ลดพุงใหญ่หลังคลอด 1 ปี เปลี่ยนไปราวกับคนละคน เคล็ดลับลดน้ำหนัก

ปัญหาใหญ่ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ปัญหาหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นการลดน้ำหนักหลังคลอด ที่ดูยากเหลือเกืน ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน จะทำอย่างไร แบ่งเวลายังไง

ลดพุงใหญ่หลังคลอด ทำอย่างไรดี ? ปัญหาของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ อีกปัญหาหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นหน้าท้องที่ขยายใหญ่ ทำอย่างไรก็ลดได้ไม่เท่าก่อนท้องเสียที ช่างยากเหลือเกิน ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน จะทำอย่างไร ไหนจะต้องเลี้ยงลูกอีก สารพัดปัญหารุมเร้า ทำให้ภารกิจพิชิตพุง สลายไขมัน ช่างดูเป็นไปได้อยาก

ยังไม่สายที่คุณแม่จะเริ่มต้นดูแลร่างกาย เอาชนะใจตัวเองให้ได้ พร้อม ๆ กับดูแลลูกน้อยไปด้วย เหมือนกับคุณแม่วัย 30 ปีคนนี้ ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี หุ่นคุณแม่ก็กลับมาสวย เซี๊ยะ เช่นเดิม

เหตุเกิดจากรูปภาพ

สำนักข่าว DailyMail ของอังกฤษบอกเล่าเรื่องราว สุดเริ่ดของ Heather Blair คุณแม่วัย 30 ปี จากเมือง Burton-on-Trent, Staffordshire ประเทศอังกฤษ ที่ลดน้ำหนักลงมา 6.5 สโตน หรือเทียบเป็น ราว ๆ 40 กิโลกรัม โดยใช้เวลา 1 ปี

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท่านนี้ ตัดสินใจที่จะลดน้ำหนักก็คือ เธอดันไปเห็นรูปภาพของเธอตอนปีใหม่เข้า และเกิดอาการรับไม่ได้กับน้ำหนักที่มากเกินไป ของตัวเอง เลยตัดสินใจว่า คงต้องทำอะไรสักอย่างแล้วล่ะ

คุณแม่ชาวอังกฤษที่ค่อย ๆ ใช้เวลา 1 ปีในการลดน้ำหนักลงมาได้ถึง 40 กิโลกรัม ด้วยวิธีการควบคุมอาหาร รับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ การลดน้ำหนักในครั้งนี้ กลายเป็นความภาคภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่ สำหรับเธอ

ทุกคนทำได้ ถ้าใจพร้อม

เธอบอกว่า คุณแม่ทุกคนสามารถทำเรื่องนี้ให้สำเร็จได้ เธอจึงอยากมาบอกเล่าเรื่องราวของเธอ เพื่อให้ทุกคนมีแรงฮึดสู้อีกครั้ง ในช่วงแรก ๆ ของชีวิตคุณแม่ เธอก็แค่เลี้ยงลูกงก ๆ กินง่าย ๆ ไม่ได้ใส่ใจตัวเองมาก เมื่อตัวใหญ่ขึ้น ก็เพิ่มไซส์เสื้อผ้าเอา

โชคดีที่สามีของเธอเข้าใจทุกอย่าง ไม่ว่าเธอจะน้ำหนักขึ้น หรือ มักหงุดหงิด อารมณ์เสีย สามีของเธอก็ยังรักทุกอย่างที่เป็นเธอ นั่นทำให้เธอรู้สึกว่า ตัวเองโชคดีมาก และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เธออยากจะหันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิม

อย่าอดอาหาร มันไม่ดี

เธอบอกว่าการอดอาหารนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย น้ำหนักของเธอเริ่มลงไป ตอนที่เธอมีอาการแพ้ท้อง ทำให้เธอรู้สึกว่า เธอต้องทำได้ และจะไม่ยอมแพ้ คุณแม่วัย 30 คนนี้ บอกว่า สิ่งที่เธอทำก็คือ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ลดโซเดียม น้ำตาล ขนม อาหารฟาสต์ฟู้ด เธอไม่ได้อดอาหาร แต่ใช้วิธีการควบคุมปริมาณให้เหมาะสม และเพียงพอแทน

เธอบอกว่า หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ข้อนี้ แต่การควบคุมอาหาร โดยไม่อดนั้น เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่สำคัญมากในการควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณคุมอาหารได้ คุณก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

เมื่อมองตัวเองในกระจกตอนนี้ คุณแม่คนนี้ก็รู้สึกภูมิใจในตัวเองมาก ๆ และหวังจะเป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่ท่านอื่น หันมาใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น แบบเธอ

ยังไม่สายที่คุณแม่จะเริ่มต้นดูแลร่างกาย เอาชนะใจตัวเองให้ได้ พร้อม ๆ กับดูแลลูกน้อยไปด้วย เหมือนกับคุณแม่วัย 30 ปีคนนี้ ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี หุ่นคุณแม่ก็กลับมาสวย เซี๊ยะ เช่นเดิม

จริง ๆ แล้วเรื่องของการควบคุมน้ำหนัก ควรทำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะคนที่ผอมเกินไปมักเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ลูกที่คลอดออกมามักจะมีน้ำหนักน้อย ในขณะที่การอ้วนเกินไป ก็มีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคที่เกิดก่อนตั้งครรภ์ อย่าง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด และ โรคที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

อีกทั้งคุณแม่ที่น้ำหนักตัวไม่เหมาะสม ยังมีความเสี่ยงที่จะ คลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงต่อภาวะการคลอดบุตรยาก เนื่องจากลูกมีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด และเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

คนท้องน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ?

น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10 - 12 กิโลกรัม

3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจยังเพิ่มขึ้นไม่มาก บางคนอาจจะลดลง เพราะอาการแพ้ท้อง รับประทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป ลูกน้อยในครรภ์จะยังคงเติบโตได้ เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง และยังไม่ได้รับสารอาการผ่านทางคุณแม่ในขณะนี้ ตลอด 3 เดือนแรก น้ำหนักของคุณแม่มักเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัมทำให้ยังดูไม่ออกว่าคุณแม่กำลังมีน้อง

ในช่วง 4 - 6 เดือน น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม ตอนนี้ใคร ๆ ก็พอจะสังเกตได้แล้วว่า คุณแม่เริ่มอ้วนขึ้นเล็กน้อย แต่ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ ในบางรายหากน้ำหนักขึ้นมาก รู้สึกอึดอัด และต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน

จากนั้น 3 เดือนสุดท้าย น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5 - 6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน

ตารางแสดงน้ำหนักตัวที่ควรจะเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมขณะตั้งครรภ์

คุมน้ำหนักตอนท้อง อย่างไรให้อยู่ในเกณฑ์พอดี ?

น้ำหนักระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่ จะเพิ่มมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของคุณแม่เป็นสำคัญ ร่างกายขณะตั้งครรภ์ต้องการแคลอรีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของที่เคยได้รับ ซึ่งอาหารแต่ละหมู่ ก็มีประโยชน์ และความจำเป็นสำหรับคุณแม่ท้องแตกต่างกันไป คุณแม่ควรทานโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว ให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างอวัยวะ และส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารก รับประทานอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลให้น้อยลง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว และขนมหวาน เพราะร่างกายมีความต้องการนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้น้อยลง

ยิ่งคุณแม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จะมีโอกาสอ้วนได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวที่ได้จากน้ำมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เพราะความอ้วนนี้จะบังเกิดกับคุณแม่ แต่ลูกในท้องไม่ได้อ้วนตามไปด้วยอย่างแน่นอน

การดูแลตัวเองหลังคลอด ไปพร้อม ๆ กับการดูแลลูก เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนทำได้ อาจจะต้องหาแรงบันดาลใจ ด้วยการดูรูปเก่า ๆ ของตัวเองสักหน่อย แต่ก็อย่าหักโหมมากไป เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายของคุณแม่ และทำให้หมดแรงในการดูแลลูกน้อยได้

ลดน้ำหนักหลังคลอด ควรทำตอนไหน ?

หากคุณแม่กำลังให้นมลูกอยู่ล่ะก็ การลดน้ำหนักหลังคลอดทันทีอาจจะทำให้การผลิตน้ำนมของร่างกายเกิดปัญหา น้ำนมน้อย  หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกได้ อีกทั้งหลังจากการคลอด คุณแม่ยังต้องเผชิญหน้ากับภาระต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังต้องต่อสู้กับอาการหลังคลอดของคุณแม่ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ การลดน้ำหนักในทันที อาจจะยังไม่เหมาะสมนัก คุณแม่อาจจะต้องใจเย็น ๆ และรออีกสักหน่อย

ประมาณ  6 - 12 เดือนหลังจากคลอด เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะวางแผนเพื่อกลับไปยังน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวลดลงเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวลูก ภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์หลังคลอด ในขณะที่อีกหลายคนอาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือน

ในกรณีที่คุณแม่ให้นมลูก การผลิตน้ำนมนั้น ก็ใช้พลังงานอยู่ไม่น้อย โดยที่ไม่ทันได้สังเกต น้ำหนักตัวของคุณแม่ให้นม ก็จะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ราว 670 กรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นการดีกว่าที่จะลดลงอย่างฮวบฮาบ แล้วส่งผลเสียต่อการให้นมลูก

การดูแลตัวเองหลังคลอด ไปพร้อม ๆ กับการดูแลลูก เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนทำได้ อาจจะต้องหาแรงบันดาลใจ ด้วยการดูรูปเก่า ๆ ของตัวเองสักหน่อย แต่ก็อย่าหักโหมมากไป เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายของคุณแม่ และทำให้หมดแรงในการดูแลลูกน้อยได้

Source : dailymail , medlineplus.gov

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

พุงแต่ละแบบ มีวิธีลดไม่เหมือนกัน พุงคนท้อง ลดยังไง ท่าลดพุงคนท้อง

อาหารลดพุง ลดเอว แบบเร่งด่วน กินอะไรให้ผอม น้ำหนักลงง่ายโดยไม่พึ่งยา!

ผ่าคลอด กี่เดือนท้องยุบ ทำยังไงให้หน้าท้องหลังคลอดยุบเร็ว วิธีลดพุงคนท้อง

บทความโดย

Jitawat Jansuwan