกตเห็นว่าฟันน้ำนมของลูกเริ่มหลุดหรือหลุดบ่อยมากขึ้นเพื่อให้แท้ขึ้นมาแทนที่ค่ะและกว่าที่ฟันแท้จะขึ้นมาครบก็หลังจากที่ลูกอายุได้ 5 ขวบกว่าๆ ค่ะ โดยเด็กวัยนี้จะมีความสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ซม. ส่วนน้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 3 กก.
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- คุณแม่คุณแม่อาจหากอจกรรมนอกหลักสูตรให้กับลูกๆ เพื่อให้ลูกเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนค่ะ เช่น เรียนเต้น เพื่อที่ลูกน้อยจะได้เรียนรู้การใช้พื้นที่ค่ะ
- ให้ลูกรู้จักการใช้พื้นที่และเวลามากขึ้นโดยปล่อยให้เขาได้เดินสำรวจพื้นที่โดยรอบไปเรื่อยๆ คุรอาจพาลูกน้อยไปปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ หรือเรียนเต้น หรือไปเดินเล่นในสวนก็ได้ค่ะ
- เด็กกำลังเลียนแบบพ่อแม่ในเรื่องของการกิน ดังนั้น พ่อแม่ไม่ควรที่จะเลือกกิน หรือพยายามอดอาหารให้ลูกเห็น เพราะลูกน้อยอาจทำตามสิ่งที่พ่อแม่ทำได้ค่ะ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกมีอาการต่อต้านสังคม ไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรมอะไรกับผู่อื่น
- ลูกกินอาหารแต่น้ำหนักไม่เพิ่มหรือส่วนสูงไม่เพิ่ม
- ลูกไม่ยอมทำอะไรตามที่พ่อแม่บอกให้ทำ
พัฒนาการทางด้านความรู้และความเข้าใจของเด็กวัย 4 ขวบ 10 เดือน
ลูกน้อยจะเริ่มมีพฤติกรรมตอบโต้พ่อแม่มากขึ้น พ่อแม่หลายคนอาจมองว่าลูกเถียงหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วมันเป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยเริ่มมีความคิดวิจารณญาณในแบบของตนเองแล้ว หากคุณพูดกับลูกบ่อยๆ คุณจะก็จะได้เห็นวิธีคิดของเด็กในวัยนี้ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ และบ่อยครั้งที่ลูกอาจจะเริ่มเรียกร้องมากขึ้น หรือบอกว่าตัวเองมีการเจ็บป่วย ปวดหัว ปวดเมื่อตามร่างกาย นั่นเป็นเพราะเขาเริ่มรู้จักร่างกายของตัวเองมากขึ้นค่ะ สำหรับทักษะหรือเหตุการณ์ที่สำคัญของเด็กวัยนี้ ได้แก่
- ลูกน้อยจะเริ่มสนุกสนานกับการอ่านหนังสือด้วยตัวเอง
- เริ่มมีความคิดของตัวเองและแสดงการโต้แย้งกับพ่อแม่
- ลูกมีความอยากรู้อยากเห็นในทุกๆ อย่าง
- ลูกสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีการยกตัวอย่างด้วย
- เด็กสามารถพูดประโยคที่ยาวๆ ได้
- การเล่นบทบาทสมมติของเด็กจะเริ่มมีความใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- หาอุปกรณ์การอ่านที่เหมาะสมกับลูก
- หาหนังสือที่สร้างความบันเทิงให้กับลูกพร้อมกับกระตุ้นพัฒนาการทางด้านความคิด
- ทดสอบความจำของลูก ด้วยการเล่นเกมเกี่ยวกับความจำ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกอ่านหนังสือได้ช้า หรือไม่มีการแสดงออกทางความคิดเห็น พ่อแม่อาจต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อทดสอบเกี่ยวกับพัฒนาการทางปัญญาของเด็ก
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัยเล็กช่วง 4 ขวบ 10 เดือน
ตอนนี้เด็กหลายคนจะเริ่มรู้จักการแสดงออกมากขึ้น ไม่ค่อยเขินอายแม้แต่กับคนแปลกหน้า เนื่องจากเด็กๆ กำลังเรียนรู้ได้ว่าพวกเขาสามารถแสดงออกทางความรู้สึกทางภาษากายกับผู้อื่นได้ เมื่อลูกน้อยเริ่มรู้จักกับการแสดงออกความรู้สึกของตัวเอง ทำให้เด็กแสดงอารมณืได้ดีขึ้น ไม่ค่อยโมโหร้ายเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสัมคมอื่นๆ ดังนี้
- เด็กๆ จะรู้สึกสนุกสนานกับเพื่อน และพยายามสร้างความสุขให้กับผู้อื่นด้วย
- รเด็กจะเริ่มลูกจักการแบ่งปัน และกฎกติกาการเล่นมากขึ้น
- เด็กจะปฎิบัติตามกฎที่คุณตั้งเอาไว้
- เด็กต้องการอิสระมากขึ้น
- มีการแสดงออกถึงความเป็นตัวเองโดยการใช้คำพูด แทนการแสดงออกทางร่างกาย
- ลูกน้อยจะกำหนดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง คือ อยากแข่งมากขึ้นหรือลดลง
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ให้ลูกได้ออกไปเล่นกับเพื่อน หรือพาไปพบเพื่อนใหม่ๆ เพื่อให้ลูกได้รู้จักกฎกติกาการเล่นร่วมกันกับเพื่อนๆ เพื่อเตรียมพร้อมลูกก่อนเขาโรงเรียน
- ปล่อยให้ลูกได้แสดงออกทางคำพูด แม้ว่าลูกจะโกรธหรือหงุดหงิดก็ตาม
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกมีอาการหวาดกลัวหรือก้าวร้าวมากขึ้น
- ลูกรู้สึกกังวลเมื่อต้องแยกตากพ่อแม่ในช่วงเวลาสั้นๆ
- ลูกมีสมาธิสั้น อยู่กับกิจกรรมนั้นๆ ได้ไม่เกิน 5 นาที
- ลูกมีนิสัยต่อต้านสังคม
- ลูกไม่มีความสนใจต่อสิ่งต่างๆ
- ลูกไม่สบตาใคร
- ลูกไม่ตอบสนองเมื่อมีคนอื่นพูดกับเขา
- ลูกไม่สามาถบอกชื่อ-นามสกุลของตัวเองได้
พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กเล็กวัย 4 ขวบ ช่วง 10 เดือน
ลูกน้อยจะเรียนรู้คำต่างๆ ได้มากขึ้น บ่อยครั้งที่พ่อแม่จะได้ยินลูกพูดมากขึ้น อาจมีคำแปลกๆ ที่ได้มาจากเพื่อนบ้างหรือจากสิ่งที่ดูบ้าง และเด็กจะพูดได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้งยังมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ดังนี้
- ออกเสียงคำได้ชัดเจนข้น และสามารถพูดประโยชน์ที่ซับซ้อนกันมากขึ้น
- ลูกสามารถนับได้ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
- ลูกสามารถบอกชื่อสีถูกอย่างน้อย 4 สี และเรียกชื่อรูปทรงถูกอย่างน้อย 3 รูปทรง
- ลูกสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ถูก
- ลูกเข้าใจภาษาอื่น
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ปล่อยให้ลูกได้พูดคุยกับคนอื่นนอกจากพ่อแม่ เพื่อให้ลุกน้อยสร้างความมั่นใจในการพูดในพื้นที่สาธารณะ
- หากลูกขี้อายไม่กล้าพูดหรือกล้าแสดงออก พ่อแม่ก็ไม่ควรบังคับให้ลูกพูด
- สามารถให้ลูกใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตเพื่อเรียนรู้เรื่องอื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่ควรจำกัดเวลาไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถตีความการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดได้
- ลูกไม่ยอมสบตากับผู้อื่นเวลาพูด
- ลูกพูดเป็นคำๆ พูดไม่เป็นประโยค
พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัยเล็ก ช่วง 4 ขวบ 10 เดือน
สำหรับเด็กอายุ 4 ปี 10 เดือน หนูน้อยวัยนี้ควรมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 104-114 ซม. และจะมีน้ำหนักประมาณ 18-22 กก. เด็กยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเสริมอาหารและโภชนาการให้ลูกน้อยอย่างครบถ้วย ดังนี้
สารอาหารทีต้องการ | ปริมาณที่ต้องการ | แหล่งของสารอาหาร |
โปรตีน | 20-35 กรัม (ขนาดเท่าฝ่ามือของเด็ก) | ไก่ย่างชิ้นเล็กๆ หรือปลาแซลมอนอบ หรือก้อนเต้าหู้ |
แคลเซียม | 1000 มก. (1-2 ถ้วยเล็ก) | นม 1 แก้ว เนยแข็งก้อนเล็ก หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย (3 มื้อต่อวัน) |
เหล็ก | 10 มก. | เนื้อสับชิ้นเล็ก 1 ถ้วย หรือถั่วสำหรับทานเล่น |
วิตามินเอ | ไม่เกิน 3000 IU (900 mcg RAE) | แครอทนึ่ง 1 ถ้วย หรือบร็อคโคลี่ หรือไข่แดง 2 ฟอง |
วิตามินซี | ไม่เกิน 650 มก. | สตอว์เปอร์รี่ 4-5 ลูก |
วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 4 ขวบ 10 เดือน
- วัคซีนที่จำเป็น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
- วัคซีนเสริม
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
- วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
- วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกน้ำหนักลดลงอย่างมาก
- ลูกมีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียสนานกว่า 1 วัน
- เมื่อลูกถึงกำหนดรับวัคซีน
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 9 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พาลูกเที่ยวทะเลช่วยให้เด็กฉลาดได้ อยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีต้องพาลูกเที่ยว
เกมคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กเล็ก พร้อมวิธีการเล่นอย่างง่าย ใครๆ ก็สอนลูกได้!