แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลุ่มมิจฉาชีพที่ใช้กลอุบายหลอกลวงประชาชนผ่านสายโทรศัพท์ กำลังเป็นภัยร้ายที่สร้างความเสียหายและความหวาดกลัวให้กับคนไทยอยู่เสมอ พวกมักใช้วิธีการหลอกลวงที่หลากหลาย พัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้เมื่อที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. ได้ทำการตรวจและยึดเป็นเงินจำนวนหนึ่งหมื่นล้านบาท ล่าสุด นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า จากการที่ตำจรวจและสำนักงาน ปปง. ยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะถูกนำมาเฉลี่ยคืนให้กับประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ขั้นตอนการขอเงินคืนจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
กรณีท่านถูกหลอกโอนเงินโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดย ปปง. ยึดทรัพย์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ มูลค่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ผู้ที่ถูกหลอกจากกรณีที่เข้าข่ายและเป็นผู้เสียหายจากกรณีดังกล่าว ท่านมีสิทธิ์ขอรับเงินคืน! โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบเบื้องต้น
- ตรวจสอบรายชื่อผู้เสียหายและยอดเงินที่ถูกหลอกโอนจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์: https://khumkrongsit.amlo.go.th/
- ตรวจสอบว่าท่านอยู่ในกลุ่มผู้เสียหายที่มีสิทธิ์ขอรับเงินเยียวยาหรือไม่
2. เตรียมเอกสาร
ผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ ปปง. ดำเนินการยึดทรัพย์ไว้ กรณีท่านโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ต้องมีหลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน กรณีโอนเงินผ่านช่องทางอื่น ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการโอนเงินและความเสียหายที่เกิดขึ้น และเอกสารอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หลักฐานการแจ้งความคดีฉ้อโกง
- หลักฐานการโอนเงินให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
- กรณีมีเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม แนบประกอบได้
3. ยื่นคำร้อง
- ส่งจดหมายไปยังสำนักงาน ปปง.
- ส่งอีเมลไปที่สำนักงาน ปปง.
- ไปยื่นด้วยตนเองที่สำนักงาน ปปง.
4. ระยะการดำเนินการ
ปปง. จะส่งเรื่องไปยังอัยการเพื่อส่งต่อศาล กรณีเงินเพียงพอ เหยื่อทุกคนจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน และกรณีเงินไม่พอ เหยื่อจะได้รับเงินคืนตามสัดส่วนที่เสียหายจริง ทั้งนี้ระยะเวลาในการดำเนินการคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี
ที่มา: สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, bangkokbiznews.com
กลยุทธ์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีอะไรบ้าง
1. แอบอ้างเป็นหน่วยงานน่าเชื่อถือ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักจะแอบอ้างเป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสรรพากร บริษัทขนส่ง หรือไปรษณีย์ โดยจะใช้เบอร์โทรที่คล้ายกับเบอร์จริงของหน่วยงาน หรือใช้เทคโนโลยี spoofing เบอร์โทรเพื่อหลอกให้เหยื่อเชื่อ
2. สร้างสถานการณ์ฉุกเฉิน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อกดดันให้เหยื่อตกใจและตัดสินใจผิดพลาด เช่น บัญชีถูกแฮ็ก บัตรเครดิตถูกใช้ผิดกฎหมาย หมายจับค้างอยู่ หรือมีพัสดุผิดกฎหมาย
3. ลิงก์หลอกลวง
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะส่งลิงก์หลอกลวงให้เหยื่อกด โดยอ้างว่าเป็นลิงก์เพื่อตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตน หรือเปลี่ยนรหัสผ่าน เมื่อเหยื่อกดลิงก์จะถูกนำไปยังเว็บไซต์ปลอมที่เหมือนกับเว็บไซต์จริงของหน่วยงาน เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว
4. แรงกดดันทางจิตใจ หรือให้รีบตัดสินใจ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะใช้คำพูดที่กดดัน ข่มขู่ หรือสร้างความหวาดกลัวให้กับเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อยอมโอนเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์จะเร่งรัดให้เหยื่อตัดสินใจโดยไม่ให้มีเวลาคิด โดยอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือเร่งด่วน หรือมีเวลาจำกัด
วิธีป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทางโทรศัพท์
แก๊งคอลเซ็นเตอร์เป็นภัยร้ายที่คุกคามประชาชนอยู่เสมอ พวกมิจฉาชีพมักใช้กลวิธีหลอกลวง เหยื่อด้วยคำพูดที่น่าเชื่อถือ สร้างสถานการณ์ให้ตื่นกลัว หรือเสนอผลประโยชน์ล่อใจ เพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว หรือโอนเงิน ดังนั้น เพื่อป้องกันตนเองจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ควรปฏิบัติดังนี้
ก่อนรับสาย:
- ตรวจสอบเบอร์โทร: ก่อนรับสายทุกครั้ง ให้ตรวจสอบเบอร์โทรว่าเป็นเบอร์ที่คุ้นเคยหรือไม่ หากไม่คุ้นเคย ให้ใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจรับสาย
- ติดตั้งแอปพลิเคชัน Whocall: แอปพลิเคชันนี้สามารถช่วยระบุเบอร์โทรที่ไม่รู้จัก และแจ้งเตือนเบอร์โทรที่เคยมีผู้แจ้งว่าเป็นเบอร์มิจฉาชีพ
หลังรับสาย:
- ตั้งสติ: หากรับสายแล้ว พบว่าปลายสายเป็นมิจฉาชีพ ให้ตั้งสติ อย่าตกใจ และอย่าหลงเชื่อคำพูดของมิจฉาชีพ
- อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว: ไม่ว่ามิจฉาชีพจะอ้างตัวเป็นใครมาจากไหน ห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร รหัส OTP เด็ดขาด
- ตรวจสอบข้อมูล: หากมิจฉาชีพอ้างว่ามาจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ให้ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานนั้นโดยตรง อย่าเชื่อข้อมูลจากมิจฉาชีพเพียงฝ่ายเดียว
- วางสาย: หากมิจฉาชีพยังพยายามพูดคุย ให้วางสายทันที และไม่ต้องโทรกลับไปเด็ดขาด
- แจ้งเจ้าหน้าที่: หากตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ให้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งไปยังศูนย์รับแจ้งความทางอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (https://thaipoliceonline.go.th/)
วิธีป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์รูปแบบอื่น ๆ
- ไม่กดลิงก์หรือไฟล์ที่มาจากเบอร์โทรที่ไม่รู้จัก: มิจฉาชีพมักส่งลิงก์หรือไฟล์ที่ติดตั้งมัลแวร์ เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว ดังนั้น ห้ามกดลิงก์หรือไฟล์ที่มาจากเบอร์โทรที่ไม่รู้จักเด็ดขาด
- ระวังการแอบอ้างเป็นคนรู้จัก: มิจฉาชีพมักแอบอ้างเป็นคนรู้จัก เช่น ญาติ เพื่อน หรือพนักงานธนาคาร เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ดังนั้น ให้ใช้วิจารณญาณก่อนเชื่อ
- หมั่นศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์: การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกลวิธีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะช่วยให้เราสามารถระวังตัวและป้องกันตนเองได้ดียิ่งขึ้น
จำไว้ว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักใช้กลวิธีหลอกลวงที่แยบยล ดังนั้น เราต้องใช้วิจารณญาณ ตั้งสติ และไม่หลงเชื่อคำพูดของมิจฉาชีพเด็ดขาด หากสงสัยอะไร ให้ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ที่มา: krungsri.com, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เช็คด่วน! 12 ผลิตภัณฑ์ นมผงเถื่อน โฆษณาหลอกขายผ่านออนไลน์ อันตรายมาก!
อัปเดตล่าสุด! เงินอุดหนุนบุตร ประจำปี 2567 งวดเดือนมกราคม เริ่มโอนวันไหน?
อัพเดทล่าสุด! บัญชีรายรับ-รายจ่าย ทำเองได้ ง่ายนิดเดียว ผู้ใหญ่ทำได้ เด็กทำดี
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!