สาเหตุ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน อันตรายไหม แก้ไขอย่างไร

ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน อาจกระทบพัฒนาการและการเติบโต แต่เรื่องนี้ป้องกันและแก้ไขได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณภาพการนอนหลับเท่ากับคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกเพศทุกวัยค่ะ โดยเฉพาะในวัยทารกที่การนอนหลับสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย แต่หลายครั้งคุณแม่ต้องพบเจอกับปัญหา ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ร้องไห้งอแง จนคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพและอารมณ์ของทุกคนในครอบครัว ดังนั้น มาไข สาเหตุ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน กันค่ะว่าอันตรายไหม ทำไมลูกน้อยไม่ยอมนอน แล้วมีวิธีแก้อย่างไร

 

ความสำคัญของการนอนหลับในวัย “ทารก”

การนอนหลับมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยค่ะ เพราะฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือ Growth Hormone จะหลั่งมากหลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมงในเวลากลางคืน หาก ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน หรือนอนหลับไม่เพียงพอการหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้ไม่เต็มที่ การเจริญเติบโตทางด้านความสูงของทารกก็จะน้อยตามไปด้วย

นอกจากนี้ การนอนยังถือเป็นอาหารสมอง เพราะช่วยทำให้ร่างกายได้พักผ่อน สร้างภูมิต้านทานโรค มีความสดชื่นแจ่มใสอารมณ์ดี จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำด้วยค่ะ

โดย ท่านอนที่เหมาะสมของทารกแรกเกิด ไม่แนะนำให้นอนคว่ำนะคะ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในทารก (Sudden Infant Death Syndrome : SIDS) แนะนำให้นอนหงาย หรือนอนตะแคง โดยเบาะที่นอนควรมีความแข็งพอสมควร ไม่จำเป็นต้องใช้หมอน ไม่ต้องกังวลเรื่องศีรษะลูกน้อยจะไม่สวยค่ะ เพราะสามารถปรับให้นอนตะแคงสลับซ้ายบ้างขวาบ้างก็ช่วยให้รูปศีรษะเป็นปกติได้ค่ะ

 

การนอนของเด็กแต่ละช่วงวัย

โดยทั่วไปเด็กแรกเกิดจะนอนไม่เป็นเวลาค่ะ ซึ่งจะใช้เวลาในการนอนกว่า 70-80% ต่อวัน หรือราว 16-18 ชั่วโมง นอนวันละหลายรอบ รอบละ 1-2 ชั่วโมง โดยที่ยังไม่สามารถแยกกลางวัน-กลางคืนได้ ทารกบางคนจึงนอนกลางวันตื่นกลางคืนเป็นประจำ และจะปรับตัวนอนได้ยาวนานต่อรอบมากขึ้นเมื่ออายุได้ 4-6 เดือน

โดยช่วง 4 เดือนจะเริ่มหลับกลางคืนได้ยาวประมาณ 6 ชั่วโมง และเมื่ออายุ 6 เดือนจะสามารถหลับได้นานถึง 10 ชั่วโมง แต่ก็ยังสามารถตื่นได้ในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งทารกแต่ละคนอาจต้องการระยะเวลาในการนอนหลับที่แตกต่างกัน โดยระยะเวลาในการนอนเฉลี่ยที่ควรจะเป็นตลอด 24 ชั่วโมงคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ทารกแรกเกิด มักมีระยะเวลาช่วงนอนหลับมากกว่าช่วงตื่นนอน ประมาณ 8-18 ชั่วโมง บางคนอาจตื่นกลางดึกเพราะหิว หรืออาจหลับได้ยาวถ้ากินอิ่มมาก รวมถึงอากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไปก็เป็น สาเหตุ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ได้เช่นกัน
  • ทารกอายุ 3-6 เดือน จะรู้สึกหิวในตอนกลางคืนน้อยลง จึงนอนหลับได้นานขึ้น บางคนอาจนอนหลับได้นาน 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น และระยะเวลาในการนอนกลางวันอาจลดลงไปด้วย
  • ช่วงอายุ 6-12 เดือน ลูกน้อยอาจไม่รู้สึกหิวตอนกลางคืนเลย และนอนหลับได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง
  • วัย 12 เดือน – 2 ปี ทารกเริ่มนอนหลับอย่างต่อเนื่องและยาวนานขึ้น ส่วนใหญ่จะนอนหลับประมาณ 12-15 ชั่วโมง

สาเหตุ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน สัญญาณปัญหาการนอนของลูกน้อย

แม้ตามธรรมชาติและพัฒนาการแล้ว เมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 6 เดือน จะเริ่มนอนหลับยาวนานขึ้น แต่บางครั้งก็อาจมีปัญหาในการนอนหลับได้เช่นกัน ซึ่งคุณแม่อาจสังเกตได้จากอาการหรือพฤติกรรม เช่น ลูกนอนหลับยาก นอนกรน หายใจไม่สม่ำเสมอขณะหลับ ตื่นกลางดึกมากขึ้น โดย สาเหตุ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน อาจเป็นผลจากปัจจัยต่อไปนี้

1) ตัวเด็กเอง

  • ลูกน้อยอาจรู้สึกไม่สบายตัว เปียกชื้น คันจากผื่นแพ้ เป็นหวัด หายใจไม่ออก จึงทำให้นอนไม่สบาย นอนหลับยาก
  • ความหิว เนื่องจากทารกแรกเกิดต้องการนมบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรก การตื่นเพราะหิวจึงเป็นเรื่องปกติที่เป็นไปได้
  • ลูกอาจมีอาการเจ็บหรือปวดบางอย่าง อาทิ ท้องอืด หรือฟันกำลังขึ้น ก็อาจทำให้ทารกร้องไห้และไม่ยอมนอนได้เช่นกัน
  • ความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวในเปล ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยจนร้องไห้และไม่ยอมนอน
  • ปัญหาสุขภาพบางอย่าง อาทิ กรดไหลย้อน หรือการติดเชื้อ สามารถทำให้ ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ได้

2) สิ่งแวดล้อม

แสงสว่าง เสียงดัง อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมในห้องนอน แม้กระทั่งความห่วงเล่นและอยากทำกิจกรรมกับคุณพ่อคุณแม่อยู่ มีส่วนรบกวนการนอนหลับของทารกได้

3) นิสัยการนอนที่พ่อแม่สร้างให้

บ่อยครั้งที่ลูกถูกสร้างความเคยชินในการนอนหลับด้วยการอุ้มเดินแล้วกล่อมจนหลับ หรือดูดนมจนหลับไปบ้าง ทำให้ติดนิสัยการนอนหลับที่ไม่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน อันตรายไหม

หากลูกน้อยตื่นและร้องไห้ในตอนกลางคืนอย่างน้อย 1 ครั้ง ร้องไห้หนัก เมื่อคุณพ่อคุณแม่ไม่อยู่ด้วยตอนที่จะนอน ก็เป็นไปได้มากว่ามีปัญหาการนอนที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการได้ อาทิ

  • การเจริญเติบโตช้า เพราะการนอนมีผลต่อการหลั่งของ Growth Hormone หากทารกนอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หาก ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน พักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ง่ายต่อการติดเชื้อ
  • อารมณ์แปรปรวน ทารกที่นอนไม่พอจะมีอารมณ์หงุดหงิด งอแง และร้องไห้ง่าย
  • ส่งผลต่อพัฒนาการ การนอนหลับมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองของทารก เมื่อนอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ก็จะกระทบกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยอย่างแน่นอนค่ะ

วิธีแก้ปัญหา ทารก ไม่ยอมนอนตอนกลางคืน ทำยังไงให้ลูกหลับง่ายขึ้น

ก่อนอื่นอยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจก่อนค่ะว่า การปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้จนหลับไม่ใช่เรื่องที่ควรเกิดขึ้นนะคะ เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยและวิตกกังวลได้ รวมทั้งไม่ควรให้นมลูกในขณะที่กำลังหลับเพราะจะเป็นการฝึกนิสัยให้เขาตื่นขึ้นมาเพื่อดูดนมเป็นประจำค่ะ คราวนี้ก็มาดูวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมนอน และเคล็ดลับที่ทำให้ลูกหลับง่ายขึ้นกันค่ะ โดยเริ่มจาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สร้างวินัยการนอนหลับ พยายามสร้างตารางการนอนหลับที่สม่ำเสมอให้กับลูกน้อย โดยกำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อทำให้ลูกเรียนรู้ว่ากำลังอยู่ในเวลากลางคืนและต้องเตรียมเข้านอน เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนชุดและผ้าอ้อมใหม่ก่อนนอน
  • เตรียมห้องนอนให้พร้อม ทำให้ห้องนอนของทารกมีความมืด สงบ และเย็นสบาย ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม มีบรรยากาศให้เหมาะสมกับการนอน หรี่ไฟให้มืดลง ไม่มืดสนิทหรือสว่างเกินไป ไม่มีเสียงรบกวน และควรแยกของเล่น หมอน ผ้าห่ม ผ้านวม เชือก หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือสามารถรบกวนการนอนหลับของลูกได้ให้ออกห่างจากที่นอน
  • สร้างบรรยากาศก่อนนอน ก่อนนอนให้คุณพ่อคุณแม่อุ้ม กอด และอ่านนิทานให้ลูกน้อยฟัง เพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลาย จะช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้นค่ะ
  • ให้นมลูกตามความต้องการ หากลูกตื่นขึ้นมาเพราะความหิว ควรให้นมทันที และควรกำหนดช่วงเวลากินอาหารตอนกลางคืน หรือให้ทารกกินนมพร้อมกล่อมนอนไปด้วย
  • สังเกตอาการของลูก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ร้องไห้เสียงแหลม มีไข้ หรืออาเจียน ควรปรึกษาแพทย์

 

นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ทารกสามารถนอนหลับได้เอง ด้วยการพาเข้านอนก่อนที่เขาจะหลับ เพราะอาจช่วยให้ทารกวิตกกังวลน้อยลงและนอนหลับได้เองโดยไม่ต้องกล่อมหรือไม่ต้องมีพ่อแม่อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม หากสังเกตเห็นว่าทารกมีรูปแบบการนอนหลับผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น กรดไหลย้อน การติดเชื้อที่หู โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบทางเดินหายใจ การแพ้นมวัว ที่ส่งผลต่อการนอนหลับและควรได้รับการรักษาทันทีนะคะ

 

 

ที่มา : www.rama.mahidol.ac.th , th.rajanukul.go.th , hellokhunmor.com

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกฉี่รดที่นอน เรื่องปกติไหม บ่อยแค่ไหนน่ากังวล

อาการโคลิคในทารก เป็นอย่างไร ลูกร้องไห้ไม่หยุดทำไงถึงจะหาย

9 นิทาน เสริมพัฒนาการเด็ก สร้างการเรียนรู้เปี่ยมจินตนาการให้ลูกน้อย

บทความโดย

จันทนา ชัยมี