ลูกนอนกระตุก ทารกนอนหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

ลูกแรกเกิดถึงช่วงอายุประมาณ 6 เดือน มีอาการกระตุกของแขน ขา ขณะนอนหลับ ลูกนอนกระตุก เป็นเพราะอะไร อันตรายไหม ต้องหาหมอหรือไม่

คุณพ่อ คุณแม่ อาจสังเกต ว่า ลูกน้อยวัยทารก โดยเฉพาะ วัยแรกเกิดถึง 6 เดือน บางครั้ง มีอาการกระตุกของ แขน ขา ขณะนอนหลับ ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร  เป็นความผิดปกติ หรือ ไม่ วันนี้เราจะมาคุยกัน ในเรื่อง ลูกนอนกระตุก อาการกระตุก แขน ขา ขณะหลับของทารก ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะปกติ ที่พบได้บ่อยของทารก กันดีกว่าค่ะ

ลูกนอนกระตุก-01

อาการกระตุกของ แขน ขา ขณะหลับของทารก มีลักษณะอย่างไร?

อาการกระตุกของ แขน ขาทารก ที่มาเริ่มมีอาการตั้งแต่วัยแรกเกิด เรียกว่า Benign sleep myoclonus เป็นภาวะอาการที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน โดยทารก จะมีการกระตุกของ แขน ขา ขณะหลับเกิดขึ้น 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ โดยเริ่มจากข้างหนึ่ง ไปยังอีกข้างหนึ่ง อาการเกิดขึ้นเอง ระหว่างที่ทารกนอนหลับ และ หายไปได้เอง โดยจะสามารถหายไปได้ทันทีเมื่อทารกตื่นนอน

ทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ทารก มีความผิดปกติของระบบประสาท หรือ ความผิดปกติของการนอนหลับ หรือ การใช้ยาที่ทำให้เกิด อาการกระตุก ได้แต่อย่างใด อายุที่พบอาการนี้บ่อย คือ ในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือน โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนแรกของชีวิต ในทารกที่ไม่มีความผิดปกติของร่างกาย

ลูกนอนกระตุก-02

คุณหมอจะวินิจฉัย อาการกระตุกของแขน ขา ขณะหลับของทารกอย่างไร?

คุณหมอสามารถวินิจฉัยอาการนี้ ได้จากประวัติของผู้ป่วย และ การตรวจร่างกาย ซึ่งถ้าคุณพ่อ คุณแม่ สังเกตว่าลูกน้อยวัยทารก มีอาการกระตุกของ แขน ขา ขณะนอนหลับ และ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากภาวะนี้ หรือ เป็นอาการชัก หรือ มีความผิดปกติของสมอง และ กล้ามเนื้อ หรือ ไม่ ก็สามารถถ่ายคลิปวีดีโอ ที่แสดงให้เห็นถึงอาการของลูก มาให้คุณหมอดู เพื่อพิจารณาประกอบ กับประวัติ และ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยเฉพาะการตรวจร่างกาย ในระบบประสาทได้ค่ะ เนื่องจากบางครั้ง เมื่อมาพบแพทย์ ลูกอาจจะไม่ได้หลับ จึงไม่เกิดอาการขึ้น คุณหมอจึงไม่สามารถเห็นอาการ และ ให้การวินิจฉัยอย่างแน่ชัดได้

ทั้งนี้คุณหมอจะวินิจฉัยแยกโรค กับภาวะที่เป็นการกระตุกของแขนขา จะอาการชัก หรือ การติดเชื้อในระบบประสาท หรือ เลือดออกในสมอง จากการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีซึ่งหากต้องการแยกกันได้ไม่ชัดเจน คุณหมออาจพิจารณา ส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจคลื่นสมอง หรือ ตรวจสมองด้วยเครื่องสร้างภาพ ด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) ต่อไปค่ะ

ลูกนอนกระตุก-03

การรักษาอาการกระตุกของ แขน ขา ขณะหลับของทารกทำได้อย่างไร?

เนื่องจากอาการนี้ ไม่ได้เป็นความผิดปกติของร่างกาย จึงไม่ได้จำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยยา แต่คุณพ่อ คุณแม่ ควรติดตามอาการ กับกุมารแพทย์ โดยเข้ารับการตรวจร่างกาย เมื่อมารับวัคซีนตามปกติของช่วงวัยทารก

ไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชัก ในการรักษาอาการนี้ เพราะยาจะทำให้ง่วงหลับมากขึ้น อาการก็จะเป็นมากขึ้นกว่าเดิมได้

การพยากรณ์โรคของอาการกระตุกของ แขน ขา ขณะหลับของทารกเป็นอย่างไร?

การพยากรณ์โรคของอาการนี้ดีมาก ไม่มีผลกระทบต่อพัฒนาการ และ การเจริญเติบโตของทารก ในระยะยาว และ ไม่มีผลต่อระบบประสาทของเด็ก ส่วนมากเมื่อเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน หรือ ผ่านพ้นวัยทารกไปเรียบร้อยแล้ว อาการก็มักจะหายไปได้เอง คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลใจค่ะ

the Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

baby.kapook.com

ลูกควรนอนนานแค่ไหน? ลูกนอนนานแค่ไหนถึงจะดีกับร่างกาย ปลอดภัย

6 เคล็ดลับพา ลูกเข้านอน ลูกนอนหลับยาก แก้ปัญหายังไง?

ลูกนอนหายใจทางปาก ทารกชอบนอนอ้าปาก หายใจทางปากอันตรายไหม ลูกป่วยหรือเปล่า