โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดจากปากมดลูกของผู้หญิง มีอาการที่เตือนว่ากำลังเป็นมะเร็งปากมดลูกคือ ตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวคล้ายหนอง เลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติโดยที่ไม่ใช้เลือดประจำเดือน มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงประจำเดือนหมดแล้วแต่มีเลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งในโดยทั่วไปแล้วมักจะไม่พบอาการแสดงในระยะแรกเริ่ม แต่จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อเซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปเยอะมากแล้ว เรามาดูกันว่าอาการของมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร สาเหตุเกิดอะไร?
มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?
มะเร็งปากมดลูกคือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณในมดลูก ช่องคลอด มะเร็งปากมดลูกส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัย 50 ปี รวมไปถึงผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากที่แต่งงานแล้วตั้งแต่อายุน้อย ตั้งครรภ์เร็ว และเป็นผู้ที่ติดเชื้อ HPV แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่สามารถเกิดกับผู้หญิงที่มีอายุน้อยอีกด้วย
ขอขอบคุณวีดีโอจาก : https://www.youtube.com/watch?v=Oh4_VAoRM0I , Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก คืออะไร?
โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่แล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ เกิดมาจากเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) รองลงมาคือการสูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง รวมไปจนถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวพันกันก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระยะก่อนมะเร็งมดลูก และการมีลูกหลายคนก็มีความเกี่ยวข้อง
โรคมะเร็งปากมดลูก มีอาการอย่างไรบ้าง?
- ชูบผอม โลหิตจาง เป็นไข้ และเกิดภาวะอ่อนเพลีย เป็นต้น
- ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือเมื่อประจำเดือนหมดแล้วยังมีเลือดออกมาจากช่องคลอด
- มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ท้องผูก
- มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดมากเพิ่มขึ้น น้ำคัดหลั่งมีสีเหลืองที่ปนไปด้วยเลือดออกมาจากช่องคลอด
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรค กระเพาะ โรคสุดฮิตที่เราไม่ควรมองข้าม สาเหตุเกิดจากอะไร?
การวินิจฉัย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นอย่างไร?
โดยที่แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยการตรวจภายในและคัดกรองหาความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูกด้วย (Pap Smear) ซึ่งเป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเซลล์บริเวณปากของมดลูก ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผิดปกติหรือไม่ ในบางครั้งผลตรวจที่อาจจะพบความผิดปกติของเซลล์นั้น ก็อาจไม่ใช้เซลล์ของมะเร็งเสมอไป ในกรณีที่ตรวจโดย (Pap Smear) สงสัยความผิดปกติ เช่น การตัดชิ้นเนื้อที่บริเวณปากมดลูก โดยแพทย์จะวินิจฉัยร่วมกันกับผลตรวจอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การอันตราซาวน์ เอกซ์เรย์จากคอมพิวเตอร์ เอกซ์เรย์ปอด ผลตรวจของเลือด เอกซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อประเมินว่ามะเร็งอยู่ในระยะไหนแล้ว เพื่อที่อพทย์จะได้วางแผนของการรักษาที่ถูกต้อง
วิธีการตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นอย่างไร?
- ทำความคุ้นเคย และเข้าใจกับอาการมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
- ตรวจทางนรีเวชตามกำหนด สามารถช่วยค้นพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกในระยะแรกได้
- โรคปากมดลูกอักเสบ มีโอกาสพัฒนาเปลี่ยนเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แบบนั้นต้องกระตือรือร้นมากในการรักษาโรคปากมดลูกอีกเสบ
วิธีการรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นแบบไหนบ้าง?
วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับระยะของอาการผู้ป่วย โดยก่อนที่จะทำการรักษาแพทย์กับผู้ป่วยจะต้องปรึกษา และตัดสินใจร่วมกันก่อนว่าข้อดี และข้อเสียของการรักษาเป็นอย่างไร ผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนหลังรักษา การเลือกประเภทของการรักษาตามระยะอาการที่ป่วย โอกาสเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จจากการรักษา
- วิธีการรักษาที่ใช้ในระยะก่อนมะเร็ง คือการผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูกที่มีรอยของโรคด้วยวิธี (Large Loop Excision of the Transformation Zone) ซึ่งเป็นการตัดชิ้นเนื้อเยื่อปากมดลูกด้วยห่วงลวดไฟฟ้า และการผ่าตัด (Cone Biopsy) ซึ่งเป็กการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อปากมดลูกออกเป็นรูปกรวย และใช้เลเซอร์จี้เซลล์ที่ผิดปกติออก และนัดติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยที่ตรวจพบเซลล์ของมะเร็งแล้ว ต้องรักษาตามระยะ และอาการที่พบด้วยเพราะในบางรายอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นมะเร็งลุกลามไปตามส่วนต่าง ๆ และอาจจะใช้วิธีในการรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธีโดยแพทย์ที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย
- วิธีการรักษาของผู้ป่วยที่พบมะเร็งแล้ว ได้แก่ รังสีเคมี เคมีบำบัด และการผ่าตัดปากมดลูก มดลูก รังไข่ ขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ป่วย ตามระดับของความรุนแรง และบริเวณอวัยวะที่ถูกมะเร็งลุกลาม โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกเริ่ม จะใช้วิธีการรักษาเป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งที่มากขึ้นมักจะใช้วิธีของการฉายแสงรังสีรักษาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด
โรคมะเร็งปากมดลูกมีกี่ระยะ แบ่งระยะอย่างไร?
โรคมะเร็งปากมดลูกมีอยู่ 5 ระยะดังนี้
- ระยะ ที่ 0 : เซลล์มะเร็งยังอยู่บริเวณของผิวส่วนบนของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะ 0 เรียกได้อีกชื่อว่า มะเร็งในจุดกำเนิด
- ระยะที่ 1 : เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก และเริ่มที่จะลุกลามแล้ว
- ระยะ ที่ 2 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปในช่องคลอด แต่ยังไม่ถึง 1/3 ของช่องคลอด หรืออาจจะลุกลามไปตามเนื้อรอบข้างของปากมดลูก แต่ก็ยังไม่ถึงเชิงกราน
- ระยะที่ 3 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปถึง 1/3 ส่วนล่างของช่องคลอด หรือลุกลามไปจนถึงกระดูกเชิงกราน หรือไปกดทับท่อไต ทำให้เกิดการอุดตันในระบบปัสสาวะ
- ระยะที่ 4 : เซลล์มะเร็งลามออกจากส่วนอวัยวะเพศ หรือผ่านกระดูกเชิงกรานลามเข้าไปในลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรือแม้แต่ลุกลามไปบริเวณอื่น ๆ ตามร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อย่าให้มะเร็งทำอนาคตของครอบครัวสะดุด ประกันมะเร็ง ตรวจพบรับเงินก้อน สูงสุด 3,000,000 บาท
การป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูกมีอะไรบ้าง?
วิธีของการป้องกันของโรคมะเร็งปากมดลูก และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ที่สามารถป้องกันไวรัสนี้ได้บางสายพันธุ์ รวมไปถึงสายพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ด้วยตนเอง ด้วยการป้องกันขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ ไม่เปลี่ยคู่นอนบ่อย ๆ ไม่สูบบุหรี่ และดูแลสุขภาพร่างกายตนเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง คุ้มครองอะไรได้บ้าง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รอยฟกช้ำ จ้ำเลือดง่าย อาการและสาเหตุ ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการช้ำง่าย
ยารักษาโรคเก๊าท์ 10 วิธีบรรเทาอาการโรคเก๊าท์ทำได้ง่ายๆที่บ้าน
โรคทางพันธุกรรม คืออะไรอันรายหรือไม่ ป้องกันได้รึเปล่า?
แหล่งที่มา : (pobpad), (chularatcancercenter)