คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่า ทารกไวต่อการสัมผัส ไวต่อแสง หรือไวต่อกลิ่น ? ลองสังเกตดูว่าเจ้าตัวเล็กไม่ชอบที่จะสวมใส่ผ้าบางชนิด เช่น ผ้าขนสัตว์ เพราะรู้สึกไม่สบายตัว ลูกของคุณทำท่าทางบูดบึ้งเมื่อได้กลิ่นอะไรบางอย่าง หรือว่าเจ้าตัวเล็กไม่ชอบแสงต่าง ๆ รอบตัว เพราะอาจเป็นไปได้ว่าลูกน้อยของคุณมีความไวต่อการสัมผัส แสง และกลิ่นนั่นเองค่ะ
ทารกไวต่อการสัมผัส
การสัมผัสเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ตามปกติ ซึ่งระบบนี้ที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งที่สุด แม่ลูกผูกพันกันผ่านสัมผัส นี่คือวิธีที่เราเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดมากที่สุด
การสัมผัสความรู้สึกต่าง ๆ ยังทำหน้าที่ในเรื่องของการป้องกันได้อีกด้วย เช่น เราตระหนักได้ว่าสิ่งต่าง ๆ เช่น ไฟเป็นอันตราย โดยผ่านความรู้สึกร้อนหรือความเจ็บปวดที่สัมผัสได้
เด็กทารกที่มีความไวต่อการสัมผัสยังสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากคนอื่น ๆ เช่น สิ่งที่เราสัมผัสได้ราบรื่นปกติแต่เด็ก ๆ อาจจะรู้สึกไม่ชอบหรือเจ็บได้ ผลที่ได้คือลูกน้อยอาจงอแง ร้องไห้ หรือพยายามหนีจากสิ่งสัมผัสนั้น
การที่เด็กมีความไวต่อการสัมผัสไม่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือเด็กมักจะป้องกันตัว เขาจึงไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์และจะเสียสมาธิอย่างมาก
สิ่งที่บ่งบอกว่าทารกไวต่อการสัมผัส
- ตอบสนองอย่างมากต่อความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่ไม่สังเกตหรือรู้สึก
- ร้องไห้เพราะสิ่งที่สัมผัสตัวเด็กกำลังทำให้เด็กน้อยไม่สบายตัว
- แสดงให้เห็นว่าเสื้อผ้าที่ใส่ไม่สบายผิว
- อยากให้คุณเอาป้ายในเสื้อทั้งหมดออกจากเสื้อผ้า
- จะไม่กินอาหารบางชนิดเพราะเนื้อสัมผัสของมัน
- ไม่ยอมให้คุณหวีหรือสระผม ตัดเล็บ หรือแปรงฟันของเขา
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติทางการแพทย์หลายอย่างที่มักมีความไวต่อการสัมผัสเป็นส่วนหนึ่ง ได้แก่
- แอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
- ออทิสติก
- ADHD
- ไบโพลาร์
- ดาวน์ซินโดรม
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้
- พัฒนาการล่าช้า
สาเหตุที่ทารกไวต่อการสัมผัส
เช่นเดียวกับความผิดปกติอื่น ๆ ของสมองและการทำงานของระบบประสาทที่ซับซ้อน ซึ่งยังไม่ทราบว่าเหตุใดเด็กและผู้ใหญ่จึงมีความผิดปกติเกี่ยวกับประสาทสัมผัส ในทางการแพทย์เมื่อเราไม่รู้สาเหตุของโรค คำตอบของแพทย์คือ ยังไม่ทราบสาเหตุนั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุของการรบกวนในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส มีสมมติฐานบางอย่าง การวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าความผิดปกติอาจอยู่ในซีรีบลัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ทำให้ประสาทสัมผัสทำงานผิดปกติ
แก้ปัญหาอย่างไร
การรักษาความไวต่อการสัมผัสมักจะทำภายใต้การดูแลของนักบำบัด หากรู้สึกว่าลูกของคุณอาจไวต่อการสัมผัส ก่อนอื่นคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับความกังวลเรื่องนี้ และพยายามขอส่งต่อไปยังนักบำบัดในเด็กเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา พวกเขาจะจัดการแผนการรักษาลูกน้อยและสอนสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ที่บ้านเพื่อช่วยเหลือลูกน้อย
ความไวต่อการสัมผัสเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อเด็ก มักจะเกิดร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ADHD โรคไบโพลาร์ และความผิดปกติอื่น ๆ ในวัยเด็กและเรื่องของพัฒนาการ
หากคุณรู้สึกว่าลูกน้อยของคุณอาจมีอาการเช่นนี้ เจ้าตัวเล็กควรได้รับการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยแพทย์และนักบำบัดที่ได้รับการฝึกฝนเรื่องการบูรณาการทางประสาทสัมผัสและการวางแผนการเคลื่อนไหวจะดีที่สุดค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : พัฒนาการสื่อสารเด็กทารก สังเกตสัญญาณต่าง ๆ ของลูกน้อย พัฒนาการสมวัย
ทารกไวต่อแสง
ความไวต่อแสงในเด็กมักถูกมองข้าม แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กน้อยมากนัก เด็กอาจรู้สึกไวต่อแสงด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะเรื้อรัง ตั้งแต่ไมเกรนไปจนถึงการกระทบกระเทือน หรือแม้แต่โรคต้อหิน เราจะมาดูกันว่าอาการไวต่อแสงจะส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร
สาเหตุที่ทารกมีความไวต่อแสง
-
ความไวต่อแสงในเด็กอาจจะเป็นเพราะไมเกรน
จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าเด็กมากกว่าครึ่งที่เป็นโรคนี้มีอาการไวต่อแสงมาก นอกจากนี้การเจอกับแสงจ้า จะกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้เช่นกัน อันที่จริง เกือบ 53% เชื่อว่าแสงจ้าได้กระตุ้นอาการไมเกรน ซึ่งสอดคล้องกับตัวกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ความเครียด การอดนอน และเสียงดัง
ความผิดปกติทางสายตาและระบบประสาทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการถูกกระแทกมาเป็นเวลานาน โดยอาการไวต่อแสงเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่ง หลังจากได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น ผู้ป่วยเด็กมากกว่า 40% ต้องรับมือกับความไวต่อแสง ไม่น่าแปลกใจที่เด็กในเปอร์เซ็นต์ที่มากขึ้นอาจเริ่มสังเกตเห็นความอ่อนไหวเหล่านี้หลังจากสองสามวันแรก (แต่โดยปกติภายในหนึ่งสัปดาห์) และเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ยังคงมีอาการไวต่อแสงในสี่สัปดาห์ต่อมา นอกจากนี้ ความไวต่อแสงยังเป็นอาการหลักของระยะหลังจากการถูกกระทบกระเทือนด้วย และอาจคงอยู่นานหลายเดือนหรือหลายปี
-
ความผิดปกติของพัฒนาการและประสาทสัมผัส
เด็กหลายล้านคนที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการและประสาทสัมผัสอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาเชิงลบต่อแสง สำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ ความไวต่อแสงมักไม่แสดงออกมาเป็นความเจ็บปวด แต่ก็ยังสามารถทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้
-
โรคลมบ้าหมู
มีโรคลมบ้าหมูที่ไวต่อแสงรูปแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่าโรคลมบ้าหมูจากแสง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยจะเป็นเด็กและวัยรุ่น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคลมชักมักมีความรู้สึกไวต่อแหล่งกำเนิดแสงที่กะพริบ เช่น
- วิดีโอเกม หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์และภาพยนตร์
- แสงไฟคล้ายไฟแฟลช เช่น จากคอนเสิร์ตหรือยานพาหนะฉุกเฉิน
- แสงแดดโดยเฉพาะผ่านต้นไม้หรือเงาสะท้อน
- แสงฟลูออเรสเซนซ์
-
ความผิดปกติของดวงตา
การเชื่อมต่อระหว่างตาและสมองมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเริ่มมีอาการไวต่อแสง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่ปัญหาทางตาสามารถทำให้เกิดความรู้สึกไวต่อแสงในเด็กได้ ซึ่งอาจหมายถึงการเกากระจกตาเป็นครั้งคราว เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น พวกเขาสามารถรู้สึกไม่สบายตา มีน้ำตาไหล ตาแดง ระคายเคืองและไวต่อแสง แม้ในกรณีที่ไม่มีการบาดเจ็บโดยตรง สภาพของดวงตาที่ได้รับการวินิจฉัยในผู้ป่วยอายุน้อยก็สามารถทำให้เกิดการแพ้แสงจ้าได้ ตัวอย่างเช่น มีโรคต้อหินในวัยเด็กประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อยและทำให้รูม่านตาขยายใหญ่และมีความไวต่อแสง
-
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังบวม นอกจากอาการคลื่นไส้ และปวดศีรษะรุนแรงแล้ว ผู้ที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบยังสามารถรู้สึกไวต่อแสงได้อีกด้วย อันที่จริง อย่างน้อยสองในสามของผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีความไวต่อแสง เมื่อใดก็ตามที่มีอาการบวมในและรอบ ๆ สมอง ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทสามารถพัฒนาได้ ซึ่งรวมถึงอาการหลังการติดเชื้อ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นไมเกรน เช่น ความรู้สึกไวต่อแสง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?
การรักษาความไวต่อแสงในเด็ก
การรักษาด้วยยา อาจมีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้ยาเพื่อรักษาเด็กที่มีอาการเรื้อรังเนื่องจากผลข้างเคียง นอกจากนี้ ยาบางชนิดอาจทำให้การแพ้แสงแย่ลง เช่น methylphenidate (เช่น Ritalin) สำหรับ ADHD
แว่นตาสีพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับคนที่มีความไวต่อแสง ซึ่งช่วยลดแสงที่ทำให้ตาเด็กแย่ลง
ทารกไวต่อกลิ่น
เมื่อลูก ๆ ของคุณปิดปากหรืออาเจียนเพราะไวต่อกลิ่นโดยเฉพาะกลิ่นจากอาหาร ถ้าคุณแม่เคยเห็นลูกปิดจมูกหรือทำท่าคล้ายจะอาเจียนหรือสำลัก อาจจะเป็นเพราะว่าเจ้าตัวเล็กกำลังเหม็นกลิ่นอาหารเพราะมีจมูกที่ไวต่อกลิ่นนั่นเองค่ะ
เกิดอะไรขึ้น ทำไมลูกน้อยถึงไม่ชอบกลิ่นต่าง ๆ ?
ในฐานะคนเป็นแม่ เรามักจะประหลาดใจเมื่อเห็นลูก ๆ ของเราปิดปากปิดจมูก สัญชาตญาณของพ่อแม่ทุกคนกำลังบอกว่ามีบางอย่างผิดปกติมาก สำหรับคุณแม่ที่เคยมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นขณะตั้งครรภ์ นั่นก็เป็นเพราะฮอร์โมนของคุณแม่ ซึ่งการได้กลิ่นของเด็ก ๆ อาจมีความรู้สึกไวพอ ๆ กัน กลิ่นหรือประสาทสัมผัสการรับกลิ่นนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละคน และเช่นเดียวกับประสาทสัมผัสแต่ละอย่างของเรา เราอาจมีความตระหนักในเรื่องนี้ได้ไม่ดีนัก
สำหรับเด็กที่ไวต่อกลิ่นมาก กลิ่นที่ดูเหมือนเล็กน้อยมากสำหรับเรา อันที่จริงแล้วอาจค่อนข้างแรงสำหรับลูกของเรา และการตอบสนองตามธรรมชาติของเราต่อกลิ่นคือการปิดปากหรือทำหน้าบูดบึ้ง ย่นจมูก นี่ถือเป็นเรื่องปกติ
สำหรับเด็กบางคนที่ชอบเลือกกิน หมายความว่าหากเด็กเลือกรับประทานอาหารเดิม ๆ มากจนแทบไม่กินอาหารอย่างอื่นเลย กินอาหารได้ไม่หลากหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เองอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไวต่อกลิ่นได้ เพียงเพราะขาดการสัมผัสกับอาหารชนิดอื่น ๆ
วิธีแก้ไขปัญหาเด็กน้อยที่มีความไวต่อกลิ่น
- เข้าใจลูก เห็นอกเห็นใจและอดทน ไม่ให้เด็ก ๆ ฝืนต่อกลิ่นที่ลูกไม่ชอบ แล้วในอนาคตค่อยลองให้ลูกลองดมกลิ่นนั้นอีกครั้ง อาจจะต้องใช้เวลานานหน่อยนะคะ
- เปิดหน้าต่างระบายอากาศ ช่วยกลิ่นจางลงและช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย
- ทำอาหารด้วยกัน กลิ่นอาหารมักจะรุนแรงขึ้นเมื่อปรุง แต่เมื่อลูกของคุณช่วยคุณเตรียมอาหาร พวกเขามีโอกาสที่จะอุ่นเครื่องตามกลิ่นอย่างช้า ๆ นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้คุณได้พูดคุยเกี่ยวกับกลิ่นและกลิ่นของสิ่งของต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องเทศ ผัก ผลไม้ต่าง ๆ
- เล่นดมกลิ่น ให้เจ้าตัวเล็กได้ลองดมกลิ่นอาหารต่าง ๆ และให้คะแนนแต่ละกลิ่นว่ามีกลิ่นมากแค่ไหน รวมไปถึงกลิ่นของดอกไม้ชนิดต่าง ๆ กลิ่นน้ำหอม
ความไวต่อการสัมผัส แสง และกลิ่นหากมีมากเกินไปจนดูผิดปกติ การปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุดนะคะ หากลูกน้อยมีอาการใด ๆ ที่ดูไม่น่าไว้วางใจละก็รีบพบคุณหมอ เพื่อที่คุณหมอจะได้ทำการวินิจฉัยได้อย่างตรงจุด และถ้าหากรู้ว่าเป็นอะไรแล้วจะได้ทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เคล็ดไม่ลับ พัฒนาการเรียนรู้ทารก วัย 6 เดือนขึ้นไป มีอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องรู้
เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?
การถดถอยของการนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่แทบอยากร้องกรี๊ด
ที่มา : mhmatters , yourkidstable , theraspecs