ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล หรือ IPD หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า แอดมิท (Admit) นั้น เป็นอีกหนึ่งประเภทของรูปแบบประกันสุขภาพ ที่ตอบโจทย์ใครหลาย ๆ คน ที่กังวลกับภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้จนถึงขั้นต้องนอนเฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาล
หลักประกันสุขภาพคืออะไร ประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย
เพราะแน่นอนว่า การนอนโรงพยาบาลนั้นไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอน และยังจะเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ค่าห้อง ค่าพยาบาล และอื่น ๆ อีกจิปาถะ และเราก็ไม่สามารถควบคุมอาการป่วยของเราไว้ได้ ดังนั้นการทำ ประกันสุขภาพ แบบนอนโรงพยาบาล ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น หากเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น ถึงเวลานั้น คุณคงไม่อยากมานั่งกุมขมับว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่าย หรือต้องควักเงินเก็บของคุณมาจ่ายกับค่าโรงพยาบาลเป็นแน่ค่ะ แล้วประกันแบบไหนที่จะคุ้มค่าที่สุดกันนะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร รุนแรงแค่ไหน ประกันครอบคลุมหรือไม่
ก่อนจะเลือกซื้อประกันต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
ตารางค่าห้องในการรักษาของแต่ละโรงพยาบาล
1. สวัสดิการพื้นฐาน
ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่างานที่เราทำอยู่นั้น มีหลักประกันสุขภาพ มีสวัสดิการพื้นฐานอะไรให้กับเราบ้าง ซึ่งหากคุณรับราชการอยู่ คุณก็จะได้สิทธิ์คุ้มครองการรักษาที่สามารถเบิกจ่ายได้เมื่อคุณเกิดป่วย และต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งนี้ ก็ยังรวมถึงสวัสดิการที่ครอบคลุมถึงคนในครอบครัว หากคุณมีสิทธิ์เหล่านี้อยู่ การมองหาประกันแบบนี้ อาจจะไม่จำเป็นสำหรับคุณ
แต่ถ้าคุณไม่ได้รับราชการล่ะ คุณก็ต้องดูว่าสวัสดิการขององค์กร หรืองานที่คุณทำอยู่นั้น มีสวัสดิการพื้นฐานเรื่องการรักษาพยาบาล และคุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยในหรือไม่
2. สำรวจโรงพยาบาลที่คุณมักจะเข้าไปใช้บริการ
โดยมากเมื่อคุณเจ็บป่วยคุณมักจะไปใช้บริการที่ไหนเป็นหลัก หลักประกันสุขภาพคือสิ่งสำคัญในการซื้อประกัน คุณก็จะสามารถสำรวจค่าใช้จ่ายหากเกิดกรณีที่จะต้องเข้าเป็นผู้ป่วยใน เพื่อประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้น หากคุณบอกว่าคุณมักจะใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน มากกว่าโรงพยาบาลในเครือของรัฐบาลฯ การเลือกดูความคุ้มครอง ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของคุณได้เยอะขึ้นค่ะ
3. เลือกรูปแบบความคุ้มครอง
ปัจจุบันมีบริษัทประกันชีวิตเกิดขึ้นมากมาย และสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่ง ก็ยังผันตัวมาเป็นตัวแทนประกันทั้งสุขภาพ และประกันชีวิต ทำให้ผลประโยชน์นั้น ตกอยู่ที่ผู้บริโภค เพราะนอกจากจะมีหลาย ๆ บริษัทให้เราได้เลือกแล้ว เรายังสามารถเลือกรูปแบบความคุ้มครองได้หลากหลายขึ้นอีกด้วย
การเลือกความคุ้มครองต้องดูประกอบกับลักษณะอาชีพที่คุณทำอยู่ ค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่คุณไปใช้บริการอยู่เป็นประจำ และที่สำคัญคือไม่จำเป็นจะต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วเคลมคืนทีหลัง
4. เลือกบริษัท และตัวแทนที่คุณมั่นใจ
เดิมทีเราอาจจะต้องอ้างอิงตัวแทนเป็นหลัก เพราะตัวแทนจะเป็นผู้ดำเนินการให้เราในทุก ๆ เรื่อง ทั้งการเคลมประกัน และการดำเนินการเอกสารต่าง ๆ แต่ปัจจุบัน เราสามารถจัดการเองได้สะดวกสบาย เพียงแค่ยื่นบัตรให้กับทางโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลก็จะสามารถเช็คสิทธิประกันของเราได้ทันที
5. ทำสัญญาประกัน
ปัจจุบัน เราสามารถสมัครทำสัญญาประกันสุขภาพผ่านทางออนไลน์ได้ แต่สำหรับบางเคสเราอาจจำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทนั้น ๆ เป็นหลัก หลังจากนั้นก็รอทางบริษัทดำเนินการเข้าสู่การคุ้มครอง แค่นี้ก็ใช้สิทธิ์กันได้แล้วค่ะ
6. รับเล่มกรมธรรม์แล้วตรวจสอบข้อมูล เงื่อนไข ข้อยกเว้น
เมื่อได้รับสัญญากรมธรรม์มาแล้ว ให้อ่านศึกษาข้อมูล เงื่อนไข และข้อยกเว้นให้เรียบร้อย เพื่อความเข้าใจ หากติดขัดข้อไหน ให้สอบถามกับตัวแทน หรือโทรเข้าฮอตไลน์ของบริษัทประกันนั้น ๆ ทันที
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ประกันลูกน้อย ประกันสุขภาพเด็ก คุ้มครองสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย
อาจจะต้องนอนก่ายหน้าผาก หากคุณไม่มีประกันสุขภาพคุ้มครอง
การทำประกันสุขภาพ OPD และ IPD ต่างกันอย่างไร?
เดิมทีการทำการประกันสุขภาพมักจะถูกแยกระหว่างผู้ป่วยนอก คือ OPD ที่จะเน้นค่ารักษาพยาบาล และค่ายาเป็นหลัก แต่จะไม่รวมความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง กรณีที่ต้องแอดมิท หรือ IPD นั่นเอง
แต่หลาย ๆ บริษัทประกันฯ ก็ได้เปิดสัญญาประกันสุขภาพแบบควบคู่ขึ้นมา เนื่องจากปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบ IPD มีมูลค่าสูงขึ้น การทำประกันสุขภาพจึงมีส่วนช่วยในการลดหย่อนค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้เป็นอย่างมาก รวมถึงหลายบริษัท เพิ่มในส่วนของค่าชดเชยในการสูญเสียรายได้ในขณะที่ทำการรักษาเพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย ดังนั้น การมีประกันสุขภาพชนิด IPD ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณได้มากทีเดียว
ค่าใช้จ่ายในการทำประกัน IPD
ปัจจุบันมีหลากหลายบริษัทให้ได้เลือกทำประกันที่คุ้มครองทั้ง IPD และ OPD ในกรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งมีประโยชน์กับผู้บริโภคอย่างมาก โดยเบี้ยประกันเริ่มต้นที่ 9,000 บาทขึ้นไป ต่อปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
- อัตราค่าห้องพยาบาล (ICU)
- อัตราค่าห้อง
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าตรวจโรค
- ค่าแพทย์
- ค่าชดเชยรายได้ที่สูญเสียต่อวัน
หากในกรมธรรม์นั้น ๆ มี OPD หรือผู้ป่วยนอกควบคู่ด้วย ให้ดูเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งเข้าไปด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : วิธีเลือกประกันสุขภาพ ให้ครอบครัว 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
ทางโรงพยาบาลมักจะสอบถามถึงประกันที่คุณมีเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายให้ก่อนเสมอ
มีประกันสังคมแล้วจำเป็นจะต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ประกันสังคม และเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ คุณก็สามารถยื่นบัตรประกันสังคม ร่วมกับบัตรประกันสุขภาพควบคู่กันไปได้เลยค่ะ
โดยบัตรประกันสังคม จะช่วยจ่ายส่วนต่างที่เกินออกมาจากประกันสุขภาพให้คุณทันที เช่น ค่าห้องพยาบาลต่อวัน ทางบริษัทประกันจ่ายให้ 1,000 บาท แต่ค่าห้องอยู่ที่ 1,200 บาท 200 บาทที่เกินออกมา ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางประกันสังคมจะรับผิดชอบแทน ทำให้คุณไม่จำเป็นจะต้องจ่ายเงินเพิ่มค่ะ
เพียงแค่นี้ ก็เริ่มเห็นความสำคัญของการทำประกันสุขภาพกันแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นคุณสามารถเลือกหากรมธรรม์ที่คุณคิดว่าตอบโจทย์ และไม่เป็นภาระเวลาจ่ายค่ากรมธรรม์ ก็จะทำให้ ชีวิตของคุณจะรู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉิน แต่การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ์ที่สุดค่ะ ขอให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงทุกคนนะคะ
ที่มา : scb
บทความประกอบ:
ประกันโรคร้ายแรง ที่ไหนดี เปรียบเทียบประกันแต่ละชนิด แบบไหนโดนใจสุด
วิธีเลือกประกันสุขภาพ ให้ครอบครัว 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เป็นอย่างไร ได้อะไรบ้าง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!