อาการท้องผูกในเด็ก เป็นอย่างไร คำแนะนำโดย ผศ.พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้หรือไม่ ? แม้แต่ในเด็กเล็ก ก็มีอาการ ท้องผูก ได้เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ และมีผลกระทบต่าง ๆ มากมายที่คุณแม่อาจไม่ทราบ ถ้าหากไม่สังเกตให้ดี วันนี้ เราจะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับอาการต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมาจากอาการ ท้องผูก ในเด็ก ไปดูกันเลยค่ะ!

 

อาการ ท้องผูก ในเด็ก เป็นอย่างไร?

อาการ ท้องผูกในเด็ก หมายถึง อาการที่เด็ก ๆ มีการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า หรือเท่ากับสองครั้งในหนึ่งสัปดาห์ หรือ ถ่ายอุจจาระแข็งแห้งเป็นก้อนใหญ่หรือคล้ายเม็ดกระสุน หรือ ถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมาก เจ็บปวดเวลาถ่าย และอาจมีเลือดปนได้ ซึ่งเป็นอาการถ่ายที่ผิดปกติ จากระบบย่อยอาหารที่ไม่แข็งแรงของลูกน้อย และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษานะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมสำหรับเด็กท้องผูก ควรเลือกแบบไหน ปลอดภัยกับลำไส้ของลูกน้อย

 

 

เราจะทราบได้อย่างไร ว่าลูกน้อย ท้องผูก

ก่อนอื่น เราควรจะทราบก่อนว่า ลูกน้อยของเรา หรือทารกโดยปกติแล้ว ถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน เพราะว่าทารกที่ทานนมแม่เป็นประจำนั้น มักจะถ่ายหลังจากทานนมแม่เป็นเรื่องปกติ โดยหลังจากลูกน้อยอายุ 6 สัปดาห์ จะเริ่มถ่ายน้อยลง เป็นประมาณวันละ 3-5 ครั้ง และจะลดลงเรื่อย ๆ จนไปถึงหลังอายุ  2-3 เดือนจะถ่ายเพียงวันละ 1-2 ครั้ง เป็นปกตินั่นเองค่ะ

ส่วนเด็กที่มีปัญหาท้องผูกนั้น เราอาจสังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระของลูก นั่นก็คือ มีการถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีลักษณะอุจจาระที่แข็ง เหมือนกับเม็ดกระสุน หรืออาจถ่ายก้อนใหญ่ผิดปกติ ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัดก็คือ เด็ก ๆ จะมีอาการเจ็บปวดในขณะที่เบ่งถ่าย จนทำให้ร้องไห้ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกมาถึงความทรมานเวลาเบ่งนั่นเองค่ะ โดยถ้าหากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือนติดต่อกัน สามารถนับเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังได้เลยอีกด้วยค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องผูก ในเด็ก มีผลกระทบอื่น ๆ อย่างไรบ้าง?

หากเด็กมีอาการท้องผูกเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น มีอาการอุจจาระเล็ดเปื้อน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ  ปวดท้อง แน่นท้อง รับประทานอาหารได้ลดลง เป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อการรับสารอาหาร และระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายเป็นอย่างมากเลยค่ะ

 

เด็กที่ถ่ายอุจจาระทุกวัน ท้องผูก ได้หรือไม่?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า แม้ลูกถ่ายอุจจาระทุกวันก็อาจท้องผูกได้นะคะ ถ้าอุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ถ่ายยาก ลำบาก การวินิจฉัยอาการท้องผูก จะพิจารณาจากลักษณะของอุจจาระเป็นหลัก เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน ดังนั้นแม้ลูกจะถ่ายอุจจาระเพียงครั้งเดียวใน 2-3 วันแต่อุจจาระมีลักษณะนิ่มปกติ ถ่ายได้สะดวก ก็ไม่ถือว่าท้องผูกค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เราจะป้องกันไม่ให้ลูก ท้องผูก ได้อย่างไร?

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกต้องทรมานจากอาการท้องผูกได้โดยมีหลักการง่าย ๆ ในการดูแล 4 อย่าง ได้แก่ เรื่องของอาหาร น้ำ การฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย และการออกกำลังกายค่ะ โดยเราสรุปมาให้แล้วสั้น ๆ ดังนี้เลย

 

  • ดูแลเรื่องอาหาร

เริ่มจากอาหาร เด็กวัยทารกควรให้ลูกทานนมแม่เพราะโปรตีนในนมแม่ย่อยง่ายทำให้ทารกท้องผูกน้อย หากจำเป็นต้องใช้นมผสมควรเลือกนมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงนมแม่ สำหรับทารกที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วหรือเด็กโตควรให้อาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ ผลไม้และผัก เช่น มะละกอสุก ส้ม ผักกาดขาว แครอท ธัญพืชต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อย่าลืมทานน้ำ

สำหรับน้ำ ควรให้เด็กดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยทารกอายุน้อยกว่า  6 เดือนควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอจากนมเป็นหลัก เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้ดื่มน้ำผลไม้เช่นน้ำลูกพรุน น้ำส้มคั้น เสริมได้

 

  • ฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย

ให้ลูกหัดนั่งถ่ายเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก ควรเริ่มฝึกในวัยที่เด็กเริ่มสื่อสารได้แล้ว

 

  • ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นั้นสามารถช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ที่ช่วยลดอาการท้องผูกได้ดี

 

ถ้าลูกมีอาการ ท้องผูก ควรทำอย่างไร?

หากลูกมีอาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกทานอาหารที่มีเส้นใยและน้ำให้มาก ๆ ตามที่หมอได้แนะนำไปข้างต้นนะคะ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ยืดเยื้อเรื้อรัง ไม่ควรซื้อยาระบายหรือยาสวนทวารมาใช้เองเพราะอาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะในทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการซักประวัติอาการท้องผูกและอาการต่าง ๆ ที่เป็นผลกระทบหรืออาการแทรกซ้อน ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุโรคบางอย่างที่อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกเรื้อรังได้ นอกจากนี้คุณหมออาจพิจารณาให้ยาเหน็บหรือยาระบายที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยสำหรับเด็ก ควบคู่ไปกับการป้องกันอาการท้องผูกค่ะ

 

 

เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้ลูกน้อยถ่ายได้ง่ายมากขึ้น

  1. ดื่มนมวันละไม่เกิน 32 ออนซ์ เพราะว่านมนั้นมีแคลเซียมสูง และมักจับตัวกับก้อนไขมัน จนทำให้เกิดก้อนแข็ง ดังนั้น ถ้าหากทานนมมากจนเกินไป มักทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
  2. ให้เด็กได้ทานอาหารที่เหมาะสมตามวัย โดยให้อัตราส่วนของข้าว เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ ในอัตราส่วน 2:1:1 ตามลำดับ
  3. ให้เด็กทานข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังโฮลวีต เพราะมีกากใยอาหารมากกว่าข้าว หรือแป้งสาลีขาว ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยสามารถถ่ายได้ง่ายมากขึ้น
  4. ทานผักผลไม้ ที่มีใยอาหารสูง เช่น ส้ม มะละกอ ชมพู่ และควรให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้น
  5. ให้ลูกถ่ายอุจจาระหลังจากทานอาหารทุกมื้อ เพื่อให้ถ่ายเป็นเวลา และมีสุขภาพที่แข็งแรง
  6. ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกาย โดยเฉพาะเน้นในส่วนหน้าท้อง จะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหว และสามารถบีบตัวเพื่อขับอุจจาระได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ การนวดหน้าท้องให้ทารกในรูปแบบตัว U กลับหัว จะช่วยสามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้เช่นกันค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยสรุปแล้ว อาการท้องผูกในเด็กเล็ก สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่ได้รับวิตามิน และสารอาหารที่ครบถ้วน และถ้าหากลูกมีอาการท้องผูก คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ลูกน้อยทานอาหารที่มีเส้นใยและน้ำให้มาก ๆ เพื่อเพิ่มสารอาหารในระบบย่อยอาหารของร่างกาย แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้น แนะนำให้พามาพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการ และรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาหารเสริม โพรไบโอติก (Probiotic) ยี่ห้อไหนดี สุขภาพดี แก้ท้องผูก

9 ผัก ผลไม้สีเหลือง บอกลาปัญหาท้องผูก รวมคุณค่าดี ๆ สำหรับคนอยากหน้าเด็ก

อาหารแก้ท้องผูกสำหรับเด็ก 7 อย่าง อร่อย มีประโยชน์ ไม่ต้องพึ่งยาระบาย

ที่มา : hifamilyclub