ทารกท้องร้อง เกิดจากอะไร? เป็นสัญญาณแจ้งเตือนของลูกใช่หรือไม่?

ลูกนอนอยู่ หรือกำลังให้นมอยู่ก็ได้ยินเสียงท้องลูกร้องดังโครกคราก แบบนี้เป็นปกติไหม? ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า ไปหาคำตอบกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินเสียงโครกครากจากท้องของลูกน้อยของคุณ ซึ่งเป็นที่น่าสงสัยมากว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อยของคุณหรือเปล่า เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ทารกท้องร้อง เกิดจากอะไร? เป็นสัญญาณแจ้งเตือนว่าลูกน้อยของคุณกำลังตกอยู่ในอันตรายจากอาการแทรกซ้อนอะไรหรือไม่ ไปดูกันเลย

 

ทารกท้องร้อง โครกครากเกิดจาก ?

เสียงของท้องของลูกน้อยของคุณอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย สำหรับเด็กทารกที่เพิ่งลืมตาดูโลกได้ไม่นานนัก แต่ถ้าหากเสียงนั้นดังเพียงชั่วครู่ชั่วคราว ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ สำหรับทารกแรกเกิดที่มีเสียงท้องร้องแล้วนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ลูกของคุณอาจจะเพิ่งชินกับนมแม่ หรือนมผสมสำหรับเด็กแรกเกิด ที่อาจทำให้ท้องพวกเขามีแก๊สหรือความดันจนทำให้เกิดเสียงนั่นเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากท้องของลูกน้อยของคุณส่งเสียงดังตลอดเวลา มีไข้ หรือดูเหมือนจะอึดอัดเป็นพิเศษให้คุณรีบพาพวกเขาไปพบแพทย์ในทันที

บทความที่น่าสนใจ : ทารกปวดท้อง อาการทารกป่วย เจ็บ ๆ ปวด ๆ ใต้พุง ลูกน้อยเป็นอะไรได้บ้าง

 

 

4 เหตุผล ทำไมทารกถึงท้องร้อง

นอกจากการย่อยอาหารตามปกติตามกระบวนการของร่างกายมนุษย์แล้ว อาการท้องอืดของทารก หรืออาหารอื่น ๆ อีกมากมายอาจทำให้ลูกของคุณเกิดเสียงร้องโครกครากได้ โดยเหตุผลที่ทำให้ลูกท้องร้องมีดังต่อไปนี้

1. ทารกหิว ทารกมีเสียงในท้อง

เหตุผลที่ชัดเจนที่สุดที่ตอบโจทย์การเกิดเสียงท้องร้องของคุณได้เป็นอันดับแรก ๆ คือการที่ลูกของคุณหิว ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแค่ทารกเท่านั้น แต่ผู้ใหญ่แบบเราก็เป็นเช่นกัน เสียงท้องร้องจะเริ่มส่งเสียงเมื่อท้องว่าง และลำไส้เริ่มมีการหดตัว โดยมีอากาศเคลื่อนตัวไปตามความยาวของลำไส้ ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างมากมายจึงทำให้เกิดเสียงออกมา ดังนั้นหากคุณได้ยินเสียงท้องจากลูกน้อยของคุณเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหรือมากกว่าหลังจากที่ป้อนนมครั้งสุดท้าย ก็แสดงว่าอาจจะถึงเวลาป้อนนมอีกครั้งแล้วนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ปัญหาเรื่องของตำแหน่ง

บางครั้งลูกน้อยของคุณอาจถูกวาง หรือถูกอุ้มที่อยู่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณได้ยินเสียงท้องร้องของพวกเขา เพราะลักษณะในการอุ้ม หรือตำแหน่งในการวางทารกลงบนเปลหรือที่นอนนั้นผิดไป ทำให้แก๊สที่อยู่ในท้องไม่สามารถถูกขับออกมาได้ ดังนั้นในช่วงเวลาของการให้นมคุณควรอุ้มลูกน้อยในลักษณะที่ถูกต้อง เพราะถ้าหากไม่ถูกตำแหน่งอาจส่งผลทำให้ลูกของคุณได้รับอากาศเข้าท้องมากจนเกินไป หรืออาจจะเกิดการสำลักนมได้ และหลังจากดื่มนมเสร็จควรให้พวกเขาเรอนมออกมาก่อน เพื่อเป็นการปลดปล่อยอากาศที่เข้าไปอยู่ในท้องช่วงที่ดื่มนมนั่นเอง

บทความที่น่าสนใจ : ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง จัดท่าเตรียมดูดนม จัดเตรียมอย่างไรให้ถูกต้อง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ลูกท้องร้องเกิดจากแก๊ส

เมื่อคุณเริ่มให้นมลูก คุณอาจจะได้ยินเสียงท้องของพวกเขาร้องบ่อยครั้งในเวลากลางคืน หรือแม้แต่ช่วงระหว่างวันคุณก็อาจจะได้ยินเสียงท้องร้องของพวกเขาได้ โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของอาหาร หรือของเหลวที่เคลื่อนที่ผ่านลำไส้ เป็นเสียงปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่กำลังทำงาน ซึ่งเมื่อคุณกำลังป้อนนมหรือให้นมแก่พวกเขาคุณมักจะได้ยินเสียงลูกท้องร้องโครกครากทุก ๆ 15-20 วินาที แต่ถึงอย่างไรก็ตามในบางครั้งการที่ลูกท้องร้องโครกครากนั้นอาจมาจากสาเหตุจากการที่มีแก๊สในกระเพาะมากเกินไป ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน ซึ่งเหตุผลของที่ทารกมีแก๊สมากเกินไป มีดังต่อไปนี้

  • การดื่มนมจากเต้าไว้เกินไป
  • การป้อนนมลูกด้วยจุกนมที่ไหลไวเกินไป
  • ทารกร้องไห้มากเกินไป
  • การปรับปรุงการทำงานของลำไส้หลังจากทานยาปฏิชีวนะ
  • แพ้ส่วนผสมบางอย่างในนมผสม หรือนมแม่
  • ภาวะลิ้นติด

 

4. แพ้นม หรืออาการไวต่ออาหาร

สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราเมื่อทานอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดแล้วอาจทำให้รู้สึกปั่นป่วนในช่องท้อง ซึ่งทารกก็เป็นเช่นกัน สิ่งที่พวกเขาได้รับประทานเข้าไปอาจทำให้ท้องไส้ของพวกเขาปั่นป่วน ซึ่งการเกิดเสียงโครกครากในท้องของทารกนั้นมีโอกาสที่ทารกจะกินอาหาร หรือนมที่ไปรบกวนกระเพาะของพวกเขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทารกแรกเกิดมักเกิดปัญหาจากอาการแพ้นมที่ดื่มเข้าไป สำหรับเด็กที่ดื่มนมผงนั้นไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะว่าน้องครั้งที่นมผงจะทำให้เกิดอาหารแพ้ต่อเด็ก แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณมีอาการแพ้นมผงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการหาทางแก้ไขและเปลี่ยนสูตรนม ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วการแพ้นมมักเกิดขึ้นจากการดื่มนมของแม่ที่อาจมีการเจือปนอาหารบางอย่างจากที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงช่วงให้นมบุตรมีดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อาหารรสเผ็ด
  • อาหารที่เป็นกรด
  • บร็อคโคลี่
  • กะหล่ำปลี
  • ถั่ว
  • คาเฟอีน

ทั้งนี้ทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป และสิ่งที่จะกระตุ้นทำให้พวกเขาเกิดการแพ้นั้นอาจไม่ได้เกิดกับเด็กทุกคน ส่วนใหญ่แล้ว หากทารกท้องร้องพร้อมกับร้องไห้ แสดงว่าพวกเขาปวดท้องและสิ่งที่พวกเขารับประทานเข้าไปนั้นกำลังกระตุ้นทำให้พวกเขาเกิดความทรมานบางอย่างในช่องท้อง

 

 

ทารกท้องร้องโครกคราก แก้ยังไง

เมื่อเห็นลูกไม่สบาย หรือร้องงอแงไม่มีผู้ปกครองท่านไหนที่จะรู้สึกสบายใจ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีจัดการกับอาการที่ท้องร้องเสียงดังโครกครากของลูกน้อย เพื่อทำให้พวกเขารู้สึกสบายขึ้นนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ มาดูกันดีกว่า หาก ทารกท้องร้องโครกครากควรแก้ไขอย่างไรดี

  • ลองนวดท้องทารกเบา ๆ

คุณอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะนวดท้องของทารกอย่างถูกวิธี หากลูกน้อยของคุณมีอาการท้องร้องที่เกิดจากแก๊สบ่อยครั้ง เพราะการนวดช่วยให้ลูกน้อยของคุณรู้สึกผ่อนคลาย และทำให้สามารถปล่อยแก๊สที่อยู่ภายในท้องออกมาได้ นอกจากนี้ผลพลอยได้จากการนวดอาจทำให้ลูกน้อยของคุณนั้นสามารถกลับได้ง่ายขึ้นและยาวนานมากยิ่งขึ้น

  • อาบน้ำอุ่น

การอาบน้ำอุ่นช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณอาบน้ำกับลูกน้อย เพราะว่าน้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาอาการท้องไส้ปั่นป่วน อาการปวดท้อง หรือท้องร้องโครกครากจากการมีแก๊สในกระเพาะมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และส่งเสริมทำให้ระบบย่อยอาหารนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ใช้การประคบร้อน

บางครั้งการอาบน้ำผิดเวลา หรือการอาบน้ำมากจนเกินไปอาจส่งผลทำให้ทารกไม่สบายได้ ดังนั้นคุณอาจใช้วิธีการประคบร้อนแทนการอาบน้ำอุ่น แต่คุณต้องแน่ใจว่าลูกประคบ หรือสิ่งที่คุณนำมาประคบลูกจะไม่ทำร้ายหรือทำให้ผิวของลูกน้อยของคุณไหม้เพราะความร้อน คุณอาจทำเข้าสารใส่ในถุงเท้า หรือผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เข้าไมโครเวฟ ก่อนที่จะนำไปประคบที่ท้องของลูกน้อยประมาณ 5-10 นาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการส่งเสียงร้องของท้องได้

  • ปั่นจักรยานอากาศ

การมีแก๊สในกระเพาะเป็นเรื่องที่ทรมานไม่ว่าสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ การขยับขาของพวกเขาไปมาในท่านอนหงายเหมือนกับปั่นจักรยานจะช่วยทำให้การเคลื่อนตัวของแก๊สในช่องท้องนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกปล่อยออกมาในที่สุด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องร้อง อาจเป็นปัญหาจากระบบทางเดินอาหาร

ถึงแม้ว่าการที่ท้องของลูกน้อยของคุณส่งเสียงร้องจะเป็นเรื่องปกติ หรืออาจเกิดจากการมีแก๊สในกระเพาะมากจนเกินไป แต่ในบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายของพวกเขาว่ามีบางอย่างผิดปกติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ทารกอาเจียน

หลังจากการดื่มนม หรือเกิดการอาเจียนออกมาขณะกำลังทำกิจกรรม หรือหลังจากตื่นนอน นั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยของคุณกำลังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยคุณสามารถสังเกตได้จากสีของอาเจียนที่เปลี่ยนสี หรือเป็นสีเขียว หากพบเจอให้รีบน้ำส่งแพทย์ในทันที แต่ต้องระวังระหว่างการอาเจียนหลังดื่มนม หรือการเรอนมด้วยเช่นกัน เพราะอาจมีลักษณะใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก

  • ถุยน้ำลาย

การถุยน้ำลายของทารกในบางครั้งบางคราวอาจเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากเกิดทุกครั้งขณะดื่มนม หรือมีการสำลักอาจเป็นเพราะว่าเขากำลังมีอาการกรดไหลย้อน เมื่ออาหารเข้าไปในกระเพาะ อาหารเหล่านั้นก็จะกลับมาอยู่ที่หลอดอาหารอีกครั้ง ซึ่งคุณควรพาพวกเขาไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขปัญหานี้

  • ท้องเสีย

สำหรับเด็กแรกเกิดมักมีอาการท้องเสียเป็นครั้งคราว คุณจำเป็นจะต้องทราบว่าการท้องเสียของลูกน้อยของคุณนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร หรือว่าเป็นปกติหรือไม่ เพราะการท้องเสียบ่อย ๆ นั้นอาจทำให้ทารกเกิดภาวะขาดน้ำ และนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ซึ่งถ้าหากคุณรู้สึกว่าพวกเขาท้องเสียบ่อยจนเกินไปอาจต้องเข้าพบแพทย์ในทันที

 

อาการที่ท้องของลูกน้องของคุณที่ส่งเสียงร้องในบางครั้งจะเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกแรกเกิด แต่ในบางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกายของทารกเช่นกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ที่กำลังดูแลทารกจะต้องเอาใจใส่ หมั่นสังเกตอาการ และพฤติกรรมของพวกเขาบ่อย ๆ เผื่อว่าถ้าหากอาการท้องร้องไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติจะได้พาพวกเขาเข้าพบแพทย์ได้ทันเวลาก่อนที่จะเกิดอันตรายเกิดขึ้นกับเขานั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกท้องอืดทําอย่างไร ใช้ยาตัวไหนดี มีวิธีไหนช่วยลดอาการท้องอืดในทารกบ้าง

ลูกท้องเสียจากน้ำนมแม่ ทารกถ่ายบ่อย จนก้นแดง ทั้งที่กินนมแม่อย่างเดียว

วิธีแก้ปัญหาลูกสะอึก หลังกินนม ทารกสะอึกทําไงให้หาย ให้นมลูกเสร็จแล้วลูกสะอึก

ที่มา : healthline, bellybelly, kidslymom, hellomotherhood

บทความโดย

Siriluck Chanakit