ข้อดีของการ จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ใช่แค่หัวทุยสวย แต่ยังมีประโยชน์อื่นอีก !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การฝึก จับลูกนอนคว่ำ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภารกิจสุดท้าทายสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะการฝึกให้ลูกนอนคว่ำ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยพัฒนาการด้านร่างกายของทารก 1-2 เดือน เนื่องจากกระดูกและกล้ามเนื้อคอของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง จึงไม่สามารถยกคอและศีรษะขึ้นได้นาน ซึ่งในช่วงแรก ๆ อาจจะยากสำหรับลูกและพ่อแม่ แต่ถ้าหากช่วยกันฝึกแล้ว รับรองว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

 

ข้อดีของการนอนคว่ำ

ในเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ควรให้ลูกนอนหงายตามที่ American Academy of Pediatrics แนะนำเพื่อป้องกันโรค SIDS หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็ก ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กนอนคว่ำ ดังนั้น เราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของทารกที่พ่อแม่จับให้นอนคว่ำอยู่ตลอดเวลา แต่รู้หรือไม่ว่าการ จับลูกนอนคว่ำ ก็ยังมีข้อดีหลายประการ วันนี้เราได้รวบรวมมาให้คุณแล้ว ดังนี้

  • ปอดทำงานได้ดี เนื่องจากไม่ถูกหัวใจกดทับ เมื่อปอดขยายตัวได้ดีเวลาลูกหายใจ ก็ส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีกว่า
  • กระเพาะอาหารทำงานได้ดี สำหรับในเด็กเล็ก ที่มีหูรูดรอยต่อของกระเพาะอาหารกับหลอดอาหารยังทำงานได้ไม่ดีนัก หากลูกแหวะนมในท่านอนคว่ำจะปลอดภัยกว่าท่านอนหงาย ซึ่งนมอาจย้อนเข้าหลอดลมทำให้เกิดอาการสำลักได้
  • ป้องกันการผวา หรือสะดุ้งตื่น หลับไม่สนิทในเด็กทารก เมื่อจับลูกนอนคว่ำ ลูกก็จะนอนหลับได้เป็นเวลานานขึ้นกว่าเดิม
  • ป้องกันลูกหัวแบน จากการนอนหงายค้นพบว่าจะทำให้ลูกโตขึ้นมาแล้วหัวแบนแต่ การนอนคว่ำจะส่งผลทำให้ลูกหัวทุยสวย

จากข้อดีข้างต้น ทำให้พ่อแม่จำนวนไม่น้อยเลือกที่จะให้ลูกนอนหลับในท่านอนคว่ำ โดยมีความคิดว่า ลูกน้อยของเราไม่น่าจะเป็นอะไร แต่ก็เคยมีเหตุการณ์ SIDS เกิดขึ้นมาแล้วกับเด็กที่นอนคว่ำ แม้จะเป็นการทำเพียงครั้งแรก หรือ ครั้งเดียวก็ตาม ซึ่งสิ่งที่เราอยากจะแนะนำ คือ การจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นเพื่อให้ลูกได้อยู่ในสายตาของผู้ปกครองตลอดเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง : การนอนหลับผิดปกติ ของลูกน้อย แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ?

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

จับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นดีอย่างไร

การจับลูกนอนคว่ำ ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกวัย 0-6 เดือนได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างทารกนอนหงายในระหว่างวัน กับทารกนอนคว่ำในระหว่างวัน โดยข้อมูลจากสถาบัน Paediatric Chartered Physiotherapists (APCP) พบว่า ทารกที่นอนคว่ำในระหว่างวันจะมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกที่นอนหงายในระหว่างวัน คือ สามารถพลิกตัว คลาน นั่ง ลุก ยืน และเดินได้เร็วกว่า เนื่องจาก การนอนคว่ำจะช่วยส่งผลให้ทารกเกิดการเรียนรู้ที่จะใช้กล้ามเนื้อส่วนคอ แขน ขา และลำตัวในการเคลื่อนไหว รวมทั้งสามารถควบคุมท่วงท่าต่าง ๆ ได้อย่างสมดุลมากยิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจได้แนะนำถึงประโยชน์ของการจับลูกนอนคว่ำ ในขณะที่ลูกตื่นไว้ว่า ดังนี้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกลูกนอนคว่ำ คือ ทารกจะฝึกยกคอขึ้นจากพื้น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอและกล้ามเนื้อหลังส่วนบน ถ้าลูกยกคอได้ดี จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค SIDS เพราะลูกสามารถหันคอหนีไปจากสิ่งที่ขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนคว่ำช่วยส่งเสริมพัฒนาการ เพราะว่าถ้ากล้ามเนื้อคอแข็งแรง จะทำให้ลูกพลิกคว่ำได้เร็ว นำไปสู่การนั่งเองได้ และการคลานเป็นอันดับต่อไป ดังนั้น หากลูกต้องการการเรียนรู้วิธีควบคุมการทรงตัวของศีรษะให้นิ่ง รวมถึงความสามารถในการหันศีรษะไปตามทิศทางที่ต้องการ เมื่อมีสิ่งเร้ามาดึงดูดความสนใจ โดยจะต้องมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอที่จะประคองศีรษะให้นิ่ง ขณะที่มีการเคลื่อนที่ของศีรษะ

 

ข้อควรรู้ก่อน จับลูกนอนคว่ำ

  • ตำแหน่งที่วางลูกควรเป็นพื้นราบอยู่ที่ต่ำ เพื่อป้องกันการตกจากที่สูง
  • ไม่มีสิ่งของนุ่มนิ่มอยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาจอุดทางเดินหายใจของลูกได้
  • ฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งประมาณ 5-10 นาที บางคนอาจเริ่มจากวันละครั้ง ถ้าลูกไม่ร้องไห้ ให้อยู่ท่านั้นไปได้นานเท่าที่ลูกยอม ซึ่งอาจเป็นเพียง 15 วินาที หรือ นาน 15 นาที ถ้าลูกร้องไห้ ให้อุ้มขึ้นได้เลย
  • ทารกบางคนร้องไห้เพราะยังไม่ชิน และยังมีกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง ยกศีรษะไม่พ้น จึงหงุดหงิดที่ตัวเองทำไม่ได้ วิธีแก้ไข คือ ให้ฝึกบ่อย ๆ ลูกจะทำได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ และเริ่มสนุกกับการอยู่ในท่านี้ได้ในที่สุด
  • อย่าจับนอนคว่ำภายใน 1 ชม.หลังกินข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนง่าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีฝึกลูกให้สนุกกับการนอนคว่ำ

  • จัดให้ลูกนอนคว่ำบนตัวพ่อแม่ หรือ วางนอนคว่ำพาดขวางบนตัก
  • พ่อแม่นอนคว่ำด้วย หันหน้าเข้าหาลูก เอาของเล่นสีสันสดใสหรือกรุ๊งกริ๊งมาล่อหลอก
  • พ่อแม่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าตัวลูก ส่งเสียงพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง เพื่อให้ลูกพยายามเงยหน้าขึ้นมามองพ่อแม่
  • จัดลูกนอนคว่ำอยู่หน้ากระจก เพื่อให้ลูกเห็น และเล่นกับภาพตัวเองในกระจก
  • ทันทีที่ลูกเริ่มหงุดหงิด ให้จัดเป็นท่านอนหงาย แล้วเล่นเป่าปากที่พุงของลูก 2-3 ครั้งให้ลูกอารมณ์ดี แล้วเปลี่ยนเป็นท่านอนคว่ำ เป่าที่หลังแบบเดียวกัน มักเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจที่ได้ผลสำเร็จแทบทุกครั้ง

 

การฝึกให้ลูกนอนคว่ำในขณะตื่น ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ ควรฝึกและช่วยให้ลูกทำได้สำเร็จ เพื่อส่งเสริมให้ลูกได้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ตามวัย รวมทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้กับตัวลูกได้อีกด้วย ทั้งนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรฝึกด้วยความระมัดระวัง ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อลูกน้อยของเรา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกนอนเยอะเกินไป ลูกน้อยวัยทารกนอนมากเกินไปรึเปล่า ? มีด้วยหรือ ?

คัมภีร์การนอนของทารกวัย 6 สัปดาห์ถึง 6 เดือน

ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

ที่มาข้อมูล : happymom,  PampersHealthline