X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการโคลิค Vs ความเชื่อโบราณ อะไรคือความจริง!! สิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องเจอ

บทความ 5 นาที
อาการโคลิค Vs ความเชื่อโบราณ อะไรคือความจริง!! สิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องเจออาการโคลิค Vs ความเชื่อโบราณ อะไรคือความจริง!! สิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องเจอ

คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคงเคยประสบปัญหาลูกน้อยในวัยทารก ที่มี อาการโคลิค ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุใช่ไหมคะ ร้องแบบรุนแรง ร้องนาน ร้องติดต่อกันหลายวันในเวลาเดิม ๆ  ตอนแรกอารมณ์ดี สักพักร้องไห้ขึ้นมา ทำเอาคุณพ่อคุณแม่ตกใจไม่น้อย พยายามหาสาเหตุแล้วว่าลูกร้องทำไม เจ็บปวดอะไรหรือเปล่า ไม่สบายตัวหรือเปล่า  แต่เมื่อเช็คดูแล้วก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ เข้าข่ายอาการที่เรียกกันว่า  “โคลิค”

 

อาการโคลิค เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเจอ !

เมื่อพูดถึงอาการนี้ แต่ละบ้าน แต่ละพื้นที่มีความเชื่อค่อนข้างแตกต่างกันไป บางบ้านมองเป็นในมุมของ “หลักวิทยาศาสตร์” ในทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า โคลิค และสำหรับบางบ้านค่อนข้างเชื่อในมุม หลักความเชื่อโบราณ ความเชื่อของคนโบราณมักจะบอกกันว่า ที่เด็กทารกมักจะร้องไห้อย่างรุนแรงนั้นเพราะเขาเห็นแม่ซื้อ หรือผี วิญญาณที่อยู่ใกล้ตัวมาแกล้งมาก่อกวน เราลองมาศึกษาเพิ่มเติมกันดูนะคะ เรื่องของความเชื่อ

 

อาการโคลิค

 

ในสมัยโบราณเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังเข้าไม่ถึง เวลาที่เด็ก ๆ ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ  ร้องเสียงดังและไม่ยอมหยุด ร้องในเวลาเดิม ๆ เชื่อต่อ ๆ กันมาว่าเด็กมองเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัว เช่น วิญญาณมากวน หรือ แม่ซื้อมาหยอกมาเล่นด้วย และเล่าต่อกัน มาถึงหลายสาเหตุ เช่น หนีมาเกิด , เด็กเห็นในสิ่งที่เราไม่เห็น , นมแม่เป็นพิษ , ดวงไม่ถูกกับพ่อแม่ , เป็นซาง (ไม่ว่าจะเป็นกินน้อย ไม่ยอมกิน ทั้งที่ไม่ได้เจ็บป่วย ไข้ ผื่น ถ่ายเหลว ถ่ายมีมูก ผื่นตามตัว
หลายคนถามว่าแม่ซื้อคือใคร บ้างก็บอกว่าแม่ซื้อ คือเทวดา หรือผีที่คอยดูแลเด็กทารก เชื่อกันว่าเด็กทุกคนที่เกิดมาต้องมีแม่ซื้อคอยดูแล เพื่อปกปักรักษา ไม่ให้เด็กเจ็บไข้ได้ป่วย บ้างก็บอกว่าแม่ซื้อ คือ แม่ในชาติก่อนที่ตามมาดูแลทารกน้อยที่มาเกิดในชาตินี้ เมื่อโตขึ้นมาพอช่วยเหลือตัวเองได้แม่ซื้อก็จะจากไปเอง ถึงแม้ว่าแม่ซื้อจะถือว่าเป็นพี่เลี้ยงทารกก็จริงอยู่ แต่ในบางครั้งก็ให้โทษได้เช่นกัน มีการแปลงเป็นสิ่งต่าง ๆ หลอกหลอนให้ทารกตกใจ หรือเจ็บป่วย

 

ดังนั้น เพื่อให้ทารกหายเป็นปกติ จึงต้องมีการจัดพิธี “ทำแม่ซื้อ” หรือ “เสียแม่ซื้อ” ขึ้น เพื่อให้เด็กทารกหายจากอาการสะดุ้งผวา ร้องไห้หนัก หรือการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เป็นอยู่ เรื่องของหลักวิทยาศาสตร์ โคลิค คือ การที่ทารกร้องไห้มีลักษณะที่รุนแรงเป็นพิเศษ ไม่เหมือนการร้องไห้แบบปกติธรรมดา เพราะไม่ว่าจะอุ้ม หรือปลอบ ร้องเพลง ให้กินนม ก็ไม่สามารถทำให้หยุดร้องได้ และสามารถร้องไห้ได้เป็นชั่วโมงๆ มักเป็นตรงเวลาทุกวันบางบ้านใช้เวลา 2 - 3 ชั่วโมง หรือ บางบ้านยาวนานถึง 3 - 5 ชั่วโมง ทำให้คุณพ่อคุณแม่เครียดไปตาม ๆ กัน ซึ่งทางวิทยาศาสตร์เรียกอาการเหล่านี้ว่า โคลิค คนไทยมักเรียกกันว่า “เด็กร้องร้อยวัน”

 

สาเหตุการเกิดโคลิค ?

  • พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็ก จัดอยู่ในกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก
  • มีอาการท้องอืดเนื่องจากเด็กกลืนอากาศขณะดูดนมเข้าไปมาก
  • ผู้ดูแลไม่สามารถทำให้เด็กเรอได้เพียงพอ อากาศในท้องจึงก่อให้เด็กเกิดอาการแน่นอึดอัดท้อง
  • เด็กอยู่ในท่านอนที่ไม่เหมาะสม ไม่สบายตัว
  • เด็กกินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  • ครอบครัวมีความเครียด ความวิตกกังวลมาก พบว่าความเครียดของแม่ตั้งครรภ์ทำให้เกิดโคลิค
  • เกิดในเด็กที่มีภาวะ/โรคกรดไหลย้อน
  • เกิดในเด็กที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ คือมีการเคลื่อนตัวของลำไส้มากเกินไป
  • ในเด็กที่มีทานนมแม่ แล้วแม่ทานอาหารที่ส่งผลผ่านน้ำนมทำให้ท้องอืด
  • เด็กที่บิดา มารดา มีปัญหาทางอารมณ์
  • ในเด็กที่ทานนมผง อาจจะทานนมที่ไม่เหมาะกับร่างกายของทารก นมบางสูตรจึงมีเขียนข้างกล่องว่า สำหรับเด็กที่เป็นโคลิค

 

อาการโคลิค

 

วิธีรักษาอาการโคลิค ?

  • ในทารกที่ดื่มนมแม่ แม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในทารก เช่น นมวัว ถั่วเหลือง บล็อกโคลี กะหล่ำปลี (ผัก 2 ชนิดนี้ทำให้เด็กทารกมีอาการท้องอืด หรือปวดท้องได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะของทารก)
  • ลดความเครียด ความกดดันในครอบครัว ให้พ่อแม่เข้าใจว่าโคลิคเป็นอาการที่เกิดชั่วคราวและจะหายได้เอง ในหลาย ๆ บ้านต่างรับมือกับอาการนี้ได้ไม่ดีพอ จากความเหนื่อยล้าที่สะสม อดหลับอดนอน เมื่อทารกร้องขึ้นมาไม่หยุด จึงก่อให้เกิดความเครียดขึ้นมาอีก
  • ในเด็กที่ต้องดื่มนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ อาจเลือกนมที่แพ้ได้น้อย หรือปรึกษาแพทย์ นมบางยี่ห้อจะมีสูตรที่เขียนข้างกล่องไว้โดยเฉพาะว่า สูตรลดอาการโคลิค
  • เมื่อให้ดื่มนม หรือน้ำจากขวด ระวังอย่าให้มีอากาศแทรกเข้าไปตรงบริเวณที่ดูดนม เพราะจะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากเกินไป
  • หลังป้อนนมเสร็จแล้ว ควรจับให้นั่ง หรืออุ้มพาดบ่าให้เรออย่างน้อย 15-20 นาที

 

การรักษาอาการโคลิคหรือร้องไห้ไม่หยุดนี้ค่อนข้างยาก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและอาจเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัยร่วมด้วย แต่ข้อสำคัญ คุณพ่อ คุณแม่ ต้องทำใจต้องใช้เวลา และอดทนในการดูแลเด็กทารกวัยแรกเกิด - 3 เดือน ที่มักจะมีอาการนี้อย่างใกล้ชิด ทำใจให้สบาย ๆ อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป คนในครอบครัวก็มีส่วนสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ ช่วยกันให้กำลังใจซึ่งกันและกันอย่างดี ก็จะสามารถจับมือกันผ่านปัญหานี้ไปได้แน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค

เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้

สิ่งที่พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง และไม่ควรทำเมื่อ เด็กมีอาการโคลิค

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Guest Post

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • อาการโคลิค Vs ความเชื่อโบราณ อะไรคือความจริง!! สิ่งที่พ่อแม่หลายคนต้องเจอ
แชร์ :
  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

    ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

app info
get app banner
  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

    ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ