น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน พ่อแม่รู้ไหมว่าลูกควรหนักและสูงแค่ไหน?

น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน และเกณฑ์ส่วนสูง เกณฑ์มาตรฐานน้ำหนักส่วนสูง น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน ควรควบคู่กันไปตามมาตรฐานของร่างกาย ตลอดจนเติบโตไปเป็นเด็กก่อนวัยเรียน ควรหนักเท่าไรบ้าง?

คุณพ่อคุณแม่ควรทราบว่า ทั้งรูปร่างและน้ำหนักของเด็กในแต่ละวัย ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 5 ปีนั้น สัดส่วนน้ำหนักส่วนสูง มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น จากทารกอ้วนกลม จ้ำม่ำน่ารัก ศีรษะใหญ่ ตัวใหญ่ แขนขาสั้นป้อมน่าทะนุถนอม ก็จะเริ่มยืดออก ส่วนทางของหน้าและศีรษะจะเล็กลง เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว พอเริ่มโตขึ้น แขน ขา และลำคอจะเรียวยาวขึ้น มือและเท้าใหญ่แข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

คราวนี้คุณพ่อคุณแม่ลองมาเช็ก เกณฑ์น้ำหนักลูก กันเลยดีกว่า ว่าลูกมี น้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐาน ตามอายุ น้ำหนักเด็ก ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน กราฟน้ำหนักทารก ตามเกณฑ์หรือไม่ เช็กกันเลยกับ ตารางเปรียบเทียบน้ำหนักส่วนสูง

 

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

สัดส่วนน้ำหนักส่วนสูง เด็กตามเกณฑ์

กราฟน้ำหนักทารก หรือ เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด น้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐานตามอายุ เริ่มจากทารกแรกเกิด จะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 2.5 – 4.5 กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณแรกคลอดอยู่ที่ 3 กิโลกรัม ต่อมา เข้าสู่ช่วงในช่วง 2-3 ปีแรก น้ำหนักของลูกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่พออายุ 4-7 ปี การได้เข้าเรียนในโรงเรียนจะทำให้ปริมาณน้ำหนักเพิ่มช้า เพราะต้องเรียนและทำกิจกรรม ประกอบกับระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายที่ทำงานอย่างเต็มที่

ทั้งนี้จนเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉลี่ยแล้วเด็ก ๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัมต่อปี วิธีการเพิ่มน้ำหนักของเด็กก่อนวัยเรียนควรเริ่มที่อาหาร โดยต้องให้เด็กทานอาหารครบ 5 หมู่ รวมถึงการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจกตาราง อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ในแต่ละช่วงวัย พร้อมวิธีทำ

 

ตาราง น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

 

น้ำหนักทารกในแต่ละเดือน โดยเฉลี่ยเป็นอย่างไร ?

  • อายุ 0 – 3 เดือน : น้ำหนักเด็กตามเกณฑ์ ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดเพิ่มขึ้นเดือนละ 700-800 กรัม และน้ำหนักทารกจะเพิ่มขึ้นโดยรวม 2-2.5 กิโลกรัมเมื่อเขาอายุ 3 เดือน
  • ทารก 4 – 6 เดือน : น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มเดือนละ 500-600 กรัม ประมาณเดือนละครึ่งกิโลกรัม ดังนั้น เมื่อวัดจากแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ลูกน้อยจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2 เท่า สามารถรับประทานอาหารอื่นได้นอกจากนมแม่
  • ทารก 7 – 9 เดือน : น้ำหนักจะค่อย ๆ เพิ่มเดือนละ 400 กรัม ลดลงจาก 2 เดือนที่แล้ว เดือนละ 100 กรัม เนื่องจากทารกมีภาวะยืดตัว รูปร่างเพรียวขึ้น
  • ลูกน้อย 9 – 12 เดือน : น้ำหนักช่วงนี้จะขึ้นน้อยลง ราวเดือนละ 300 กรัม เพราะเด็กเริ่มมีกิจกรรมมากขึ้น มีการเผาผลาญพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตที่รวดเร็วขึ้น เริ่มคันเหงือก ฟันขึ้นรำไร ช่วงนี้ไม่ต้องตกใจหากลูกอาจจะกลืนอาการเสริมได้น้อยลง เนื่องจากเขาอาจรำคาญฟัน
  • ลูกอายุ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ : น้ำหนักเด็กตามเกณฑ์ ตั้งแต่ขวบปีเป็นต้นไป เราอาจจะพบว่าลูกน้ำหนักขึ้นน้อย ไม่อ้วนกลมเหมือนตอนทารก ซึ่งน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 200 กรัมโดยประมาณ เพราะช่วงนี้เขามีความเปลี่ยนแปลงทางด้านส่วนสูง และฟันขึ้นหลายซี่แล้ว

 

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของทารก จนถึง 5-18 ปี

น้ำหนักมาตรฐานผู้หญิง และผู้ชาย น้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐาน ตามอายุ โดยปกติเด็กแรกเกิดจะมีพัฒนาการความยาวของลำตัวหรือส่วนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร

  • ทารกแรกเกิด – 6 เดือน : ทั้งเด็กผู้ชายและผู้หญิงควรสูงขึ้น อย่างน้อย 16-17 เซนติเมตร เฉลี่ยแล้ว ควรจะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นเดือนละ 2.5 เซนติเมตร
  • ทารก 6-12 เดือน : ควรสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 8 เซนติเมตร หรือเฉลี่ยแล้วสูงขึ้นเดือนละ 1.3 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 1-2 ปี : วันนี้จะยืดเป็นไปอย่างมาตรฐานกลาง ๆ ไม่พุ่งสูงหรือไม่อยู่กับที่ ดังนั้นประมาณ 1 ปี เด็ก ๆ จะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเดือนละ 1 เซนติเมตรหรือสูงขึ้น 10-12 เซนติเมตรภายใน 1 ปี
  • เด็กอายุ 2-5 ปี : พอเริ่มเข้าวัยเรียน พวกเขาจะมีความสูงขึ้น 6-8 เซนติเมตรต่อปี
  • เด็กอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ในวัยประถมศึกษา : ควรสูงขึ้น 6 เซนติเมตรต่อปี ถ้าสูงขึ้น น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ถือว่าต่ำกว่าปกติ ทั้งเด็กชาย และเด็กหญิงควรหาสาเหตุของความผิดปกติ

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนัก และส่วนสูงของลูกน้อย

น้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐาน ตามอายุ เราเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะใส่ใจต่อเรื่องโภชนาการของลูกเป็นพิเศษ เนื่องจากจะช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างโปรตีนและนม จะช่วยให้ลูกนั้นมีส่วนสูงที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ บวกกับกล้ามเนื้อที่กระชับแข็งแรง แต่ใช่ว่า อาหารจะเพียงพอต่อร่างกายของลูกเท่านั้น ยังต้องใส่ใจถึงสภาพแวดล้อมด้วยว่า คุณพ่อคุณแม่มีพื้นที่ให้ลูกออกกำลังกายหรือไม่ ลูกสามารถเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน ออกไปเล่นกับเพื่อนได้ไหม

ถ้าช่วงนี้ต้องอยู่แต่บ้าน เราจะสามารถให้ลูกเคลื่อนไหวได้อย่างไร เช่น กระโดด วิ่งเล่นไปมา นอกจากนี้ พันธุกรรมของคุณพ่อคุณแม่ ยังมีส่วนต่อรูปร่างของลูกด้วย เช่น หากครอบครัวเป็นคนเจ้าเนื้อหรืออ้วน เด็ก ๆ ก็จะมีแนวโน้มได้รับส่วนนี้มารวมไปถึงโรคเรื้อรังที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อย่าง โรคเบาหวาน เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ชี้เป้า 10 เครื่องชั่งน้ำหนักทารก วัดค่าแม่นยำ แสดงผลชัดเจน

 

 

ขนาดรอบศีรษะตามเกณฑ์ของเด็ก

ย้อนกลับมาเรื่องรอบศีรษะเด็กกันค่ะ เด็กเกิดใหม่มักจะจะมีศีรษะที่ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว

  • ทารกแรกเกิด : จะมีขนาดรอบศีรษะประมาณ 34 เซนติเมตร
  • ทารกอายุ 4 เดือน : ขนาดของศีรษะจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 เซนติเมตร
  • ลูกน้อยอายุ 6 เดือน : ขนาดศีรษะเท่ากับรอบอกของทารก
  • เด็กอายุ 12 เดือน : จะมีขนาดรอบศีรษะจะขยายขึ้นประมาณ 45 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 3 ปี : ขนาดศีรษะของเด็กจะโตเป็นร้อยละ 90 ของขนาดศีรษะผู้ใหญ่ หรือเกือบ ๆ เท่าผู้ใหญ่นั่นเอง
  • หลังจาก 3 ปี : ศีรษะเด็กจะสามารถวัดได้โดยรอบประมาณ 50 เซนติเมตร ศีรษะจะเจริญเติบโตได้ช้ามาก โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 เซนติเมตร ทุก 3 ปี จนอายุ 10 ปี ขนาดศีรษะของน้องจะโตขึ้นประมาณ 55 เซนติเมตร

ขนาดของศีรษะลูกจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของสมอง คือ ถ้าศีรษะของเด็กมีการเจริญเติบโตที่ปกติดี เท่ากับว่าเด็กก็จะมีการเจริญเติบโตของสมองที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นการส่งเสริมการเจริญเติบโตในช่วง 3 ปีแรก จึงมีความสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำหนัก ส่วนสูง อวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มเติบโต อย่างกระดูกและฟัน

เราจะสังเกตได้ว่า กระดูกของลูก ๆ เริ่มมีความแข็งแรง ฟันงอกตามวัย แต่ถ้าลูกโตช้า สูงช้า น้ำหนักตัวขึ้นช้า ไม่ต้องตกใจไปค่ะ ร่างกายคนเรามีระบบเผาผลาญและการเติบโตที่ไม่เท่ากัน เด็กผู้หญิงบางคนสูงเร็ว เด็กผู้ชายบางคนสูงช้า แต่พอวัยรุ่น เด็กผู้ชายมีความสูงแซงเด็กผู้หญิงไปแทบทุกคน

 

หากลูกน้ำหนักขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ทำอย่างไร

หากคุณแม่พบว่าน้ำหนักของลูกขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ สามารถใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกดังต่อไปนี้

  • ให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ : การนอนหลับพักผ่อนของเด็กทารกเป็นเรื่องสำคัญมาก หากคุณแม่อยากให้ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ก็ควรให้ลูกนอนกลางวันและนอนกลางคืนนานมากขึ้น
  • ให้ลูกกินนมบ่อยขึ้น : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกได้รับนมอย่างเพียง อย่าดึงปากลูกออกจากเต้านมจนกว่าลูกจะอิ่ม คุณแม่ควรให้ลูกกินนมบ่อยขึ้นเพราะนอกจากจะช่วยให้ลูกกินนมมากแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นน้ำนมให้คุณแม่อีกด้วย
  • ให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้น : สำหรับทารกที่กินอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่สามารถให้ลูกกินอาหารบ่อยขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้ลูกได้พลังงานเพิ่ม คุณแม่อาจจัดให้ลูกกินอาหารมื้อเล็ก ๆ ใน 1 วันหลายมื้อ พร้อมให้กินอาหารว่างและนม รับรองว่าน้ำหนักของลูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแน่นอน

 

 

หากลูกน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ทำอย่างไร

สำหรับคุณแม่ที่พบว่าลูกน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ สามารถใช้วิธีลดน้ำหนักลูกได้ดังต่อไปนี้

  • ไม่ให้ลูกกินมากเกินไป : หากคุณแม่ให้ลูกกินมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้ลูกอ้วนได้ การที่ลูกร้องนั้นไม่ได้แปลว่าจะหิวเสมอไป คุณแม่อาจลองพาลูกอุ้มเดินหรือเคลื่อนไหวไปมาก่อน ไม่ควรให้ลูกดื่มนมทันทีหลังตื่นนอน เพราะจะทำให้ลูกได้รับนมมากเกินไป
  • เลือกอาหารเสริมที่มีประโยชน์ : สำหรับเด็กที่สามารถกินอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าสารอาหาร พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารหวาน หรือน้ำหวาน เพราะอาจทำให้ลูกเกิดโรคอ้วนในอนาคตได้ค่ะ

 

การที่ลูกของเราจะเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่าเพิ่งร้อนใจ ให้ดูว่าเขาแข็งแรง สุขภาพจิตร่าเริงแจ่มใสไหม และไม่อ้วนไปหรือผอมไป แค่นี้ ลูก ๆ ของเราจะเติบโตไปอย่างสมบูรณ์ แต่ทั้งนี้หากดูแล้วมีความผิดปกติมากเกินไป ให้คุณพ่อคุณแม่ปรึกษากุมารแพทย์ น้ำหนัก ส่วนสูง มาตรฐาน ตามอายุ จะดีที่สุด

 

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตารางน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ แต่ละสัปดาห์เป็นยังไงบ้าง

วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง?

10 วิธีเพิ่มน้ำหนัก อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ลูกกินอะไรถึงจะน้ำหนักขึ้นอย่างปลอดภัย

ที่มา : thaihealth, baby.kapook, enfababy

บทความโดย

P.Veerasedtakul