ท้องโตแล้วไม่รู้จะทำอะไรดี!

พอใกล้ครบกำหนดคลอดคุณต้องระวังตัวอย่างมากจนสงสัยว่าแม่ใกล้คลอดทำอะไรได้บ้าง มีกิจกรรมเพื่อคนท้องอะไรบ้างเพราะท้องโตมากแล้วไม่รู้จะทำอะไรดีเพื่อให้ตัวเองไม่เบื่อและกระฉับกระเฉงเหมือนเคย

ท้องโต แล้วไม่รู้จะทำอะไรดี!

คุณเป็นว่าที่คุณแม่คนหนึ่งที่ใกล้ครบกำหนดคลอดและ ท้องโต เบื่อแสนเบื่อเพราะไม่รู้จะทำอะไรดีหรือเปล่าคะ คุณสามารถทำกิจกรรมต่อไปนี้แก้เซ็งก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะลืมตาดูโลกค่ะ

  1. ฝึกจับเวลามดลูกหดรัดตัว
  2. ทำอาหารเข้าช่องแช่แข็งเตรียมไว้
  3. จัดกระเป๋าเตรียมเข้าโรงพยาบาล
  4. วางแผนการคลอด
  5. รวบรวมอีเมลหรือที่อยู่ของญาติมิตรเพื่อแจ้งข่าวดีหลังคลอด
  6. ติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับลูกน้อยในรถให้เรียบร้อย
  7. เขียนจดหมายรักถึงลูก
  8. ใช้เวลาสักวันถ่ายรูปท้องที่ตั้งครรภ์เต็มที่ไว้เป็นที่ระลึก

ถ้าคุณมีกิจกรรมสนุกที่คุณแม่ท้องโตใกล้คลอดสามารถทำแก้เบื่อได้แล้วหละก็ อย่าลืมเล่าสู่กันฟังข้างล่างนี้นะคะ

เมื่อรู้ว่าท้อง ยังก่อน คุณแม่ยังไม่จำเป็นต้องรีบออกไปหาซื้อของใช้เด็กอ่อนเตรียมไว้ หรือรีบประกาศเรื่องการตั้งท้องให้คนอื่นรู้ นอกจากสามีหรือคนในครอบครัว แต่ก็มีบางสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เมื่อกำลังจะมีลูก

12 เรื่องที่ต้องทำ เมื่อรู้ว่าท้อง

#1 พากันไปหาคุณหมอ

ไปพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบการตั้งครรภ์และยืนยันเรื่องการตั้งครรภ์ได้หากคุณแม่ยังไม่แน่ใจตัวเองหรือจากชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งหากพบว่าตั้งท้องคุณหมอจะแนะนำขั้นตอนการฝากครรภ์ เข้าสู่กระบวนการของการมีลูก โดยนัดหมายเพื่อเข้ามาตรวจในแต่ละเดือน และประมาณ 10 สัปดาห์ ก็จะสามารถทำอัลตร้าซาวด์ที่ได้ผลความแม่นยำเป็นอย่างมาก

#2 หยุดและเลิกสูบบุหรี่

เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตนเอง หากคุณแม่สูบบุหรี่หรือปกป้องตัวเองให้ห่างจากควันบุหรี่ในขณะที่กำลังตั้งท้อง เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างแข็งแรง ถ้าหากคุณแม่ต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ก็สามารถติดต่อสายตรงเลิกบุหรี่ของกระทรวงสาธารณะสุขหรือปรึกษากับคุณหมอที่ฝากครรภ์

#3 ให้เริ่มรับประทานโฟลิคและวิตามินD

กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์นั้นบริโภคโฟลิคและวิตามิน ดี เสริมเป็นประจำทุกวัน

#4 เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลง

ในระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้นไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินกว่า 200 มก. ต่อวัน ซึ่งนั่นก็เท่ากับปริมาณกาแฟชงสำเร็จประมาณ 2 แก้ว ลองหันไปดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนอย่างน้ำผลไม้แทนนะคะ

อ่านเพิ่มเติม : แม่ติดกาแฟต้องรู้! คาเฟอีนมีผลอย่างไรต่อลูกในท้อง

#5 หยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ไม่มีใครที่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นต้องดื่มไม่เกินเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย แต่ถ้าจะดื่มมันในช่วงที่ตั้งครรภ์ทางเลือกที่ดีที่สุดคืออย่าไปดื่มมันเลย

#6 หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างในขณะที่ตั้งครรภ์

อาหารบางชนิดนั้นอาจทำให้ตัวคุณแม่เองหรือลูกน้อยในครรภ์เจ็บป่วยได้ ซึ่งรวมไปถึงชีสบางชนิด  เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาดิบ ๆ และไข่ที่ปรุงไม่สุกด้วย

#7 พักผ่อนเพิ่มขึ้น

เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยขึ้นได้อย่างมาก ร่างกายตอนนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งระดับฮอร์โมนรวมถึงการค่อย ๆ การเจริญเติบโตของมนุษย์ตัวน้อย ๆ ในครรภ์ คุณแม่อาจไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องทำงานแบบเต็มเวลา ดังนั้นแล้วให้หาเวลาที่จะพักผ่อนเพิ่มขึ้น

#8 ตัดสินใจว่าจะบอกกับใครบ้างว่าท้องแล้ว

คุณแม่บางคนอาจจะรอผลให้แน่ชัดผ่านการตรวจอัลตร้าซาวด์ครั้งแรกไปแล้ว (ประมาณสัปดาห์ที่ 13) ก่อนที่จะตัดสินใจประกาศให้ทุกคนได้รับรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ซึ่งจะบอกข่าวนี้กับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวก่อนและหัวหน้างาน เพื่อน ๆ ในบริษัท เพื่อให้ทุกคนรู้ถึงข่าวดีและเข้าใจถึงภารกิจของคุณแม่ท้องที่กำลังเริ่มต้นขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : ทำไมแม่ท้องต้องถือเคล็ด ท้องสามเดือน อย่าเพิ่งรีบบอกใคร!

#9 หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์

สมัครสมาชิกรับอีเมลรายสัปดาห์เพื่อคอยติดตามความก้าวของพัฒนาการของลูกน้อยของคุณ หรือติดตามข่าวสาร พัฒนาการของลูกน้อย จากแหล่งข้อมูลในโลกออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ หรือเข้ากลุ่มคนท้อง เพื่อแชร์ประสบการณ์หรือหาคำตอบจากบรรดาแม่ ๆ ทั้งหลาย

#10 คุยเรื่องยากับหมอ

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรว่ามียาใดบ้างที่คุณแม่สามารถรับประทานได้เป็นปกติในขณะที่ตั้งครรภ์ ในตอนที่รู้สึกเจ็บป่วย ปวดหัว หรือมีไข้

#11 ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำในระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้นจะช่วยคุณแม่ได้อย่างมาก ทั้งสุขภาพที่แข็งแรงตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ และส่งผลทำให้คุณแม่คลอดลูกง่าย ลองมองหากีฬาสำหรับคนท้องหรือคลาสออกกำลังกายพิเศษสำหรับคนตั้งครรภ์ เช่น พวกโยคะ การเดิน ว่ายน้ำ หรืออื่น ๆ ดูนะคะ

#12 ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนั้นเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับแม่ท้องเหมือนกันนะ เพราะจะช่วยป้องกันอะไรได้หลายอย่าง เช่น ป้องกันปัญหาปัสสาวะเล็ดทำให้กระเพาะปัสสาวะแข็งแรงในระหว่างและหลังจากการตั้งครรภ์ ป้องกันริดสีดวงทวาร ป้องกันปัญหามดลูกต่ำหรือผนังช่องคลอดหย่อนในอนาคต หากมีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงก็จะช่วยให้คลอดได้ง่ายยิ่งขึ้นและมีปัญหาช่องคลอดฉีกขาดน้อยลง ผู้หญิงที่มีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงจะช่วยควบคุมการเบ่งลูกขณะคลอดได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้การฟื้นตัวหลังคลอดดียิ่งขึ้น

ท้องแก่ใกล้คลอด มีอาการอย่างไร

ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หรือช่วง ท้องแก่ใกล้คลอด นั้น น้ำหนักของแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเจริญเติบโตของลูกน้อย โดยที่แม่ท้องอาจจะมีอาการต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามาจากในช่วงไตรมาสที่ 2 ได้แก่

  • หายใจไม่สะดวก เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่ขึ้นจนไปดันกระบังลม ทำให้พื้นที่ปอดเหลือน้อยลง แม่ท้องจึงเกิดอาการหายใจลำบากได้
  • ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นจากการที่ศีรษะของทารกลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ และอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือเดินเร็ว ๆ
  • เคลื่อนไหวตัวลำบาก มีความอุ้ยอ้ายจากท้องที่ใหญ่และหนักขึ้น โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้จะเพิ่มขึ้นราว ๆ 5 กิโลกรัม
  • กระดูกเชิงกรานที่เริ่มมีการขยายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด จะทำให้แม่ท้องรู้สึกปวดบริเวณข้อสะโพก หรือบริเวณหัวหน่าวเวลาที่เคลื่อนไหวได้
  • มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น จากการนอนหลับไม่ค่อยสนิท เนื่องจากนอนลำบากขึ้น และมีการเจ็บครรภ์เตือนหรือการดิ้นของทารก
  • หน้าท้องขยายทำให้สะดือถูกดันจนราบหรือจุ่น แต่แม่ท้องไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหลังคลอด

อาการต่าง ๆ ข้างต้นที่เกิดขึ้นนั้น เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับแม่ท้องแทบจะทุกคนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์นั้น แนะนำให้แม่ท้องจัดเตรียมกระเป๋าเสื้อผ้า และของใช้ต่าง ๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ จะได้ไม่ฉุกละหุกเมื่อถึงเวลาคลอดจริงครับ

โค้งสุดท้ายแล้วต้องระวังอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย หรือช่วง ท้องแก่ใกล้คลอด นั้น มีอาการที่แม่ท้องต้องระวังดังนี้

  • มีอาการแสบ ขัด หรือมีเลือดปนออกมาเวลาปัสสาวะ
  • ปวดท้องน้อยรุนแรง
  • ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการคันบริเวณช่องคลอด
  • มีไข้สูง
  • ทารกในครรภ์ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้นเลย
  • มีมูกเลือด หรือน้ำเดิน
  • มีอาการเจ็บท้องคลอด มดลูกบีบตัว รู้สึกท้องแข็งเป็นก้อนทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่า มีการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • มีเลือดออกจากช่องคลอด

หากแม่ท้องมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัยต่อทั้งตัวคุณแม่เองและลูกในท้องนะครับ

ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องโตทำอะไรได้บ้าง?

ข้อห้ามเรื่องอาหารสำหรับคนท้องโต

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อใกล้คลอด

บทความโดย

Angoon