ลูกนอนผวา ร้องไห้ เรื่องที่คุณแม่ต้องเข้าใจ และรับมืออย่างเหมาะสม

ทารกตัวน้อยอาจมีอาการนอนผวา ร้องไห้ หรือนอนสะดุ้งให้คุณแม่กังวลใจอยู่บ้าง มาดูกันค่ะว่าจะรับมืออาการนี้ยังไงดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การที่ลูกน้อยนอนผวา ร้องไห้กลางดึก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวลใจ โดยเฉพาะมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆ ของทารก ไม่รู้ว่าพฤติกรรมต่างๆ ของลูกมีสาเหตุจากอะไร ทำให้ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ บทความนี้จะพามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ ลูกนอนผวา ร้องไห้ พร้อมแนะนำวิธีรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างเต็มอิ่ม และคลายความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่ลงด้วยค่ะ

อาการ ลูกนอนผวา ร้องไห้ ปกติมั้ย?

บางครั้งที่ขณะลูกน้อยนอนหลับอยู่ จะสังเกตเห็นได้ว่า การที่ลูกน้อยนอนผวา หรือสะดุ้งตื่น เป็นอาการของเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นอาการปกติของเด็กทารก แสดงถึงระบบประสาทได้ดี  เป็นการทดสอบง่ายๆ ว่าทารกได้ยินเสียง และตอบสนอง ซึ่งเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Moro Reflex หากมีอะไรมากระตุ้นเพียงเล็กน้อย เช่น เสียง แสงจ้า ก็ทำให้ทารกผวาขึ้นมาได้ทันที โดยจะมีอาการผวา ขยับตัวนิดหน่อย หรือมีการกระตุกที่แขนหรือขา กางแขนและขาออก พร้อมกับแบมือ

ทั้งนี้ เด็ก ๆ ยังมีอาการนอนผวาอีกช่วงคือ 6 เดือน – 1 ขวบ โดยจะมีอาการร้องละเมอ เอะอะโวยวาย ตีแขนตีขาทั้งที่ตายังหลับสนิท จนบางทีคุณพ่อคุณแม่ตกใจ ถือเป็นเรื่องปกติของช่วงวัยนี้ มักไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ ยกเว้นว่าลูกน้อยนอนผวาบ่อยๆ จนเกินไป ในกรณีนี้ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาค่ะ

ทำไม? ลูกนอนผวา ร้องไห้

สาเหตุที่ลูกน้อยนอนผวา ร้องไห้ นั้นอย่างที่บอกไปเบื้องต้นค่ะว่าเป็นปฏิกิริยาของเด็กแรกเกิด ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

รูปแบบของ ปฏิกิริยาเด็กแรกเกิด

ปฏิกิริยาโมโร (Moro)
  • เกิดเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดังขณะที่ทารกนอนอยู่ หรือมีการเคลื่อนไหว หรือร้องไห้เอง
  • ทารกจะสะดุ้งและเอาแขนสองข้างไขว่คว้าคล้ายจะกอด
  • ทารกจะผงกศีรษะไปข้างหลัง เหยียดแขนขาออก แล้วดึงแขนขากลับเข้ามาเหมือนจะกอด
ปฏิกิริยาการค้นหา (Rooting)
  • ถ้าคุณแม่เขี่ยที่แก้ม ลูกน้อยจะหันหน้า อ้าปาก ไปในทิศทางที่ถูกสัมผัส
  • เป็นสัญชาตญาณในการหาหัวนมแม่ของทารก
ปฏิกิริยาการดูด (Sucking)
  • ลูกน้อยจะดูดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีบางอย่างสัมผัสที่เพดานปาก
  • แม้ทารกจะรู้เองว่าต้องดูดอย่างไร ก็ยังต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะการดูดเช่นกัน
ปฏิกิริยาการคว้าจับ (Grasping)
  • ลูกจะกำสิ่งของที่วางลงบนมือของตัวเอง เช่น มือของคุณแม่ หรือของเล่น
  • ปฏิกิริยาตอบสนองเช่นนี้ช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะในการจับสิ่งต่างๆ อย่างตั้งใจเมื่อโตขึ้น
ปฏิกิริยาการก้าว (Stepping)
  • หากคุณแม่ประคองลูกน้อยให้ยืนขึ้น และปล่อยให้เท้าของลูกได้สัมผัสพื้นผิวที่เรียบ ลูกจะยกขาข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่ง เหมือนกำลังพยายามจะก้าว
  • การตอบสนองเช่นนี้ ช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะในการควบคุมการเดิน ซึ่งจะเริ่มประมาณอายุ 1 ขวบ

นอกจากปฏิกิริยาข้างต้นแล้ว ยังอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้ลูกน้อยนอนผวา ร้องไห้ ได้เช่นกัน ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ได้รับคาเฟอีนผ่านทางนมแม่

กรณีคุณแม่ให้นม กินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง อาจสะสมจนส่งต่อไปยังลูกน้อยผ่านทางน้ำนมแม่ได้ค่ะ ซึ่งคาเฟอีนนี้เองที่จะมีผลต่อการนอนหลับของทารก และยังอาจส่งผลให้ลูกนอนผวา นอนสะดุ้ง ได้ด้วยค่ะ

  • ลูกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

อาการกระตุก หรืออาการสั่น อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณแรกๆ ของอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกได้ค่ะ

  • โซเดียมต่ำ

การขาดโซเดียมสามารถส่งผลให้ร่างกายมีอาการกระตุกได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากคุณแม่กินอาหารที่มีโซเดียมน้อย ทำให้ทารกมีโซเดียมในร่างกายไม่เพียงพอ

  • ฝันร้าย

เด็กเล็กก็สามารถฝันร้ายได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่โดยทั่วไปจะเกิดกับเด็กวัย 3 ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างฝันกับความจริงได้ อาจทำให้เกิดความตกใจหรือกลัวระหว่างการหลับ

  • ภาวะผวากลางคืน (Night Terrors)

เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงหลับลึก ซึ่งเด็กบางคนจะมีอาการหวาดกลัว ตื่นขึ้นมาร้องไห้ หรือส่งเสียงดัง แต่จะไม่ตื่นเต็มที่ และไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ความวิตกกังวล สภาวะอารมณ์ที่ไม่มั่นคง

มักเกิดกับลูกวัยอนุบาล โดยเป็นความวิตกกังวลจากการแยกจากพ่อแม่ ความกลัว หรือความเครียด ที่อาจส่งผลต่อการนอนหลับของลูกได้ บางครั้งลูกอาจมีความรู้สึกกังวลจากการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยในช่วงเวลานอน

  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การย้ายบ้าน การเริ่มเข้าโรงเรียน หรือการมีน้องใหม่ อาจทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่มั่นคง และส่งผลต่อการนอนหลับ หรือนอนผวา

  • ปัญหาด้านสุขภาพ

หากลูกน้อยมีอาการเจ็บป่วย เช่น ไข้ หรือท้องเสีย จนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและร้องไห้กลางดึก อาจทำให้การนอนของลูกไม่เป็นปกติ

6 วิธีรับมือเมื่อ ลูกนอนผวา ร้องไห้

  1. สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายก่อนนอน

ในห้องนอนต้องไม่มีสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ลูกน้อยนอนผวา หรือสะดุ้งตื่น ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวนต่างๆ และแสงสว่างที่จ้าเกินไป คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบและผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านนิทาน เปิดเพลงเบาๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยขณะนอนหลับ

  1. อุ้มลูกแนบกับตัวไว้ให้นาน

เมื่อ ลูกนอนผวา ร้องไห้ คุณแม่ควรอุ้มลูกแนบกับตัวไว้ให้นานจนมั่นใจว่าลูกน้อยกำลังหลับสนิท แล้วจึงค่อยๆ วางลูกน้อยลงบนที่นอน โดยวางให้หลังของลูกสัมผัสกับที่นอนก่อน เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าตัวเองกำลังจะหล่นและทำให้เกิดอาการนอนผวาได้ จากนั้นค่อยๆ ปล่อยมือออกมา

  1. จัดท่านอนให้กับลูก

คุณแม่สามารถจัดให้ลูกน้อยนอนในท่านอนคว่ำได้นะคะ แต่ต้องตะแคงหน้าลูกน้อยไปทางใดทางหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดการนอนผวาและสะดุ้งตื่นของลูกได้ดี แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคนที่คอยดูแลอยู่ด้วย ห้ามให้ลูกนอนคว่ำอยู่ลำพัง เพราะหากจัดท่าทางไม่ดีในท่านอนคว่ำ อาจทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ให้ลูกนอน “อู่”

เปลแบบไทย หรือ “อู่” นั้น มีรูปทรงที่จะช่วยทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย จากผ้าที่ขนาบข้างตัว ลูกจะสบายใจและหลับได้นาน ลดอาการ ลูกนอนผวา ร้องไห้ และสะดุ้งตื่น

  1. ห่อตัวลูกน้อย

การห่มผ้าหรือการห่อตัวลูกน้อย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ลูกนอนหลับอย่างสบายใจ รู้สึกได้รับความปลอดภัย อบอุ่น เหมือนตอนอยู่ในท้องคุณแม่อีกครั้ง รวมถึงช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้นด้วยค่ะ

  1. ใช้อุปกรณ์เสริมเข้าช่วย

คุณแม่สามารถใช้ผ้าห่มที่มีน้ำหนัก หรืออุปกรณ์เสริมประเภทหมอนกันสะดุ้ง ถุงมือยางใส่ข้าวสาร มาวางไว้บริเวณหน้าอกลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย เหมือนมีคุณแม่อยู่ใกล้ๆ ในขณะนอนหลับได้นะคะ

ทารกนอนผวา แบบไหนควรปรึกษาแพทย์

  • หลังนอนผวาแล้ว ทารกไม่ยอมตื่น ไม่เคลื่อนไหว หรือไม่มีอาการตอบสนองใดๆ กลับมา
  • หลังอาการนอนสะดุ้ง นอนผวา ทารกร้องไห้อย่างอ่อนแรง หรือมีเสียงร้องที่เบาลงกว่าปกติ
  • ทารกมีอาการครางหรือกรน หลังนอนผวา นอนสะดุ้ง
  • หลังนอนสะดุ้ง นอนผวา ผิวของทารกมีลักษณะเป็นสีฟ้า หรือสีเทา สัญญาณนี้บ่งบอกว่าลูกกำลังมีปัญหาการหายใจ ควรพาไปพบแพทย์ทันที

 

การที่ลูกนอนผวา ร้องไห้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กนะคะ ดังนั้น การปลอบโยนและให้ความมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรับมือกับอาการเหล่านี้ หากอาการยังคงต่อเนื่องจนคุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวล ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมได้ค่ะ

 

ที่มา : www.homedeparto.com , baby.kapook.com , www.phyathai.com , www.healthline.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมเด็กทารกถึงตื่นบ่อย ตื่นมาก็ต้องอุ้ม วางก็ไม่ได้ ร้องไห้ตลอด

สอนลูกพูด ยังไงดี? 9 วิธีสอนลูกพูด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

ทารก 6 เดือน กินอะไรได้บ้าง ? เริ่มต้นอาหารตามวัยอย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ครบ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

จันทนา ชัยมี