X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เปิดใจแม่ เมื่อลูกชายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อกระตุก (ติ๊ก)

บทความ 5 นาที
เปิดใจแม่ เมื่อลูกชายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อกระตุก (ติ๊ก)

โรคติ๊ก (Tic) คืออะไร ทำไมลูกชายถึงเป็นได้ และอีกนานไหมกว่าจะหาย และทำไมเด็กถึงเป็นกันเยอะ อีกโรคหนึ่งที่อยากให้พ่อแม่ทุกคนทำความรู้จัก โดยเล่าผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เขียนเอง

“ก่อนหน้าที่ลูกชายจะมีกิริยาแปลก ๆ แบบนี้ เขาเคยขยิบตาถี่ ๆ มาก่อน แล้วเขาก็หายไปได้เอง กลับมาคราวนี้มันดูรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะลูกเริ่มทำคอกระตุกไปมา จนกระทั่งต้องพาไปหาหมอ ๆ บอกว่า ลูกชายเป็น “โรคติ๊ก” (Tic)

 

โรคติ๊ก

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวลูกของผู้เขียนเอง โดยลูกชายวัยเพียงสี่ขวบกว่าจู่ ๆ ก็มีกิริยาแปลก ๆ ที่ชอบทำคอกระตุกสะบัดไปมา เริ่มจากนาน ๆ ทำที ตอนนี้กลับดูทำถี่และรุนแรงมากขึ้น ดิฉันและคุณแม่ไม่นิ่งนอนใจ รีบลางานพาลูกชายไปพบคุณหมอโดยทันที คุณหมอท่านแรกแนะนำให้ไปพบกับหมอคนที่สอง ซึ่งเป็นคุณหมอด้านการพัฒนาสมอง คุณหมอท่านนี้ดูไม่แปลกใจเลยกับพฤติกรรมของลูกชายดิฉัน

“คุณแม่คะ ที่น้องกำลังเป็นอยู่นี้ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “โรคติ๊ก (Tic)” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากกับเด็กในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กในเมือง และจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงค่ะ” คุณหมอกล่าว

อะไรคือโรคติ๊ก?!? มันดูรุนแรงมากไหม แล้วทำไมลูกชายฉันถึงเป็น อันตรายมากไหม แล้วอีกนานไหมกว่าจะหาย?!? ในหัวมีแต่คำถามที่เต็มไปด้วยความไม่สบายใจ เพราะทุกครั้งที่ลูกกระตุก ใจของดิฉันนั้นรู้สึกเจ็บ ด้วยความที่ไม่อยากให้ลูกดูแปลกประหลาดในสายตาของคนอื่น และไม่อยากให้ลูกโดนคนอื่นล้อ ดิฉันจึงแอบร้องไห้ทุกครั้งเวลาที่อยู่คนเดียว แม้ว่าโรคนี้อาจไม่ใช่โรคที่อันตรายในสายตาของคนอื่น ๆ แต่แน่นอนว่าพ่อแม่ทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกเป็นแน่

Advertisement

คุณหมอถามว่า “ที่บ้านมีใครเป็นโรคนี้หรือไม่คะ หรือที่โรงเรียนมีไหม คุณแม่ต้องลองถามครูดูนะคะ เพราะโรคนี้นอกจากจะเกิดจากทางพันธุกรรม ความเครียดและความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองแล้ว ยังเกิดจากการลอกเลียนแบบอีกด้วยค่ะ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป สิ่งที่คุณแม่และคนที่บ้านรวมถึงที่โรงเรียนควรจะต้องทำก็คือ  อย่าทัก อย่าไปห้ามว่า อย่าทำแบบนี้สิ หยุดทำได้แล้ว สิ่งที่คุณแม่ควรทำก็คือเพิกเฉยกับพฤติกรรมดังกล่าว และหากิจกรรมอย่างอื่นให้ลูกทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ นอกจากนั้น ก็อาจจะพูดและชมลูกเวลาที่เขาไม่ได้ทำ พร้อมกับให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกค่ะ เพราะเด็กจะยิ่งทำมากขึ้น เมื่อมีคนห้ามหรือสนใจ และโรคนี้ก็สามารถหายไปได้เอง แต่อาจจะต้องใช้เวลาสองถึงสามเดือนค่ะ”

“สองถึงสามเดือนเลยเหรอ!? ถ้าเลือกได้ฉันอยากที่จะเป็นเองแล้วให้ลูกหายเสียตอนนี้เลยดีกว่า” ซึ่งตอนนี้ดิฉันและคุณแม่ต่างต้องทำการบ้านกันอย่างหนัก เพื่อหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจของลูก ไม่ว่าจะเป็นดนตรีบำบัด ศิลปะ รวมถึงการออกกำลังกาย แม้ว่าหมอจะบอกว่าโรคนี้ไม่อันตราย แต่ก็ไม่อาจหยุดความทุกข์และความเสียใจที่เห็นลูกเป็นแบบนี้ได้ แต่ดิฉันโชคดีที่ได้กำลังใจที่ดีจากพ่อแม่และเพื่อนรอบข้าง ที่สำคัญจากลูกชายตัวน้อย ๆ ของฉันเอง ฉันเชื่อว่า เขาก็คงไม่อยากที่จะเป็นแบบนี้ เพียงแต่เขาก็ไม่สามารถควบคุมมันได้ เขาพยายามควบคุมอาการนี้ด้วยการเอามือกุมหัว นอนราบไปกับพื้น หรือพิงอะไรสักอย่าง เพื่อคุมมัน เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกชายกับตัวเอง ดิฉันจะพูดกับลูกเสมอว่า “หนูจะต้องหายและเราจะต่อสู้ไปด้วยกัน”

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคติ๊ก สามารถหาคำตอบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

โรคติ๊ก

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหลานเป็น โรคติ๊ก

โรคติ๊กนั้น เกิดจากการกระตุกรัว ๆ ของกล้ามเนื้อมัดย่อยที่บริเวณหน้า คอ ไหล่ ยกตัวอย่างเช่น ขยิบตา กระตุกมุมปาก ยักไหล่ สะบัดคอ เปล่งเสียงแปลก ๆ หรือทำเสียงกระแอม เสียงฟุตฟิตทางจมูก คล้ายกับเสียงสะอึก

ซึ่งอาการนี้จะเกิดซ้ำ ๆ กันต่อเนื่องอยู่เป็นอาทิตย์ เดือน หรือเป็นปี ทำให้ดูเหมือนเด็กทำกิริยาแปลก ๆ ซึ่งโดยอาการที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นบ่อยมากชั่วโมงละหลาย ๆ ครั้ง หรือเด็กบางคนเป็นแทบทุกนาที

โรค Tic นั้น มีลักษณะที่แปลกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ คนที่เป็นนั้นจะสามารถบังคับหักห้ามอาการได้ระยะหนึ่ง แต่ก็จะเป็นช่วงเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น พอเผลอก็จะกลับมากระตุกอีก ซึ่งอาการนี้มักจะทำให้พ่อแม่และคนรอบข้างยิ่งไม่เข้าใจว่า เด็กคุมอาการนี้ได้แต่ไม่ยอมคุม เหมือนกับแกล้งทำให้มากขึ้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เด็กเองก็งงและสับสนในตัวเองเหมือนกัน เพราะพวกเขาไม่ได้ตั้งใจทำ และไม่รู้ที่จะหยุดมันอย่างไร

โรคติ๊ก นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับแบ่งตามระดับความรุนแรง คือ

  1. โรคติ๊กแบบชั่วคราว ซึ่งถือเป็นระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะพบตั้งแต่วัยอนุบาลหรือประถมต้น ซึ่งจะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 7-11 ปี จะมีอาการเป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน แล้วจะหายได้เอง แต่อาจจะกลับมาเป็นอีกได้ อาการเมื่อกลับเป็นซ้ำอาจจะเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น ครั้งแรกมีอาการขยิบตา พอเป็นครั้งที่สองเปลี่ยนเป็นกระตุกมุมปาก เป็นต้น
  2. โรคติ๊กแบบเรื้อรัง อาการจะเป็นเหมือนชนิดชั่วคราว แต่จะเป็นติดต่อกันนานเกิน 1 ปี ไม่หายไปง่าย ๆ บางคนเป็นจนโตหรือเป็นตลอดชีวิต
  3. โรคทูเรทท์ เป็นติกส์ระดับรุนแรงที่สุด เด็กที่เป็นโรคทูเรทท์ นอกจากจะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ แล้ว จะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ด้วย เช่น ที่แขน หลัง ท้อง จนดูเหมือนเคลื่อนไหวแปลก ๆ เช่น สะดุ้งทั้งตัว สะบัดแขน ตีปีก ขว้างของ บริเวณที่กระตุกจะย้ายไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เริ่มเป็นที่ไหล่ ย้ายไปแขนขวา แล้วย้ายไปที่หลัง เป็นต้น นอกจากอาการกระตุกของกล้ามเนื้อแล้ว โรคทูเรทท์จะยังมีอาการเปล่งเสียงร่วมด้วย อาการทั้งหมดจะเป็นนานเหมือนกับติกส์ชนิดเรื้อรัง (เกิน 1 ปี)

ดูแลลูกอย่างไรเมื่อเป็น โรค Tic

  1. พาไปพบกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็ก เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยก่อน ว่าเด็กมีปัญหาอื่นเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งเด็กบางคนก็เป็นภูมิแพ้ที่ตา หรือโรคแพ้อากาศ ทำให้มีอาการคันและขยิบตาหรือย่นจมูกคล้ายติ๊กก็เป็นได้
  2. หากเด็กเพิ่งเริ่มมีอาการ แพทย์จะยังไม่ให้ยารักษา แต่จะให้คำแนะนำเพื่อให้พ่อแม่เข้าใจและสังเกตอาการไปก่อน ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือน นั่นเป็นเพราะลูกอาจจะเป็นติ๊กชั่วคราวและหายเองได้
  3. หากพ่อแม่เข้าใจกับโรคนี้แล้ว ก็จะต้องไม่ดุว่า ไม่จับผิดหรือเพ่งเล็ง เมื่อเด็กมีอาการให้ทำเป็นไม่สนใจ เพื่อให้เด็กไม่เครียด ไม่อาย และต้องคอยปกป้องเด็กจากการถูกล้อเลียนจากเด็กคนอื่น หรือผู้ใหญ่ที่ไม่เข้าใจ และคอยปลอบใจเด็กว่า รออีกสักพักมันก็จะหายไปเองได้

ดิฉันหวังว่าเรื่องราวนี้คงสามารถเป็นประโยชน์ที่ดีกับคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ “อย่าลืมที่จะหมั่นสังเกตพฤติกรรมหรือกิริยาของลูกนะคะ เพราะแม้แต่อาการเพียงเล็กน้อย ก็อาจสื่อให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างก็เป็นได้”

อ้างอิงเนื้อหาจาก กระปุกดอทคอม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกศรีษะโตผิดปกติหรือไม่ ?

สังเกตเด็กขาโก่ง แบบไหนปกติ? แบบไหนผิดปกติ?

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เปิดใจแม่ เมื่อลูกชายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อกระตุก (ติ๊ก)
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว