ตาแฉะ ตื่นมาขี้ตาเขรอะ จะหาวิธีแก้ยังไงดี เป็นสัญญาณของโรคอะไรไหม

ตื่นขึ้นมาตกใจ ทำไมลูกน้อยมีขี้ตาเขรอะเต็มตา ลูกตาแฉะ จะหาวิธีแก้อย่างไรดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาขี้ตาเยอะ ตาแฉะ มักเกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิด ส่งผลให้เด็กบางรายไม่สามารถลืมตาได้เมื่อตื่นในตอนเช้า เนื่องจากเด็กแรกเกิดท่อน้ำตายังขยายไม่เต็มที่ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดท่อน้ำตาอุดตันในเด็กตามมาได้ ขี้ตาเยอะ ตาแฉะ เกิดจากอะไร มาดูกัน

 

ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร อาการตาแฉะเกิดจากอะไร

  • ขี้ตาเกิดจาก ตาแฉะ อาจเกิดได้จากการหยอดตาหรือป้ายยาให้กับทารกหลังคลอด ที่ส่งผลให้ทารกบางคนมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล ขี้ตาเยอะ หรือก่อให้เกิด ตาแฉะ ขึ้นมาได้
  • ขี้ตาเกิดจาก เกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิดบางรายที่ท่อน้ำตาธรรมชาติอาจยังไม่เปิดหรือเปิดช้า เมื่อร่างกายมีการสร้างน้ำตาออกมาแต่ไม่มีที่ระบายออก ก็อาจทำให้เกิดน้ำตาไหลคลอเบ้า ทำให้ตาแฉะได้ ซึ่งท่อน้ำตาอาจจะเปิดไม่พร้อมกันทำให้ทารกบางคนก็ตาแฉะเพียงข้างเดียวหรือสองข้าง
  • เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการการดูแลรักษาความสะอาดไม่ดี ส่งผลให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ ทำให้ลูกมีขี้ตามาก ตาแฉะ และถ้ามีอาการมากก็อาจทำให้เป็นหนองที่หัวตาได้
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ กระจกตาอักเสบ แผลถลอกที่กระจกตา หรือมีสิ่งแปลกปลอมในตา

 

เมื่อลูกตาแฉะ ขี้ตาเยอะ ตาแฉะข้างเดียว จะหาวิธีแก้ยังไงดี?

  • ทำความสะอาดดวงตาของลูกข้างที่มีขี้ตาหลังอาบน้ำ ด้วยการนำสำลีชุบน้ำอุ่นที่ต้มสุก เช็ดเบา ๆ โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา 1 ครั้งแล้วทิ้งไป จากนั้นนำสำลีแผ่นใหม่ ชุบน้ำอุ่น เช็ดเบา ๆ บริเวณรอบดวงตาอีกครั้ง แล้วทิ้ง
  • ใช้ผ้าสะอาดซับรอบบริเวณดวงตาของลูกให้แห้ง
  • ควรเช็ดตาลูกวันละ 2-3 ครั้งหรือเวลาที่ลูกตาแฉะ มีขี้ตาเยอะ
  • ใช้วิธีนวด โดยใช้นิ้วชี้กดที่หัวตาตรงบริเวณระหว่างหัวตากับสันจมูก แล้ววนนิ้วลงเบา ๆ ลากมาตามข้างสันจมูกเพื่อสร้างแรงดันไปดันเจ้าพังผืดที่ปิดรูทางออกของท่อน้ำตาให้ทะลุออกไป ทำอย่างน้อย 20 – 30 ครั้ง วันละ 4 รอบ เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน สามารถนวดในตอนที่ลูกหลับหรือทานนมเพื่อจะทำได้ง่าย
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อมาหยอดตาเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อตามที่คุณหมอพิจารณา

 

อาการที่ทารกตาแฉะ หรือการเกิดท่อน้ำตาอุดตันในเด็กเป็นภาวะที่มักไม่มีอาการรุนแรง พบได้ประมาณ 30% ในเด็กทารก และประมาณร้อยละ 90 ท่อน้ำตาจะสามารถเปิดได้เองภายในอายุ 6 เดือน หรือดูแลอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากไม่ดีขึ้น คุณหมอตาจะพิจารณาให้การรักษาโดยการแยงท่อน้ำตาเมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบ ดังนั้นหากพบว่าลูกน้อยตาแฉะ มีขี้ตาเกรอะกรัง อาการยังไม่หาย คุณแม่เป็นกังวล ควรพาลูกไปพบคุณหมอจักษุแพทย์โดยเฉพาะ เพื่อตรวจหาสาเหตุยืนยันการวินิจฉัย จะปลอดภัยต่อดวงตาทารกมากที่สุดนะคะ อย่าปล่อยให้ลูกเรา ตาแฉะ นานจนเกินไปนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตาแฉะ ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร ตาแฉะ ตื่นมาขี้ตาเขรอะ จะหาวิธีแก้ยังไงดี ขี้ ตา ออก บ่อย

ปวดตา ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ

เป็นอาการเจ็บปวดในดวงตาที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบร้อน ปวดตุบ ๆ รอบดวงตา รู้สึกคล้ายโดนทิ่มแทงบริเวณดวงตา หรือรู้สึกเหมือนมีวัตถุแปลกปลอมอยู่ในดวงตา ซึ่งความผิดปกติอาจเกิดขึ้นบนพื้นผิวของดวงตาหรือโครงสร้างภายในดวงตา อาการปวดตาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตาแห้ง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ หรือเป็นไข้หวัด อาการส่วนใหญ่อาจหายได้เอง แต่หากอาการทวีความรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ตามแต่กรณี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการปวดตา 

อาการปวดตาอาจครอบคลุมถึงอาการเจ็บเหมือนโดนทิ่มแทง แสบร้อน ปวดตุบ ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของดวงตา เช่น กระจกตา เยื่อตา ม่านตา กล้ามเนื้อดวงตา เส้นประสาทในตา เบ้าตา ลูกตา หรือหนังตา เป็นต้น

 

ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ปรากฏขึ้นร่วมกับอาการปวดตาได้ เช่น

  • การมองเห็นแย่ลง
  • ตาไวต่อแสง
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในตา
  • ตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ
  • มีน้ำตาหรือขี้ตาที่ใส เหนียว หรือมีสีคล้ายหนองที่อาจบดบังดวงตาตอนตื่นนอนได้
  • ปวดศีรษะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยปวดตาและมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

  • ปวดตารุนแรง โดยเฉพาะเมื่อขยับลูกตา หรือปวดตาต่อเนื่องนานเกิน 2 วัน
  • มีปัญหากับการกลอกตา ลืมตา หรือหลับตา
  • รอบดวงตา หรือดวงตาบวม แดง
  • ปวดตาจากสารเคมี หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา
  • มองเห็นแสงกระจายเป็นรัศมีรอบ ๆ ดวงไฟ
  • มองเห็นไม่ชัด
  • มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

สาเหตุของอาการปวดตา

อาการปวดตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบ การติดเชื้อบริเวณดวงตา อาการเจ็บป่วยหรือสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • อาการตาล้า
  • ตาแห้ง
  • โรคตาแดง
  • ดวงตาได้รับการบาดเจ็บ เช่น เป็นแผล ถูกไฟไหม้ หรือโดนวัตถุกระเด็นเข้าตาจากอุบัติเหตุ
  • มีวัตถุแปลกปลอมในดวงตา
  • กระจกตาถลอก
  • อาการอักเสบบริเวณเปลือกตา ม่านตา กระจกตา ตาขาว ผนังลูกตา หรือประสาทตา เป็นต้น
  • ตากุ้งยิง
  • ภาวะหนังตาม้วนออกด้านนอกหรือม้วนเข้าด้านใน
  • โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน
  • ท่อน้ำตาอุดตัน
  • ปัญหาจากคอนแทคเลนส์ เช่น อาการระคายเคือง
  • ปัญหาจากโรคไซนัส เนื่องจากไซนัสอาจทำให้เกิดแรงกดด้านหลังลูกตา จนเกิดอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างได้
  • ปวดศีรษะไมเกรน หรือปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)
  • ปวดกราม
  • โรคภูมิแพ้
  • ไข้หวัด

 

การวินิจฉัยอาการปวดตา

การเลือกวิธีวินิจฉัยอาการปวดตาอาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวดตาที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่มากที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์อาจสอบถามถึงระยะเวลาที่เริ่มปวดตา และถามถึงอาการอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับอาการปวดตา เช่น อาการไวต่อแสง คลื่นไส้ หรืออาเจียน โดยผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากเป็นผู้ที่ใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ เคยผ่าตัดดวงตา หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณดวงตา และควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาที่กำลังใช้ และอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ของตนก่อนเริ่มรับการวินิจฉัยอื่น ๆ หลังจากนั้น แพทย์อาจวัดสายตา โดยให้ผู้ป่วยอ่านตัวเลขและตัวหนังสือบนแผ่นตรวจตา เพื่อตรวจการมองเห็นของสายตาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น

หากแพทย์วินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยรุนแรงมากกว่าอาการตาแดงหรือตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจถูกส่งตัวไปพบจักษุแพทย์ต่อไป เพื่อรับการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น

  • การตรวจวัดความดันลูกตา เพื่อตรวจหาต้อหิน ซึ่งแพทย์อาจใช้ยาชาหยอดตาก่อนเริ่มวินิจฉัย
  • การตรวจโดยใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ชนิดลำแสงแคบ เพื่อตรวจหาอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบบริเวณดวงตา ซึ่งอาจต้องหยอดสีเพื่อหาความเสียหายอื่น ๆ ที่กระจกตาเพิ่มเติม เช่น การหยดสารฟลูออเรสซีน เพื่อหาความเสียหายที่กระจกตาและสิ่งแปลกปลอมในตา เป็นต้น

 

การรักษาอาการปวดตา

วิธีรักษาอาการปวดตาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ และหากอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

  • พักสายตา โดยการงดใช้สายตาในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้สายตามาก รวมถึงควรหลีกเลี่ยงแสงจ้าด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ล้างตา การใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดดวงตา หรือใช้น้ำอุ่นล้างดวงตา อาจช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอมและบรรเทาอาการปวดตาได้ แต่หากล้างตาด้วยน้ำสะอาดแล้ววัตถุแปลกปลอมยังค้างอยู่ในตา ห้ามขยี้ตาและห้ามให้ผู้อื่นช่วยนำวัตถุดังกล่าวออก เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง โดยผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมแทน

 

  • หยอดน้ำตาเทียม การหยอดน่้ำตาเทียมอาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา และบรรเทาอาการปวดตาได้ในบางกรณี ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงการใช้น้ำตาเทียมในปริมาณที่เหมาะสม

 

  • ใส่แว่นตา สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ อาจลองเปลี่ยนมาใส่แว่นตาก่อนสัก 2-3 วัน เพื่อสังเกตว่าอาการปวดตาดีขึ้นหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : แว่นตา เลือกยังไงให้เหมาะกับเด็ก เด็กสายตาสั้นต้องใส่แว่นตาแบบไหน

 

  • ใช้ยาแก้แพ้ ทั้งชนิดที่ใช้หยอดตาหรือชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวดตาที่อาจเกี่ยวข้องกับการแพ้

 

  • รับประทานยาแก้ปวด ยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ยาไอบูโพรเฟน อาจช่วยลดอาการปวดบวมและลดไข้ได้ แต่ยาอาจมีผลข้างเคียงทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง และห้ามให้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน

 

ทั้งนี้ หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการ และทำการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ตามแต่กรณี เช่น ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์ รวมถึงอาจทำการผ่าตัด เพื่อรักษาแผลไหม้ หรือแผลที่มีความเสียหายจากวัตถุหรือมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ไม่บ่อยนัก

 

ขี้ ตา ออก บ่อย ขี้ตาเยอะเกิดจากอะไร ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ

 

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดตา

โดยปกติ อาการปวดตามักไม่รุนแรง อาการอาจหายได้เองหรือบรรเทาอาการได้เองที่บ้าน แต่หากอาการทวีความรุนแรงแล้วไม่ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายขึ้น จนทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น หรืออาจตาบอดได้

 

การป้องกันอาการปวดตา

วิธีการป้องกันอาการปวดตาอาจขึ้นอยู่กับแต่ละสาเหตุ แต่บางสาเหตุก็ไม่สามารถป้องกันได้

 

อย่างไรก็ตาม โดยผู้ป่วยอาจป้องกันอาการปวดตาในเบื้องต้นได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

  • พักสายตาจากหน้าจอต่าง ๆ เช่น จอโทรศัพท์มือถือ จอทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ ให้พักสายตาทุก ๆ 20 นาทีด้วยการมองไปที่ไกล ๆ ในระยะ 6 เมตรนาน 20 วินาที ก่อนกลับมาใช้จออีกครั้ง รวมถึงเลือกใช้จอที่ป้องกันแสงสะท้อน หรืออาจปรึกษาแพทย์ถึงการใช้แว่นตาเฉพาะสำหรับการมองหน้าจอ

 

  • สวมแว่นตา เพื่อป้องกันดวงตาถลอก ไหม้ และป้องกันวัตถุแปลกปลอมหรือสารเคมีต่าง ๆ เข้าตา โดยเลือกประเภทของแว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ใช้แว่นนิรภัยเมื่อต้องตัดหญ้า ทำความสะอาดของใช้ในครัวเรือน หรือขณะใช้ผงซักฟอก เป็นต้น ส่วนผู้ที่ทำงานก่อสร้าง เชื่อมโลหะ ทำงานเกี่ยวกับยานยนต์ หรือสารเคมีอันตรายอย่างยากำจัดแมลง ควรสวมแว่นตานิรภัยที่ออกแบบโดยเฉพาะ

 

  • ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป และควรสลับใส่แว่นตาบ้างบางครั้งเพื่อพักสายตา

 

  • หลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้ หากอาการปวดตาเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้สารที่ทำให้เกิดอาการแพ้

 

  • เลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ทำให้เกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมได้

 

  • บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกบริโภคผักหรือผลไม้ที่เป็นสีเขียวหรือสีเหลืองส้มเข้ม และควรบริโภคปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาชนิดอื่น ๆ ที่อาจช่วยบำรุงดวงตาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินคอลลาเจนตอนท้องได้ไหม คุณแม่กินสารอาหารบำรุงผิวอะไรได้บ้าง?

 

  • พบจักษุแพทย์เป็นระยะ โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาบางโรค เช่น โรคต้อหิน อาจไม่ปรากฏอาการใด ๆ เลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอาจช่วยให้แพทย์ตรวจพบและรักษาโรคดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

ยาหยอดตาเด็ก ใช้ได้ตั้งแต่อายุเท่าไร? ควรดูแลดวงตาลูกน้อยอย่างไร?

ตาบอดสีในเด็ก เกิดจากอะไร? มีวิธีรักษาหรือวิธีแก้อย่างไร?

ลูกตาเหล่ ลูกตาเข วิธีแก้ตาเหล่ รักษาอย่างไร ควรปรึกษาใครดี

ที่มาจาก : pobpad

บทความโดย

Napatsakorn .R