คาร์ซีท ความปลอดภัย ที่ผู้ปกครองทั้งหลายควรมีความรู้ติดตัว
คาร์ซีท ความปลอดภัย พ่อแม่ทุกคนเมื่อลูกโตขึ้นหน่อย ก็ต้องพาลูกออกไปไหนมาไหนด้วยกันใช่ไหมคะ
เว็บ Consumer Reports ที่ทำหน้าที่รีวิวและจัดให้คะแนนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้รวบรวมข้อมูลและให้คำแนะนำเรื่องคาร์ซีท ดังนี้ค่ะ
ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า อัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำว่า 12 ขวบขณะอยู่ในรถลดลงถึง 43% จากปี 2002 ถึงปี 2011 ทั้งนี้เพราะเด็ก ๆ มีอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยดี ๆ อย่างคาร์ซีทและบูสเตอร์ซีท
คาร์ซีทในปัจจุบันมีการปรับปรุงพัฒนาความปลอดภัยใน 5 ด้านนี้
-
คาร์ซีทแบบนั่งหันเข้าหาเบาะหลัง
ทำไมต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีทแบบหันหลัง
มีหลักฐานมากมายพิสูจน์แล้วว่า การนั่งคาร์ซีทแบบหันเข้าหาเบาะหลัง (rear-facing) นั้นปลอดภัยกว่าการหันหน้าออก (forward facing) แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำสำคัญข้อนี้เท่าไรนัก
เรื่องสำคัญที่หน่วยงานด้านความปลอดภัยต่าง ๆ เน้นย้ำให้ปฏิบัติตาม คือ วางคาร์ซีทหันเข้าหาเบาะหลังอย่างน้อยจนกว่าลูกจะอายุ 2 ขวบ
-
คาร์ซีทแบบปรับหันได้ทั้ง 2 ทิศ
เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำเรื่องการวางคาร์ซีทแบบหันเข้าหาเบาะหลัง จึงมีผู้คิดค้นและผลิตคาร์ซีทแบบหันได้ 2 ทิศทางขึ้นมา โดยตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นคาร์ซีทตัวที่ 2 หลังจากคาร์ซีทตัวแรกเล็กเกินไปแล้ว
เนื่องจากคาร์ซีทแบบหันหลังส่วนใหญ่มักจำกัดน้ำหนักไม่เกิน 13.6 – 15.9 กิโลกรัม (ช่วงน้ำหนักของเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ) จุดนี้เป็นข้อที่คาร์ซีทแบบหันได้ 2 ทิศจะนำไปพัฒนาต่อยอดได้ เพราะบางประเทศแนะนำให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบหันเข้าหาเบาะหลังจนถึงอายุ 4 ขวบเลยทีเดียว
-
ตัวยึดเบาะ
รู้หรือไม่ มีการจำกัดน้ำหนักสูงสุดที่ตัวยึดด้านล่างเบาะรถสามารถรองรับได้แล้ว เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นถ้าตัวยึดเบาะรับน้ำหนักไม่ไหว
คำนวณดูนะคะ น้ำหนักของเด็กรวมกับคาร์ซีทแล้วจะต้องไม่เกิน 29.5 กิโลกรัมค่ะ
ถ้าเกินจากนี้ ต้องเปลี่ยนไปใช้บูสเตอร์ซีทและคาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับตัวรถแทนค่ะ
-
สายยึดด้านบน
มีผลสำรวจออกมาว่า พ่อแม่ที่ผูกสายยึดด้านบนของคาร์ซีทแบบหันหน้าออกมีจำนวนเพียงแค่ 50% เท่านั้น
คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเช็กดูดี ๆ นะคะว่าผูกสายยึดตรงนี้หนาแน่นหรือยัง
ผลการทดสอบจากหลายที่ยืนยันตรงกันว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุ สายยึดด้านบนจะช่วยรั้งไม่ให้ตัวและหัวของเด็กพุ่งไปข้างหน้า ทำให้ลดโอกาสชนกระแทกกับสิ่งของภายในรถ และชะลอแ
รงเหวี่ยงที่จะทำให้บาดเจ็บบริเวณหัวได้
-
การทดสอบคาร์ซีทแบบใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น เว็บ Consumer Reports จึงปรับปรุงการประเมินความปลอดภัยของคาร์ซีทใหม่ ให้ใกล้เคียงกับการนั่งคาร์ซีทในสภาพแท้จริงภายในรถบนท้องถนน และรูปแบบอุบัติเหตุรถชนที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในปัจจุบัน
การปรุงปรับครั้งนี้ ได้แก่ ทดสอบกับเบาะหลังที่มีความแข็งปกติ ตรวจสอบว่าชนกระแทกกับด้านหลังเบาะหน้าหรือไม่ และปรับอัตราความเร็วที่ใช้ทดสอบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
คะแนนการประเมินแบบใหม่น่าจะสะท้อนความสามารถของคาร์ซีทได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ทำให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้ว่าคาร์ซีทที่เลือกใช้นั้นช่วยป้องกันอันตรายให้ลูกได้จริง ๆ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
ที่มา consumerreports.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คาร์ซีท จำเป็นไหม เราเฉลยให้ที่นี่
8 เรื่องควรรู้ไว้เมื่อใช้คาร์ซีท
วิธีใส่คาร์ซีทที่ถูกต้อง เช็ควิธีที่คุณใส่ที่นั่งบนรถให้ลูกว่าทำถูกหรือไม่
ความสําคัญของคาร์ซีท คาร์ซีทจำเป็นไหม วิธีฝึกลูกนั่งคาร์ซีท ให้ทารก เด็กเล็ก ปลอดภัย
The Asian parent Thailand The Asian parent Thailand the