น้องหนูคุยกับสุนัข น่ารักจัง
หลาย ๆ คนที่กำลังจะมีลูกน้อยและกำลังเลี้ยงสุนัขไว้ในบ้านด้วยละก็ ไม่ต้องตกใจหรือรีบยกน้องหมาสุดที่รักให้คนอื่นนะครับ เพราะเด็กวัยแรกเกิดสามารถอยู่ร่วมกับน้องหมาตัวโปรดของคุณได้ แถมยังมีพัฒนาการที่รวดเร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกันอีกด้วย เพียงแค่ใส่ใจและระวังเพียงเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น โดยคลิป น้องหนูคุยกับสุนัข เป็นอีกคลิปหนึ่งที่น่ารักเลยทีเดียว
การที่มีเด็กอ่อนแล้วต้องนำน้องหมาไปปล่อย ให้คนอื่นหรือไม่ดูแลมัน นอกจากจะเป็นบาปแล้ว ยังเป็นกานสอนเด็กทางอ้อมให้เป็นเด็กก้าวร้าวและมีพฤติกรรมรุนแรงในอนาคตได้ และที่สำคัญ คุณเชื่อไหมว่าการให้เด็กเติบโตมาพร้อมกับน้องหมาเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดอาการภูมิแพ้ที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่งด้วย
ขนสุนัข ทำให้ลูกเป็นภูมิแพ้มั๊ย??
ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ภูมิแพ้” เป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางระบบพันธุกรรม นั่นแสดงว่าหากพ่อแม่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้วไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม จะทำให้ลูกมีโอกาสที่จะเป็นภูมิแพ้ได้มากขึ้นนั่นเอง
ตามทฤษฏีแล้ว ขนสุนัขหรือขนสัตว์อื่น ๆ ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดภูมิแพ้แต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในขนต่างหากที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ ดังนั้นหากคุณมั่นใจว่าเลี้ยงดูสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงได้สะอาดอยู่เสมอจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภูมิแพ้ได้
ส่วนอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านกังวลก็คือกลัวขนสุนัขหรือขนสัตว์เข้าไปในระบบทางเดินหายใจของลูกน้อย ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดเช่นเดียวกัน เพราะร่างกายของคนเรามีกลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมโดยอัตโนมัติอยู่แล้วต่อให้เป็นเด็กก็ตาม ร่างกายเราจะพยายามขับมันออกมาทางการไอหรือจามนั่นเอง
เด็กทารกจะถูกสัตว์เลี้ยงทำร้ายมั๊ย??
เด็กสามารถอยู่ร่วมกับสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงได้อย่างไม่มีปัญหา สุนัขส่วนใหญ่จะเป็นมิตรกับเด็กทารก หรือในขณะที่แมวเองก็มีนิสัยเชื่องโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะต้องกังวลว่าสัตว์เลี้ยงตัวโปรดจะทำร้ายลูกน้อยของคุณ ต่อให้เจ้าลูกน้อยของเราจะป่วน ลงไม้ลงมือกับสัตว์เลี้ยงของคุณ มันก็จะไม่จู่โจมตอบ ส่วนใหญ่ก็มักจะเดินหนีจากเจ้าตัวน้อยจอมป่วนของเราเอง
แต่สำหรับลูกน้อยช่วง 0-3 เดือน เวลานอนควรแยกลูกน้อยออกจากสัตว์เลี้ยง ยังไม่ควรให้นอนรวมกันเพราะช่วงเวลานี้เด็กยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเท่าที่ควร ควรให้เขาใกล้ชิดสนิทสนมกันหลังจาก 3 เดือนเป็นต้นไปจะดีที่สุด
นอกจากนี้แล้ว ยังมีผลงานวิจัยของนายโจอาคิม เฮนริช จากศูนย์วิจัยเพื่อสิ่งแวดล้อมของสุขภาพประเทศเยอรมนี ที่ได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการทำการสำรวจจากครอบครัวเด็กว่า 9,000 คน จนได้ข้อบ่งชี้สรุปออกมาว่า เด็กที่เติบโตมาพร้อมกับสัตว์เลี้ยงในบ้านขะมีสารต่อต้านเชื้อโรคในร่างกายสูงและมีแอนติบอดีสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคเรื้อนและโรคภูมิแพ้อากาศ ทั้งยังมีพัฒนาการทางด้าน EQ มีความอ่อนโยน และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากกว่าเด็กที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงภายในบ้านถึง 5 เท่า
รวมถึงยังมีการศึกษาของ นายแพทย์อีจา เบอร์โกรธ กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลคุโอปิโอ ในฟินแลนด์ ที่ศึกษาในหัวข้อ “การที่เด็กทารกได้ใกล้ชิดคลุกคลีกับสุนัขและแมว มีผลต่อเรื่องความแข็งแรงของเด็กน้อยหรือไม่?” โดยได้ติดตามเด็ก 397 คน ที่เกิดที่โรงพยาบาลคุโอปิโอ ในช่วงเดือนกันยายน 2002 – พฤษภาคม 2005 ซึ่งมีทั้งครอบครัวที่เลี้ยงสุนัขและบ้านที่ไม่มีสัตว์เลี้ยงเลย แล้วให้ผู้ปกครองตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพและอาการความเปลี่ยนแปลงของบุตรหลานเป็นประจำทุกสัปดาห์ ตั้งแต่อายุ 9 สัปดาห์ – 1 ปี
โดยผลการรวมรวมข้อมูล สรุปได้ว่า เด็ก ๆ จากบ้านทีมีสัตว์เลี้ยง มีสุขภาพที่แข็งแรงและเจ็บป่วยน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดย 73% ของเด็กที่มาจากบ้านที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรงดี ส่วนเด็กที่มาจากบ้านที่ไม่เลี้ยงสัตว์เลยมีสัดส่วนที่สุดภาพดีอยู่ที่ 65% เท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ผลการสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ น่าจะเกิดจากการที่สัตว์เลี้ยงได้นำเอาดินและแบคทีเรียต่าง ๆ จากนอกบ้านเข้ามาภายในด้วย ทำให้เด็ก ๆ ที่ได้ใกล้ชิดกับสุนัขจึงได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเองอย่างเป็นธรรมชาติ และยังพบว่า โอกาสที่เด็ก ๆ เหล่านี้จะพัฒนาไปเป็นโรคภูมิแพ้ใด ๆ ในอนาคตก็ลดน้อยลงอีด้วยค่ะ
สำหรับการเลี้ยงน้องหมาให้อยู่ร่วมกันกับเด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี ที่เป็นวัยที่กำลังมีพัฒนาการทั้งด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์ความรู้สึกนั้น ผู้เลี้ยงควรเริ่มจากการแนะนำให้สุนัขได้รู้จักสมาชิกใหม่นั่นก็คือ ลูกน้อย โดยการสร้างประสบการณ์ ความทรงจำที่ดีให้กับทั้งลูกน้อยและสุนัขอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้สุนัขเกิดการยอมรับ ไม่อิจฉาหรือต่อต้านสมาชิกใหม่ของครอบครัว โดยครั้งแรกที่ผู้เลี้ยงพาลูกน้อยเข้าบ้าน ผู้เลี้ยงจะต้องไม่ตวาดใส่สุนัขแต่ควรทักทายด้วยน้ำเสียงปกติและมั่นคง จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยให้สุนัขสำรวจ ดมกลิ่นตัวของลูกน้อย (สุนัขมักจะแสดงอาการตื่นเต้น หรือวิ่งรอบตัวเด็ก) และสั่งให้สุนัขนั่งลงข้าง ๆ และรอจนกว่าสุนัขจะสงบนิ่งจึงให้ขนมเป็นรางวัล เพื่อเป็นการบอกว่า เขาทำดีแล้ว
เมื่อสุนัขสงบนิ่งลง ผู้เลี้ยงอาจจะนั่งอุ้มลูกน้อยโดยมีสุนัขนั่งอยู่ข้าง ๆ ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สุนัขสามารถปรับตัว และเรียนรู้ว่า การมีลูกน้อยอยู่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อตัวของสุนัข (ผู้เลี้ยงอาจจะใช้มืออีกข้างลูบหัวสุนัขเบา ๆ เพื่อให้เขารู้ว่า ถึงแม้จะมีเด็กทารกแต่ผู้เลี้ยงก็ยังสนใจเขาอยู่ ซึ่งจะช่วยให้สุนัขเกิดการยอมรับในตัวลูกน้อยของเราได้ง่ายขึ้นค่ะ) หรือผู้เลี้ยงอาจจะนำเสื้อผ้าของลูกน้อยที่ใส่แล้วยังไม่ได้ซักไปให้สุนัขดมเพื่อสร้างความคุ้นชิน และเพื่อบอกให้สุนัขรับรู้ว่า ลูกน้อยของเราก็เป็นนายของเขาอีกหนึ่งคนค่ะ
แต่สำหรับสุนัขที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวกับลูกน้อย เช่น กระโจนใส่เด็ก ขู่ คำราม ฯ ผู้เลี้ยงก็ต้องคอยดุและห้ามทุกครั้งที่สุนัขพยายามที่จะวิ่งเข้าหาหรือพยายามกระโจนใส่ ด้วยการใช้คำสั่ง “อย่า” “หยุด” ด้วยเสียงโทนต่ำเพื่อบอกกับน้องหมาว่า การวิ่งเข้าหาหรือการจะกระโจนใส่เป็นสิ่งผิดที่ห้ามกระทำ” และฝึกไม่ให้สุนัขแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ออกมา โดยการฝึกสุนัขเราต้องให้เวลา ใช้ความเข้าใจฝึกเขา ต่อไปเขาจะเข้าใจและทำตามเองค่ะ
นอกจากนี้แล้วผู้เลี้ยงยังควรแบ่งพื้นที่ให้สุนัขอยู่เป็นสัดส่วน แยกออกจากพื้นที่ของลูกน้อยให้ชัดเจน โดยอาจจะใช้ กรง ที่กั้นคอก จำกัดพื้นที่ไม่ให้น้องหมาเดินได้อย่างอิสระเพื่อไม่ให้สุนัขรบกวนการพักผ่อนของลูกน้อยและเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงผู้เลี้ยงควรเก็บอุปกรณ์เลี้ยงเด็กต่าง ๆ เช่น ขวดนม ตระกร้าผ้าอ้อม ถ้วยชาม ฯ ไว้บนที่สูงเพื่อป้องกันสุนัขเลียสิ่งของ และในทางกลับกันผู้เลี้ยงก็ควรเก็บชามอาหารสุนัข และของใช้ของสุนัขไว้บนที่สูงเพื่อไม่ให้ลูกน้อยหยิบจับได้ (ลูกน้อยในวัยนี้จะสามารถควาน และมักจะชอบเลียนแบบ ซึ่งอาจจะเลียนแบบพฤติกรรมการกินของสุนัข และคลานไปหยิบอาหารในชามสุนัขมากินได้) พร้อมกับหมั่นดูแลทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกน้อยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อาหมวยแดนซ์ได้ใจ รับประกันความขำ
วันพ่อปีนี้ พาพ่อเที่ยวไหนดี รวม 10 ที่เที่ยว ที่เหมาะสำหรับคุณพ่อ
ลูกสาวอยากเลี้ยงแมว ติดกระดาษทั่วบ้าน อ้อนพ่อขอรับแมวจรมาเลี้ยง
https://baby.kapook.com/view83303.html
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!