เจลอาบน้ำ สำหรับเด็ก ควรเลือกซื้ออย่างไร สบู่แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ อาจกำลังมองหาผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะยังไม่รู้ว่า เจลอาบน้ำ แบบไหนที่ดีต่อผิวลูก ใช้แล้วปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายแก่ลูกน้อย วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคน ไปรู้จักวิธีการเลือกเจลอาบน้ำที่ถูกต้อง และเจลอาบน้ำที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็ก ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันค่ะ

 

เจลอาบน้ำ สำหรับเด็กสำคัญอย่างไร?

เจลอาบน้ำเด็ก เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะการใช้เจลอาบน้ำนั้น เป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ใหญ่ ก็อาจเสี่ยงต่อสารเคมีบางชนิดที่อาจระคายเคืองผิวลูกได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำหอม พาทาเลต หรือพาราเบน เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอันตรายแก่ผิวเด็ก จึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากลูกเกิดอาการแพ้เจลอาบน้ำ เช่น มีผื่นคัน ผื่นลอกแดง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ลูกเลิกใช้เจลอาบน้ำนั้นทันที และรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จักวิธีการเลือกเจลอาบน้ำที่ถูกต้อง และวิธีการอาบเด็กอย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูก

 

วิธีเลือก เจลอาบน้ำ สำหรับลูกน้อย

สำหรับการเลือกเจลอาบน้ำให้แก่ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโดยเฉพาะ และต้องไม่มีสารเคมีที่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ ระคายเคืองได้ โดยปัจจัยในการเลือกเจลอาบน้ำสำหรับเด็ก มีดังต่อไปนี้

  • อ่านฉลากก่อนซื้อสินค้า : คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากอย่างถี่ถ้วน ก่อนซื้อเจลอาบน้ำทุกครั้ง โดยต้องเลือกเจลที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี และน้ำหอมที่อาจระคายเคืองต่อผิว และการหายใจของลูก ซึ่งบางยี่ห้ออาจระบุไว้บนฉลากว่าเป็นสูตรอ่อนโยน สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ และระคายเคืองได้
  • เลือกเจลอาบน้ำเด็กที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ : การเลือกเจลอาบน้ำที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะกอก ว่านหางจระเข้ หรือเชียบัตเตอร์ จะมีคุณสมบัติที่อ่อนโยนต่อผิว ทำให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย
  • หลีกเลี่ยงสารสกัดบางอย่าง : เจลอาบน้ำบางยี่ห้อ อาจมีสารสกัดบางอย่างที่เป็นอันตรายแก่ผิวลูก เช่น สารกลุ่มพาทาเลต ที่เป็นวัตถุกันเสียที่ใช้ในสบู่ และเจลอาบน้ำ และสารสกัดพาราเบน ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการ และการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายเด็ก
  • ทดลองใช้กับผิวลูกก่อนใช้จริง : หลังจากคุณพ่อคุณแม่ซื้อเจลอาบน้ำเด็กมาแล้ว ให้ลองไปทดสอบกับผิวลูกก่อนใช้เล็กน้อย โดยอาจหยดลงบนแขน เพื่อดูว่าลูกมีอาการแพ้ ระคายเคือง หรือคันหรือไม่ หากลูกมีอาการแพ้ขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ก็ควรงดใช้เจลอาบน้ำนั้นโดยทันที
  • ไม่เลือกสูตรที่มีส่วนผสมหลากหลาย : เจลอาบน้ำบางยี่ห้อ อาจมีส่วนผสมที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะช่วยทำความสะอาดผิวได้ดีกว่า อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารเคมีที่มากกว่าเจลอาบน้ำเด็กทั่วไปอีกด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีส่วนผสมหลากหลาย ก็จะปลอดภัยกับผิวของลูกน้อยมากกว่าค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเลือก สบู่เด็ก เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย

 

 

เจลอาบน้ำแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เจลอาบน้ำที่มีส่วนผสมมากมาย ที่อาจเป็นอันตรายแก่ผิวของลูกน้อย หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ทันตรวจสอบสารเคมีต่าง ๆ ก็อาจส่งผลให้ลูกเกิดอาการแพ้ และระคายเคืองได้ เรามาดูเจลอาบน้ำเด็กที่ควรหลีกเลี่ยงกันดีกว่าค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เจลอาบน้ำ ที่มีน้ำหอม และพาทาเลต

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจเลือกเจลอาบน้ำที่มีกลิ่นหอมให้แก่ลูก เพราะอยากให้ลูกตัวหอม อย่างไรก็ตาม กลิ่นหอมเหล่านั้นอาจมีส่วนผสมของน้ำหอมสังเคราะห์ ที่อาจทำให้ลูกเกิดอาการระคายเคือง และเกิดโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ เนื่องจากส่วนผสมของน้ำหอม มักมีสารพาทาเลตที่อาจเป็นอันตรายแก่ผิวของลูกน้อย

 

  • เจลอาบน้ำ ที่มีพาราเบนส์

พาราเบนส์ในเจลอาบน้ำ เป็นสารกันเสียที่ถือว่าเป็นสารเคมีอันตรายชนิดหนึ่ง โดยสารนี้มักพบอยู่ในสบู่ และแชมพูของเด็ก รวมทั้งผลิตภัณฑ์ของผู้ใหญ่ หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกใช้เจลอาบน้ำที่มีส่วนของสารชนิดนี้ ก็อาจทำให้ลูกเกิดอาการระคายเคือง ไวต่อการแพ้ และยังทำให้เด็ก และผู้ปกครองเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอีกด้วย

 

  • เจลอาบน้ำ ที่มีสาร SLS

เจลอาบน้ำเด็กที่มีสาร SLS หรือ Sodium Lauryl Sulfate มักช่วยทำให้เกิดฟอง ลดแรงตึงของผิว และช่วยชำระสิ่งสกปรกได้ดี อย่างไรก็ตาม สารชนิดนี้มักทำให้เกิดอาการแพ้ และระคายเคืองได้มากที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกใช้นาน ๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคไต และโรคระบบทางเดินหายใจได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เจลอาบน้ำ ที่มีฟอร์มาลดีไฮด์

อีกหนึ่งเจลอาบน้ำที่ควรหลีกเลี่ยง คือเจลที่มีส่วนผสมของฟอร์มันดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่มักพบในแชมพูของเด็ก โดยสารชนิดนี้สามารถตกค้าง และสะสมในร่างกายของลูกน้อย ทำให้เกิดการรบกวนการทำงานของเซลล์ เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : สบู่อาบน้ำเด็ก แนะนำสบู่เหลวอาบน้ำ อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองสำหรับลูกน้อย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีอาบน้ำเด็กอย่างปลอดภัย

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจกำลังกังวลใจในการอาบน้ำลูก เพราะกลัวว่าน้ำจะกระเด็นเข้าตา เข้าหู หรือเข้าจมูกลูก ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ วันนี้เรามีวิธีอาบน้ำเด็กอย่างปลอดภัยมาฝากค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปทำตามกันได้เลยนะคะ รับรองว่าการอาบน้ำลูกจะเป็นเรื่องง่ายอย่างแน่นอน

  • ตรวจสอบความปลอดภัยในห้องน้ำ

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นตรวจสอบความปลอดภัยในห้องน้ำทุกครั้ง และควรเก็บของใช้ภายในห้องน้ำที่ใช้บ่อย ไว้บนชั้นที่เด็กเอื้อมไม่ถึง เช่น สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก และยาสระผม รวมทั้งควรเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ไดร์เป่าผม เครื่องโกนหนวด และเครื่องหนีบผม ไว้ในตู้ให้พ้นมือเด็ก นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังควรเก็บของมีคมต่าง ๆ และน้ำยาล้างห้องน้ำให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนำมาเล่นค่ะ

 

  • ติดตั้งอุปกรณ์กันลื่นในห้องน้ำ

เพื่อความปลอดภัยแก่เด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรติดตั้งอุปกรณ์กันลื่นไว้ในห้องน้ำด้วย เช่น แผ่นยางกันลื่น ขอบกันลื่น และอ่างน้ำที่มีฐานกันลื่น เพื่อความปลอดภัยระหว่างการอาบน้ำลูก และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้ฟองน้ำ

การใช้ฟองน้ำ อาจทำให้เกิดฟองสบู่เยอะ จนทำให้เกิดการระคายเคืองแก่ผิวลูกน้อย โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเจลอาบน้ำที่ไม่มีกลิ่น หรือฟองอ่อน ๆ และอ่อนโยนต่อผิวลูก เพื่อความปลอดภัยของผิวลูกน้อย นอกจากนี้หากคุณพ่อคุณแม่ใช้ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก ก็อาจเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย และเชื้อราที่เป็นอันตรายได้ ทางที่ดีควรทำความสะอาดก่อนใช้ทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยสูงสุดค่ะ

 

  • ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำ

ก่อนให้ลูกอาบน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบอุณหภูมิน้ำทุกครั้ง โดยอาจใช้หลังมือ หรือข้อศอกแตะน้ำ เพื่อทดสอบอุณหภูมิน้ำว่าสูงเกินไปหรือไม่ เพราะหากเผลอให้ลูกลงอ่างน้ำอุ่นจัด ก็อาจทำให้เกิดการลวกผิวลูกได้ ซึ่งอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมนั้น คือ ไม่เกิน 48 องศาเซลเซียสค่ะ

 

  • ให้ผู้ใหญ่เป็นคนอาบน้ำให้เด็ก

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจให้ลูกคนโตเป็นคนอาบน้ำ อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ และผู้ใหญ่ ควรเป็นคนอาบน้ำให้แก่ลูกมากกว่า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และพร้อมช่วยเหลือในทุกกรณี เช่น ลูกสำลักน้ำ ลื่นล้มในอ่าง หรือจมน้ำ เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ไม่ทิ้งเด็กไว้ตามลำพัง

ระหว่างอาบน้ำเด็ก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทิ้งลูกที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ให้อยู่ตามลำพังเป็นเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การสำลักน้ำ การจมน้ำ หรือการลื่นล้มในห้องน้ำได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังควรเตรียมของใช้ เช่น เจลอาบน้ำเด็ก ผ้าเช็ดตัว ให้อยู่ในระยะที่เอื้อมถึงได้ทุกครั้ง และไม่ควรเปิดน้ำใส่อ่างจนเกินไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกไม่ยอมอาบน้ำ ทำไงดี? ปัญหาปวดหัวของผู้ปกครองเมื่อลูกไม่ยอมอาบน้ำ

 

 

Mama’s Choice – Hair and Body Wash

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหน กำลังมองหาเจลอาบน้ำเด็กปลอดภัยสำหรับลูกน้อย เราขอแนะนำ Mama’s Choice Hair & Body Wash ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ และสระผมลูกน้อยจาก Mama’s Choice เจลอาบน้ำที่สามารถใช้ได้ทั้งตัว แถมยังเป็นสูตรอ่อนโยนที่มีสารสกัดธรรมชาติ ทำให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้เลยว่าปราศจากสารเคมีอันตรายทุกชนิด และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวลูกน้อยอย่างแน่นอน นอกจากนี้เจลอาบน้ำตัวนี้ยังสามารถทำความสะอาด และบำรุงผิวเด็ก ได้ดังต่อไปนี้

  • ทำให้ลูกอารมณ์ดี และสบายตัว
  • ฟองโฟมนุ่ม สามารถล้างออกได้ง่าย
  • ปกป้องผิวเด็กจากอาการระคายเคือง
  • บำรุงผิวลูกให้นุ่มชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน
  • ทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมลูก
  • ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา และผิวบอบบางของลูกน้อย

 

แม้ว่าเจลอาบน้ำเด็ก จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนสำหรับผิวลูกน้อย แต่ก็อาจมีส่วนผสมของสารเคมีบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ และระคายเคืองให้แก่ลูกน้อยได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาบน้ำสำหรับเด็กทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แชมพูเด็ก เบบี้แชมพูสำหรับเด็ก ยี่ห้อไหนดี อ่อนโยนต่อลูก

10 ฟองน้ำอาบน้ำทารก แบบไหนดี ไม่ระคายเคืองและบาดผิวลูก

6 สบู่เด็ก โลชั่น ที่เหมาะสำหรับผิวบอบบางของทารกตัวน้อยมากที่สุด

ที่มา : hellokhunmo, burtsbees

บทความโดย

Sittikorn Klanarong