X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มะเร็งสมองเป็นอย่างไร โรคมะเร็งสมองมีวิธีรักษาหรือไม่ น่ากลัวหรือเปล่า

บทความ 5 นาที
มะเร็งสมองเป็นอย่างไร โรคมะเร็งสมองมีวิธีรักษาหรือไม่ น่ากลัวหรือเปล่า

มะเร็งสมอง คืออะไร โรคมะเร็งสมองมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง มีสาเหตุเกิดมาจากอะไร มีวิธีรักษาหรือไม่ ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ มาดูกัน

 

มะเร็งสมองคืออะไร

มะเร็งสมอง คือ โรคที่เกิดขึ้นมาจากเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายบริเวณ และเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื้องอกอาจจะเกิดขึ้นเองที่เนื้อเยื่อสมอง หรือจากการลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ และมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมี หรือประวัติการเกิดโรคมะเร็งของสมาชิกในครอบครัว โรคมะเร็งสมองนั้นส่งผลต่อร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ การพูด ความคิด สติปัญญา ปัญหาด้านการทรงตัว เป็นลม ความทรงจำ การมองเห็น บุคลิกภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

 

มะเร็งสมอง

 

อาการของมะเร็งสมอง

อาการของโรคมะเร็งสมองนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของเนื้องอก โดยอาการที่พบของโรคมะเร็งสมองอาจจะมีสาเหตุ หรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงมาจากความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจจะไม่ใช่มะเร็งสมองก็ได้ คุณไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุไป เพราะถ้าหากว่าเป็นอาการเบื้องต้น หรือมีอาการที่ไม่รุนแรง แต่คุณก็สามารถไปพบแพทย์ได้หากว่ามีข้อสงสัยอื่น ๆ เพิ่มเติม อาการของโรคมะเร็งสมองอาจจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดศีรษะ โดยอาการจะมีความรุนแรงขึ้นในตอนเช้า
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • เป็นลมหมดสติ
  • มีอาการซึม
  • มีอาการชัก
  • มีอาการอ่อนแรง และมีอาการชาที่บริเวณขาและแขน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีปัญหาทางด้านการทรงตัว หรือเดินลำบาก
  • มีปัญหาทางด้านความคิด อารมณ์ หรือสูญเสียความทรงจำ
  • มีปัญหาในการพูด
  • มีปัญหาในการมองเห็น

 

 

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากคุณมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้:

  • อาเจียนต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มองเห็นภาพซ้อนหรือสามารถมองวิสัยทัศน์ได้ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
  • ง่วงหรือง่วงนอนมากขึ้น
  • อาการชักใหม่
  • ปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

สาเหตุของมะเร็งสมอง

มะเร็งสมองนั้น เป็นเนื้องอกที่อันตรายที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ในลักษณะที่มีความผิดปกติ หรือที่เรียกว่า เซลล์มะเร็ง โดยอาศัยเลือดและสารอาหารจากร่างกายไปหล่อเลี้ยง มะเร็งอาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณสมอง หรืออาจจะเกิดจากการที่มะเร็งลุกลาม หรือกระจายมาจากอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น เต้านม ปอด ไต ลำไส้ใหญ่ หรือผิวหนัง เนื้องอกที่มีเซลล์มะเร็งจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเซลล์มะเร็งสามารถที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและทำลายเนื้อเยื่อดีในบริเวณรอบข้างได้ และมีโอกาสสามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้ถึงแม้ว่าจะเคยผ่านการรักษามาแล้วก็ตาม และอาจจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งสมองยังไม่สามารถที่จะบอกสาเหตุการเกิดอย่างแน่ชัดได้ แต่มีเพียงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสมองได้ เช่น

  • มีอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • เป็นโรคมะเร็งส่วนอื่น ๆ ในร่างกายและสามารถแพร่กระจายไปยังสมองได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งไต มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • มีประวัติการเกิดโรคมะเร็งกับคนภายในครอบครัว
  • สูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน
  • การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น ตะกั่ว พลาสติก ยาง น้ำมัน

 

มะเร็งสมอง

การรักษามะเร็งสมอง

ในการรักษาโรคมะเร็งสมอง จำเป็นต้องใช้ทีมแพทย์ที่ประกอบด้วยหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ เช่น นักประสาทวิทยา ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาที่มากกว่าหนึ่งวิธี ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาด และตำแหน่งของเนื้อร้าย รวมไปถึงอายุและปัญหาหรือเงื่อนไขทางการแพทย์อื่น ๆ ของผู้ป่วย แพทย์อาจให้สเตียรอยด์เช่น เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เพื่อลดอาการบวมของสมอง หรือให้ยากันชักในผู้ป่วยบางราย รวมไปถึงวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งสมองดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด เพื่อทำการกำจัดเนื้องอกที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดเซลล์มะเร็ง
  • การรักษาด้วยรังสี (Radiation Therapy) คือการฉายแสงที่มีพลังงานสูงเพื่อทำลาย ลดการขยายตัวและหยุดการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย ใช้ในผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ เช่น เนื้อร้ายอยู่ในตำแหน่งที่บอบบางและยากต่อการผ่าตัด หรือใช้หลังการผ่าตัดที่ยังคงหลงเหลือเซลล์มะเร็งอยู่ การรักษาด้วยรังสีสามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธี เช่น
    • External Radiation คือการฉายรังสีที่มีพลังงานสูงผ่านชั้นผิวหนัง กะโหลก เซลล์สมอง ไปยังตำแหน่งของเนื้อร้าย โดยจะทำประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาไม่นานต่อหนึ่งครั้ง
    • Stereotactic Radiosurgery คือการทำลายเนื้อร้ายโดยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงจากหลายทิศทางด้วยความแม่นยำ โดยทำหลังจากมีการระบุตำแหน่งที่ชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า
  • การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกว่าการทำคีโม คือการใช้ยา อาจเป็นยา 1 ชนิดหรือรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปในการรักษา สามารถให้ได้ทั้งทางเส้นเลือดหรือรับประทาน จะใช้ยาเป็นรอบ ๆ โดยจะเว้นระยะให้ผู้ป่วยได้พักฟื้น และดูการตอบสนองต่อการรักษา การทำเคมีบำบัดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นแผลในปาก เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นต้น

สมองอาจได้รับผลกระทบหรือเกิดความเสียหายจากเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูร่างกายหลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งสมอง สามารถทำได้โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหรือการทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าสมองถูกทำลายจากเซลล์มะเร็ง ทำให้ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพูด การเดิน หรือการปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการฟื้นฟูเพื่อสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  • การฟื้นฟูโดยการรักษาแบบทางเลือก เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ หรือการรับประทานอาหารเสริม เพื่อชดเชยสารอาหารที่สูญเสียไปในระหว่างการรักษา รวมไปถึงการฝังเข็ม หรือการใช้สมุนไพร ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์สำหรับทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดในผู้ป่วยแต่ละราย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมวิธีการป้องกัน ทำอย่างไรให้ไม่ติดโรค?

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) อันตรายที่คร่าชีวิตคนไทยโดยไม่ทันตั้งตัว

การทำบอลลูนหัวใจ ทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหัวใจ ทำอย่างไร?

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
ลูกเป็นผื่น แดง คัน ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวแพ้ง่าย แชร์วิธีรักษาง่ายๆ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยแบบไม่ต้องพึ่งสเตียรอยด์
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส
แม่รู้มั้ย ป้องกันลูกเป็น โรคภูมิแพ้ เริ่มต้นจากบ้านสะอาด อากาศสดชื่น ปราศจากฝุ่น และไวรัส

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kittipong Phakklang

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • มะเร็งสมองเป็นอย่างไร โรคมะเร็งสมองมีวิธีรักษาหรือไม่ น่ากลัวหรือเปล่า
แชร์ :
  • รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

    รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

  • รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

    รู้ทัน โรคกระดูกคอเสื่อม ปวดคอระดับไหนที่ไม่ควรรอ รีบรักษาอย่างเร่งด่วน

  • 5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้
    บทความจากพันธมิตร

    5 ผลเสียของ โปรไบโอติกส์ ที่แม่ท้องต้องรู้

  • หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว