คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ทารกนอนอ้าปาก แต่ทราบไหมคะว่า การหายใจทางปากของทารกขณะนอนหลับอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เช่น การติดเชื้อหรือภูมิแพ้ หากปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยได้ค่ะ
สารบัญ
ทำไม ทารกนอนอ้าปาก?
ปกติแล้ว ทารกจะหายใจทางจมูกเกือบตลอดเวลา แต่ทำไมบางครั้งเราถึงเห็นลูกน้อยนอนอ้าปาก? การหายใจทางปากในเด็กเล็กอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งบางอย่างอาจเป็นเรื่องปกติ แต่บางอย่างก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง ได้แก่
- หวัดและภูมิแพ้ เมื่อจมูกของลูกน้อยอุดตันจากน้ำมูกหรือสารก่อภูมิแพ้ การหายใจทางปากจะเป็นทางเลือกเดียวที่ทำได้
- ผนังกั้นจมูกคด หากโครงสร้างภายในจมูกของลูกน้อยผิดปกติ อาจทำให้หายใจทางจมูกลำบาก
- ต่อมอะดีนอยด์และต่อมทอนซิลโต อวัยวะสองส่วนนี้หากโตผิดปกติอาจไปอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้ลูกน้อยต้องหายใจทางปาก
- นิสัย บางครั้งการหายใจทางปากอาจกลายเป็นนิสัย หลังจากที่ลูกน้อยเคยมีอาการหวัดหรือภูมิแพ้
ทารนอนอ้าปาก อันตรายไหม?
การหายใจทางปากในระยะสั้นอาจไม่เป็นอันตราย แต่หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของใบหน้าและขากรรไกร รวมถึงปัญหาการนอนหลับและการเรียนรู้ของลูกได้
-
ส่งผลต่อใบหน้าและขากรรไกร
เมื่อเด็กหายใจทางปาก กล้ามเนื้อรอบปากและลิ้นจะทำงานแตกต่างจากปกติ ทำให้ตำแหน่งของลิ้นเปลี่ยนไปจากเดิม กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนก็จะทำงานไม่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ การหายใจทางปากทำให้กระแสอากาศไหลเวียนภายในโพรงอากาศในใบหน้าไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของกระดูกใบหน้าและขากรรไกร อาจทำให้ใบหน้ายาว คางเล็ก หรือฟันเกได้
-
ส่งผลต่อการขึ้นของฟัน
เมื่อขากรรไกรมีขนาดและรูปร่างผิดปกติ ฟันก็จะไม่มีที่ว่างเพียงพอในการขึ้น ทำให้เกิดปัญหาฟันเก หรือฟันซ้อนกันได้
-
ทางเดินหายใจอุดตัน
เมื่อทารกหายใจทางปาก อากาศที่เข้าสู่ปอดอาจไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ส่งผลให้รู้สึกอ่อนล้าและหลับไม่สนิท
-
ระคายเคืองในช่องปาก
การหายใจทางปากทำให้ปากแห้งและระคายเคือง ซึ่งอาจทำให้ทารกตื่นบ่อยขึ้น
-
นอนกรน
การหายใจทางปากอาจทำให้เกิดเสียงกรน ซึ่งรบกวนการนอนหลับของทั้งตัวเด็กเองและผู้ดูแล
-
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ในบางกรณี การหายใจทางปากอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ทารกหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ ซึ่งส่งผลต่อการพักผ่อนอย่างมาก
-
นอนหลับไม่เพียงพอ
ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมอง ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ เช่น การเรียนรู้ การจดจำ และพัฒนาการทางภาษา นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ทารกหงุดหงิด งอแง และมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
-
ปัญหาหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง
เนื่องจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนของเรานั้นเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะระหว่างโพรงจมูกและท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ ที่เชื่อมระหว่างโพรงหลังจมูกกับหูชั้นกลาง
สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยหายใจทางปาก
ลูกน้อยชอบนอนอ้าปาก อาจเป็นสัญญาณว่า ลูกน้อยหายใจทางปาก ทั้งนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยหายใจทางปาก ได้แก่
ทารกนอนอ้าปาก แก้ยังไง
เมื่อลูกน้อยมีอาการหายใจลำบากและนอนอ้าปาก อาจมีปัญหาทางเดินหายใจ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรับคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม มีวิธีแก้โดยคุณแม่สามารถดูแลเบื้องต้นที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ดังนี้
- เพิ่มความชื้นในอากาศ ใช้เครื่องเพิ่มความชื้นแบบละอองเย็น หรือเปิดน้ำอุ่นนั่งในห้องน้ำ เพื่อสร้างไอน้ำ ช่วยให้เสมหะเหลวและหายใจสะดวกขึ้น
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ช่วยลดการอักเสบและทำความสะอาดโพรงจมูก
- ดูดน้ำมูก ใช้ที่ดูดน้ำมูกสำหรับเด็ก เพื่อช่วยดูดน้ำมูกออกจากจมูก
- ให้ลูกน้อยดื่มน้ำมากๆ ช่วยให้เสมหะเหลวและขับออกได้ง่าย
- รักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้ทารกหายใจทางปาก
การที่ลูกน้อยหายใจทางปากบ่อยๆ อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง โดยพฤติกรรมบางอย่างอาจส่งผลต่อการพัฒนาของช่องปากและทางเดินหายใจได้ ดังนี้
- การหย่านมแม่เร็วเกินไป การให้นมแม่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อปากและลิ้น ทำให้การหายใจทางจมูกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การหย่านมแม่ก่อนอายุ 3 เดือน อาจส่งผลต่อการพัฒนาของช่องปากและเพิ่มความเสี่ยงในการหายใจทางปาก
- ลิ้นติด ลูกจะดูดนมแม่ได้ไม่เต็มที่ ลิ้นติดส่งผลต่อการดูดนม การกลืน และการพูด นอกจากนี้ ยังอาจทำให้โครงสร้างของช่องปากผิดปกติและอุดตันทางเดินหายใจด้วย
- ดูดนิ้วและจุกนมหลอกเป็นเวลานาน การดูดนิ้วหรือจุกหลอกเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร ทำให้ขากรรไกรแคบลงและส่งผลต่อการหายใจ
- ต่อมทอนซิลโต ต่อมทอนซิลที่โตผิดปกติอาจไปอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้ลูกน้อย
เมื่อไรควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ นอกเหนือจากการหายใจทางปาก ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
- นอนกรนเสียงดัง อาจเป็นสัญญาณของภาวะทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ ซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
- หายใจขณะหลับไม่สม่ำเสมอ อาจเกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่การหายใจหยุดชะงักเป็นระยะๆ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
- ปากแห้ง อาจเกิดจากการหายใจทางปากเป็นเวลานาน หรืออาจเป็นสัญญาณของการขาดน้ำ
- หงุดหงิดง่าย อาจเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
- เจริญเติบโตช้า อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาว เช่น
- ปัญหาการเรียนรู้ การขาดออกซิเจนอาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองและการเรียนรู้
- ปัญหาพฤติกรรม อาจทำให้เด็กหงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
- โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ทารกนอนอ้าปาก เป็นสัญญาณหนึ่งของปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
5 ขั้นตอน วิธีทำให้ทารกหยุดร้องไห้ ภายใน 10 วินาที
พัฒนาการทารก 1 – 12 เดือน พัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อยแต่ละเดือน มีอะไรบ้าง?
ลูกบิดตัวบ่อย หลับไม่สนิท ปกติไหม แก้อาการลูกบิดตัวยังไงดี