พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือนมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร ลูกในวัย 6 ปี 1 เดือน เติบโตแค่ไหน... เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตอนนี้ลูกรักก็เติบโตถึงวัย 6 ขวบ 1 เดือนแล้ว ช่วงวัยนี้ จะมีพัฒนาการสำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง เช็คเลย!

 

พัฒนาการลูก 6 ปี 1 เดือน

แม่จ๋าดูสิ! ลูกเติบโตขนาดนี้แล้วนะ จากเบบี๋ตัวน้อยที่แม่คอยอุ้มอย่างทะนุถนอม ตอนนี้แม่ต้องจูงลูกเข้าโรงเรียนแทนแล้ว เพราะลูกของแม่อยู่ในวัย 6 ขวบ 1 เดือน ถึงเวลาเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงมากมายจากการเรียนอนุบาล ที่ลูกน้อยจะต้องค่อย ๆ ปรับตัวด้วย

เด็กในวัย 6 ปี 1 เดือน มักจะเริ่มคุ้นเคยกับการเข้าสังคมแล้ว เด็กบางคนชอบที่จะพบเจอเพื่อนใหม่ ๆ แต่เด็กบางคนก็ยังเขินอายที่จะเอ่ยทักทายครูและเพื่อน ๆ แต่การเข้าเรียนเป็นประจำ จะค่อย ๆ ทำให้ลูกคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ได้เร็วขึ้น ในวัยนี้จะเริ่มมีกิจกรรม ดนตรีหรือกีฬาที่ลูกให้ความสนใจบ้างแล้ว

ขณะที่ลูกกำลังปรับตัวทีละน้อย พัฒนาการของเด็กก็จะมีเพิ่มมากขึ้น หากพ่อแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีความเครียด เก็บตัว ร้องไห้บ่อย หรือมีพัฒนาการที่ไม่เหมือนเพื่อนในวัยเดียวกัน ก็อย่าลืมที่จะสอบถามพูดคุยกับลูก แต่ถ้ากังวลเรื่องพัฒนาการของลูกมาก ๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์

 

พัฒนาการลูก 6 ขวบ 1 เดือน

ลูกเติบโตสมวัยหรือไม่ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้าง

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

 

พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ 1 เดือน

ร่างกายของลูกในอายุ 6 ปี 1 เดือน สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้ลูกมีความสุขที่ได้ออกกำลัง ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายในแบบอื่น ๆ และนี่เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะสามารถสังเกตเห็นพรสวรรค์ ความชอบ ความสนใจของลูก ในเรื่องของกีฬาหรือกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ หากลูกมีความสนใจในกีฬาด้านใดเป็นพิเศษ ลองพาลูกไปฝึกฝนทักษะเหล่านี้ดูสิ

เนื่องจากลูกในวัย 6 ปี 1 เดือน มีทักษะด้านกล้ามเนื้อที่ดีขึ้น มีการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตาที่ดีขึ้น ทั้งยังมีความสามารถในการจดจ่อกิจกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด

นอกเหนือจากนั้น การทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ก็ยังช่วยให้ลูกได้พัฒนาสมอง ในการทำงานด้านความจำ (โดยเฉพาะความจำเพื่อใช้งาน หรือ Working Memory) รวมถึงสุขภาพโดยรวมของร่างกายลูก ช่วยในการสร้างกระดูก เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง บรรเทาความเครียด ลดความวิตกกังวลได้

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือน โดยเฉลี่ย

ลูกชายวัย 6 ขวบ 1 เดือน

ส่วนสูง : 116.2 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 21 กิโลกรัม

ลูกสาววัย 6 ขวบ 1 เดือน

ส่วนสูง : 115.59 เซนติเมตร

น้ำหนัก : 20.5 กิโลกรัม

 

ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือนที่ทำได้

  • เด็กมีทักษะทางกายภาพขั้นพื้นฐาน เช่น กระโดด เตะ จับสิ่งของ ปาสิ่งของ
  • ผูกเชือกรองเท้า
  • ขี่จักรยาน 2 ล้อ
  • มีสมดุลร่างกายที่ดีขึ้น ร่างกายทำงานประสานกันได้ดี
  • ลูกทานอาหารเองได้
  • วาดและเขียนได้ดีขึ้น จับดินสอ จับปากกาได้ถนัดขึ้นแล้ว
  • รับรู้ จดจำ จังหวะและท่วงทำนองของดนตรีได้

 

เคล็ดลับด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

  • ให้ลูกเลือกทำกิจกรรม หรือเล่นกีฬาที่สนใจ
  • ในวันหยุดสุดสัปดาห์ พาลูกไปว่ายน้ำ ขี่จักรยาน หรือทำกิจกรรมที่ได้ฝึกฝนทักษะ ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
  • ฝึกให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน
  • สอนลูกเรื่องโภชนาการ ด้วยการพาลูกไปซื้อของกิน เดินตลาด หรือห้างสรรพสินค้า
  • จำกัดเวลาของการเล่นมือถือหรือแท็บเล็ต ให้ลูกใช้จอแค่ 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน

 

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • การประสานมือและตาของลูก ทำงานได้ไม่ดี
  • ไม่สามารถทำเรื่องทั่วไปแบบที่เพื่อนวัยเดียวกันทำได้ เช่น ไม่สามารถแต่งตัวเองได้
  • สูญเสียทักษะบางอย่างที่ลูกเคยทำได้

 

พัฒนาการเด็กในวัย 6 ขวบ 1 เดือน

พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 1 เดือน

สมองของเด็กในวัย 6 ขวบ 1 เดือน มีขนาดสมองประมาณ 90% ใกล้เคียงกับสมองของผู้ใหญ่แล้ว พ่อแม่ควรให้ความสนใจ และช่วยลูกเสริมสร้างทักษะ ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงโภชนาการต่าง ๆ ที่พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญด้วย

เมื่อลูกไปโรงเรียน ลูกจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมาย รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องคิดและแก้เพียงลำพัง ในวัยนี้ ลูกจะค่อย ๆ ฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ลูกจะเริ่มทำอะไรแปลกใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

เด็กในวัยนี้เริ่มรู้แล้วว่า สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง แยกออกแล้วว่าสิ่งไหนไม่ควรทำ และลูกยังได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ความผิดพลาดที่ผ่านมา นอกจากนี้ เด็กบางคนเมื่อพบเห็นสิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่ถูกต้อง อาจจะพูดโพล่งออกมาเลย เช่น บอกครูว่าเพื่อนเอาปากกาไป

มาเช็คกันดูว่า พัฒนาการของลูกเป็นอย่างไร มีสิ่งไหนที่ลูกทำได้แล้ว

 

พัฒนาการเด็ก 6 ปี 1 เดือน

ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือนที่ทำได้

  • แสดงความคิดเห็นที่ซับซ้อนมากขึ้น
  • รับรู้ว่าสิ่งใดควรทำ ไม่ควรทำ สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ได้ดีขึ้น
  • เริ่มมีเพื่อนสนิท
  • สามารถจัดการงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ ทั้งการบ้าน กิจกรรมในโรงเรียน หรือแม้แต่การทำงานบ้าน
  • ลูกมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่ทำได้นานขึ้น

 

เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

  • ยื่นมือเข้าช่วย เมื่อลูกต้องการความช่วยเหลือเท่านั้น
  • ซื้อของเล่นที่เสริมสร้างการเรียนรู้แบบ STEAM หรือ Science Technology Engineering Art
  • ชวนลูกคิดเลข ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุก
  • ฝึกการอ่านหนังสือไปกับลูก
  • เมื่อลูกถามคำถาม ให้ตอบคำถาม แล้วถามกลับไป เพื่อให้ลูกฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking)
  • สอนลูกให้คิดต่อจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เจอ เช่น กิจวัตรประจำวัน สภาพแวดล้อมระหว่างการเดินทาง โภชนาการและเรื่องอาหาร

 

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ลูกมีปัญหาในการสื่อสาร หรือเล่นกับเด็กคนอื่นไม่เป็น
  • ไม่สามารถดูแลตัวเองได้
  • หากลูกจำชื่อของตัวเองไม่ได้ เมื่อมีคนเรียก

 

พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 1 เดือน

ลูกในวัย 6 ขวบ 1 เดือน ชื่นชอบในการเข้าสังคม อยากมีเพื่อน ชอบทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ ๆ ลูกจะกระตือรือร้นในการหาเพื่อนได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ป้ายรถเมล์ ในวัยนี้ ลูกจะเริ่มมีเพื่อนสนิทบ้างแล้ว และมักจะเป็นเพื่อนสนิทเพศเดียวกัน

แม้ว่าลูกจะชอบทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ๆ แต่เจ้าตัวน้อยของเราก็ยังวิตกกังวลในการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งเกิดขึ้น นั่นก็คือการย้ายโรงเรียนจากอนุบาล มาเป็นชั้นประถมศึกษา เด็กบางคนยังต้องพบเจอเพื่อนใหม่ ๆ และต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยกับโรงเรียนใหม่

 

อารมณ์และสังคม พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือนที่ทำได้

  • พูดสิ่งที่คิด แสดงความรู้สึกในใจออกมาได้แล้ว
  • กระตือรือร้นที่จะรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ
  • เข้าใจถึงการทำงานเป็นทีม การทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เรียนรู้เรื่องทีมเวิร์ค
  • ยังมีความกลัว หรือลังเลอยู่บ้าง เมื่อต้องพบเจอหรือพูดคุยกับคนที่ไม่รู้จัก

เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

  • พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อดูว่า ลูกเข้ากับเพื่อนใหม่ได้ดีไหม ไปโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง
  • สอนลูกเรื่องการกลั่นแกล้งกัน บอกลูกว่าไม่ควรไปแกล้งคนอื่น และสอนวิธีรับมือเมื่อลูกถูกกลั่นแกล้ง
  • มอบหมายงานบ้านที่เหมาะสมกับวัยให้ลูกทำ
  • ทำให้ลูกรู้สึกว่า พ่อแม่อยากรู้เรื่องของลูก พร้อมจะรับฟังทุกอย่าง ทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยที่จะบอกเรื่องต่าง ๆ กับพ่อแม่
  • สอนลูกเรื่องการเคารพผู้อื่น
  • สร้างระเบียบวินัยให้ลูกตั้งแต่เล็ก และอย่าลืมชมเชยเมื่อลูกทำดี
  • อย่าจัดตารางเวลาให้ลูกแน่นเกินไป ให้แต่ละวันลูกทำกิจกรรมอย่างพอดี มีเวลาพักผ่อน
  • สอนให้ลูกรู้จักระวังตัวกับคนแปลกหน้า ไม่ไปไหนกับใครง่าย ๆ และถ้ามีใครมาถูกเนื้อต้องตัวลูก แล้วลูกรู้สึกไม่สบายใจ ให้มาบอกพ่อแม่

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ลูกไม่อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากอยู่ห่างจากพ่อแม่เลย
  • หากลูกเก็บตัวเงียบ ไม่ชอบสุงสิงกับคนอื่น หรือแม้แต่เพื่อนในวัยเดียวกัน
  • ถ้าลูกขี้อายจนเกินไป

 

พัฒนาการเด็กในวัย 6 ขวบ 1 เดือน

พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 1 เดือน

ลูกมีอายุ 6 ปี 1 เดือนแล้ว สามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว มีความมั่นใจ และพูดเป็นประโยคที่ถูกต้องได้จนจบประโยค เด็กบางคนก็เริ่มเถียงหรือต่อรองกับพ่อแม่โดยใช้เหตุผลได้บ้าง เป็นต้นว่า เวลาที่คุณให้ลูกกินผัก ลูกอาจจะตอบกลับมาว่า “ไม่กิน” และอาจตอบกลับมาว่า แม่ยังไม่เห็นต้องกินผักเลย

นอกเหนือจากนั้น เด็กจะเริ่มแสดงความสนใจในด้านการเขียนและการอ่าน เราลองมาดูกันว่าในช่วงวัยนี้ พัฒนาการของลูกจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 1 เดือนที่ทำได้

  • ลูกพูดคล่องขึ้น มั่นใจขึ้น แถมยังพูดได้จนจบประโยค
  • สามารถหาคำง่าย ๆ มาต่อรอง หรือเถียงพ่อแม่ได้
  • ลูกจะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเวลา เช่น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ ทั้งยังเข้าใจด้วยว่าอะไรเกิดก่อน เกิดหลัง
  • เริ่มมีสิ่งที่สนใจด้านการอ่านและการเขียน
  • เข้าใจการเรียบเรียงคำพูดหรือโครงสร้างของประโยคแล้ว

เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

  • อ่านนิทานก่อนนอนให้ลูกฟัง และลองสลับบทบาทให้ลูกได้ลองอ่านเอง หรืออ่านตามไปด้วย
  • เริ่มใช้คำพูดสำหรับเด็กโตกับลูก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การใช้ภาษาที่ถูกต้อง
  • ลองถามลูกว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกได้พัฒนาการสื่อสาร เรียนรู้ที่จะอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นการพูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกเล่าเรื่องที่โรงเรียน พ่อแม่จะได้รู้ว่า ลูกไปเรียนแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
  • ใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้ และต้องอธิบายด้วยว่า คำนี้มีความหมายว่าอะไร มักจะใช้ในตอนไหน

เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 1 เดือน ไปพบกุมารแพทย์

  • ลูกไม่ยอมอ่านหนังสือ หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ หรือแสดงอาการที่ผิดปกติ
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้
  • พูดติดอ่าง หรือ พูดตะกุกตะกัก

พัฒนาการลูกในวัย 6 ขวบ 1 เดือน

 

สุขภาพและสารอาหาร

สารอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเจริญเติบโตของลูกน้อยในวัย 6 ขวบ 1 เดือน เพราะลูกต้องการอาหารที่จะช่วยสร้างความแข็งแรงและปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย

เด็กวัยนี้ต้องใช้พลังงานมาก จึงควรให้เด็กทานอาหารที่มีสารอาหารสูง เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ อย่างอาหารทะเล เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ และควรได้รับโปรตีนจากถั่วด้วย ซึ่งปริมาณแคลอรี่ ที่ควรได้รับต่อวัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรม การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา แต่ก็อยู่ระหว่าง 1,200 ถึง 2,000 กิโลแคลอรี

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 1 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่ 

เด็กผู้ชายต้องการ 1,759 กิโลแคลอรี่  ต่อวัน

เด็กผู้หญิงต้องการ 1,650 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน

 

เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 1 เดือน

  • ให้ลูกได้ทานอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ ควรให้ลูกได้ลองเมนูที่แตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพื่อให้เด็กไม่เบื่ออาหาร และได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่หลากหลาย
  • พ่อแม่ควรเลือกซื้ออาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับลูก ฝึกให้ลูกดื่มน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • ต้นแบบที่ดีที่สุดคือ ครอบครัว พ่อแม่จึงต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ไปพร้อม ๆ กับลูก

 

อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 1 เดือน

ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว

ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562

 

ที่มา: sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

10 แอพเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม

จะรู้ได้ยังไงว่าโรงเรียนนี้ดี? คำแนะนำช่วยเลือกโรงเรียนให้ลูก

 

บทความโดย

Tulya