X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ความสัมพันธ์หลังมีลูก ของครอบครัว จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง หากได้เจ้าตัวเล็กเพิ่มเข้ามา

บทความ 5 นาที
ความสัมพันธ์หลังมีลูก ของครอบครัว จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง หากได้เจ้าตัวเล็กเพิ่มเข้ามา

ความสัมพันธ์หลังมีลูก จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง นอกเหนือจากเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่ควรให้ความสำคัญ และต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อวางแผนจะมีลูกแล้ว ความสัมพันธ์หลังมีลูก ของสามีและภรรยา อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีเจ้าตัวเล็กเพิ่มเข้ามา สถานภาพในบางครอบครัว อาจจะจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ใครที่ตัดสินใจมีลูก ลองเช็คดู ให้ดีเพื่อเป็นการเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เตรียมพร้อมไว้ก่อนย่อมดีเสมอ

in 3

in 1

มีเวลาให้กันลดลง

แน่นอนว่าแค่เวลาจะนอนหรือเข้าห้องน้ำจะน้อยลง ในช่วง 3 เดือนแรกที่เลี้ยงลูกเป็นช่วงที่โหดที่สุด ไหนจะคุณแม่กังวลเรื่องแผลผ่าตัด กังวลว่าตัวลูกจะเหลืองมั้ย กังวลว่านมแม่จะเพียงพอมั้ย ฮอร์โมนก็ตกอีก ดังนั้นคนที่จะให้กำลังใจที่ดีที่สุดคือคนในครอบครัวและสามีนั่นเอง พยายามช่วยเหลือเรื่องอื่น ๆ แก่กันในเรื่องที่นอกเหนือจากการให้นมลูก เช่น สามีช่วยล้างขวดนม ล้างที่ปั๊มนม กวาดบ้าน ถูบ้าน ให้กำลังใจ กอดกันทุกวัน พลังด้านบวกจะทำให้ทุกอย่างผ่านไปได้

 

ไม่ได้นอน และ นอนไม่หลับเป็นอาการถัดไป

การมีลูกขอให้ได้รู้ไว้เลยว่าคุณแม่จะต้องตื่นทุก 2-3 ชั่วโมงเพราะต้องให้นมลูก ปั๊มนม หรือแม่กระทั่งลูกงองแง ก็ต้องอุ้มเดิน ถ้าใครโชคดีเด็กเลี้ยงง่ายก็ดีไป ไม่ต้องเหนื่อยมาก การให้นมลูกมาตรฐานอยู่ที่ 6 เดือน ที่คุณแม่ต้องหลับ ๆ ตื่น ๆ และต้องพยายามในช่วงตี 3 เพื่อให้ได้นมมากที่สุด หลังจากนั้นโดยส่วนตัวผู้เขียนเองจะมีอาการนอนไม่หลับ ขนาดตอนนี้ลูก 2 ขวบแล้วก็ยังรู้สึกนอนหลับยาก ต้องให้ง่วงมาก ๆ ถึงจะหลับไป พยายามปิดไฟมืด ตัดใจไม่เล่นมือถือ นอนกอดลูก เก็บเกี่ยวช่วงเวลาที่ดีที่เขายังยอมให้เรากอด โดยเฉพาะลูกชาย กอดหอมให้มาก เพราะเดี๋ยวโตขึ้นก็ติดเพื่อนติดแฟน ไม่อยากอยู่ใกล้เราแล้ว ถ้ามีโอกาสนอนได้ก็ขอให้รีบนอน

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการนอนไม่หลับของคนท้อง เกิดจากอะไร แก้ไขปัญหาได้ด้วยเทคนิคเหล่านี้

Advertisement
in 1

in 2

พ่อหรือแม่รักลูกมาก จนอีกฝ่ายรู้สึกอึดอัด

ในบ้านจะมีคนใดคนหนึ่ง หรือ คู่ของเราจะมีคนใดคนหนึ่งที่รู้สึกตึงเครียดกับการเลี้ยงลูก เช่นทุกอย่างต้องเป๊ะ ๆ จนทำให้บางครั้งอีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดมาก เช่น ต้องกินข้าวกล้องเท่านั้น ต้องกินขนมปัง Whole Wheat เท่านั้น หรือบางความเชื่อ ต้องกินส้มซันคิสเท่านั้น ห้ามกินส้มเขียวหวาน เพราะจะทำให้ร้อนใน บางครั้งการตึงเกินไปของคนเราก็ทำให้อีกฝ่ายเครียดมาก ถ้าเรารู้สึกแย่ ๆ ก็พยายามถอยห่างออกมา ลดการปะทะให้ได้มากที่สุด

แต่เราก็รู้ดีว่า เขาทำก็เพราะรัก แต่ความรักที่มีมากเกินไปก็น่ากลัว ความรู้สึกตีถอยห่างก็จะเกิดขึ้น เพราะถ้าอยู่ใกล้ ๆ ก็จะทะเลาะกันต่อหน้าลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี หลังจากที่ทะเลาะกันแล้ว ก็ควรเติมเต็มสิ่งดี ๆ ที่ขาดหายไปให้แก่กัน ลืมเรื่องร้าย ๆ ไปซะ หายใจลึก ๆ และก้าวต่อไป ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าคนเราอยู่ด้วยกันก็ไม่นาน ทำดีต่อกันดีกว่า ใครอยากทำอะไรมีความสุขที่จะดูแลลูกในแนวทางแบบไหนก็ขอให้ปล่อยเขา เพราะทุกคนต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ อยากให้ลูกของเรามีสุขภาพที่ดีแข็งแรงกันทั้งนั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ระยะห่างของชีวิตคู่จำเป็นแค่ไหน จะกระชับความสัมพันธ์อย่างไรและวิธีมัดใจแฟน

 

มีคนในครอบครัวมาช่วยเลี้ยง แต่ความเห็นไม่ตรงกัน

ถ้าแต่งงานแล้วไม่ได้แยกบ้านก็ต้องยอมอดทนการเลี้ยงของปู่ย่า หรือตายายที่แตกต่างกับแนวทางสมัยใหม่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการป้อนอาหารเด็กมื้อแรก หมอสมัยใหม่บอกต้อง 6 เดือนถึงให้อาหารป้อนข้าว 1 มื้อได้ แต่ถ้าอยู่กับปู่กับย่า หรือตากับยาย เขาก็จะให้ตั้งแต่ 3-4 เดือนก็มี ซึ่งตามหลักการแล้วการให้เด็กทานอาหารอ่อนในช่วง ตั้วแต่  3-4 เดือนแรกนั้น ลำไส้เด็กยังไม่พร้อม และอาจจะเป็นอันตรายได้

ควรหาจุดตรงกลาง พาไปฟังหมอพูดด้วยกันเลยดีกว่า หรือ การป้อนข้าวลูก ถ้าเป็นแนวทางใหม่คือถ้าลุกออกจากเก้าอี้กินข้าว ก็จะเก็บเลย ให้อดให้รู้ว่าถ้าลุกออกจากเก้าอี้ไปเล่น ไม่ยอมกินข้าวให้หมดภายใน 30 นาที จะเก็บและให้หิวจนมื้อถัดไป แต่ถ้าเป็นปู่ย่าตายายก็จะป้อนไปเดินตาม ทำให้เด็กขาดวินัย ดังนั้นเราจึงต้องเด็ดขาดเป็นบางเรื่องเพื่อให้เด็กมีวินัยที่ดี หรือถึงแม้แยกบ้านมาอยู่บางครั้งก็มีปู่ย่าตายายตามมาช่วยเลี้ยงเหมือนกัน ก็ต้องทำใจ  และก้าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง การหาพี่เลี้ยงเด็ก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 93

in 2

in 3

ความเครียดในเรื่องจิปาถะ

มนุษย์แม่ที่เป็นแม่บ้านหรือทำงานนอกบ้านก็เครียดกังวลคนละแบบ อย่างตัวผู้เขียนเอง หยุดเลี้ยงลูกไป 1 ปีให้เวลาเต็มที่ ก็จะมีบางคนมาถามไม่ทำงานเหรอ ก็ต้องตอบว่าอยากให้เวลาลูกเต็มที่ แต่รู้มั้ยว่าการเป็นแม่บ้านเหนื่อยมาก ดูแลลูกตลอด 24 ชั่วโมง พอออกมาทำงานนอกบ้าน คนก็จะถามแล้วไม่ดูแลลูกเหรอ บางทีโอกาสมันเข้ามาเราก็ต้องเลือกคว้ามันไว้ ก็รู้สึกผิดนะที่ทำงาน แต่เราก็หาเงินเก็บเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อครอบครัวทั้งนั้น ต้องพยายามทำใจและทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดีเอง

 

ที่มา : moneyhub.in.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กรุ๊ปเลือดทายนิสัย ความรัก ความสัมพันธ์ ของฉันและเธอ

คำคมสามีแห่งชาติ คำคมความรัก บอกรักสามียังไงให้ฟินเป็นคำคม!

10 เทคนิคเอาใจเมีย เอาใจภรรยายังไงให้เค้ายิ้ม อารมณ์ดีทั้งวัน 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • ความรักและความสัมพันธ์
  • /
  • ความสัมพันธ์หลังมีลูก ของครอบครัว จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง หากได้เจ้าตัวเล็กเพิ่มเข้ามา
แชร์ :
  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • อยากหย่า แต่สงสารลูก ทำยังไงดี ทางแยกที่แสนเจ็บปวดของหัวใจพ่อแม่

    อยากหย่า แต่สงสารลูก ทำยังไงดี ทางแยกที่แสนเจ็บปวดของหัวใจพ่อแม่

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

    จิตวิทยาความรัก คู่ผัว-เมียสายไฝว้ ทะเลาะไปรักไป ชาวบ้านงง หยุมหัวกันแทบตาย สุดท้ายก็ไม่เลิก

  • อยากหย่า แต่สงสารลูก ทำยังไงดี ทางแยกที่แสนเจ็บปวดของหัวใจพ่อแม่

    อยากหย่า แต่สงสารลูก ทำยังไงดี ทางแยกที่แสนเจ็บปวดของหัวใจพ่อแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว