ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมช่วงตั้งครรภ์แรก ๆ ถึงมีอาการปวดท้องน้อย บ่อยจนกลายเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับคุณแม่มือใหม่ ในช่วงแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ประมาณ 4 สัปดาห์หรือ 1 เดือน คุณแม่บางท่านอาจเพิ่งทราบว่า ตั้งท้อง ซึ่งจะมีอาการปวดหน่วง บริเวณท้องน้อยคล้ายคนมีประจำเดือน วันนี้ TAP มาชวนคุณแม่ ไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กัน ว่าทำไม ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย กันนะ เกิดจากอะไร ตามไปอ่านได้เลย

ท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย บ่อยมาก ควรทำอย่างไร

 

 

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดท้องน้อย จะเกิดกับผู้หญิงตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก เช่น 1-3 เดือน ช่วงไตรมาสแรกนั่นเอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่จะปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นกับพฤติกรรมของคุณแม่ค่ะ บางคนยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์จึงใช้ชีวิตประจำวันหนัก ๆ แบบที่เคยทำ เช่น เดินเร็ว ออกกำลังกายหนัก ชอบวิ่ง หรือเคลื่อนไหวเร็ว ๆ อย่างขึ้นลงบันได ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ปวดท้องมากขึ้น ไม่ว่าจะปวดบริเวณซ้ายหรือขวา คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จึงเป็นกังวล หลังจากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้ว จะเป็นอันตรายหรือไม่ เรามาดูกันว่า หากปวดบ่อย ๆ จะทำอย่างไรได้บ้าง

  • ก่อนอื่นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ควรหยุดกิจกรรมหนัก ทุกอย่าง หากยังปวดท้องน้อยอยู่ให้นั่งพัก หรือนอนสบาย ๆ จนรู้สึกร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น
  • หากปวดท้องน้อยตอนกลางคืน แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนท่านอนจากที่เคยนอนหงาย มานอนตะแคง โดยหาหมอนข้าง ก่ายหมอนไว้ หรือเปลี่ยนจากที่เคยนอนตะแคง มานอนหงายดูค่ะ
  • เวลาที่คุณแม่นั่งทำงาน หาหมอนขนาดเหมาะ ๆ สักใบหนุนหลังเอาไหว หรือเวลานั่งพักบนโซฟา ก็ให้เอาหมอนหนุนหลังล่างเอาไว้ค่ะ
  • ก่อนนอน แนะนำให้คุณแม่แช่น้ำอุ่น ใส่น้ำมันหอมระเหยที่ชอบ จะช่วยผ่อนคลาย บรรเทาความเหนื่อยล้าทางร่างกาย
  • แม้จะห้ามเดินไว ออกกำลังกายหนัก ๆ แต่คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ และควรทำเป็นประจำ เพราะวิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยของแม่ท้องอ่อน ๆ ได้ เช่น ลองการเดินเบา เล่นโยคะ ซึ่งอย่างหลังจะช่วยเรื่องการกำหนดลมหายใจด้วยค่ะ
  • เวลาว่าง ลองเอามือกดหน้าท้องเบา ๆ คล้ายการนวด และลูบให้รู้สึกอุ่นท้องคอยสังเกตอาการว่า ปวดมากแค่ไหน หากปวดติดต่อกันเป็นสัปดาห์จนทนไม่ไหว พร้อมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเสี่ยงภาวะแท้งคุกคาม แนะนำให้คุณแม่ไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง: เจ็บท้องน้อย ขณะตั้งครรภ์ ปวดอุ้งเชิงกราน ปวดจี๊ด ๆ จะเป็นอันตรายไหม

อาการปวดท้องน้อย เสี่ยงต่อภาวะใดบ้าง

 

 

ช่วงเวลาท้องอ่อน ๆ ปวดท้องน้อย ดูเหมือนเป็นโรคปกติ แต่จริง ๆ แล้ว คุณแม่อาจกำลังเสี่ยงอยู่กับโรคแทรกซ้อน หรือสัญญาณของภาวะอื่น ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นได้ เช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. คุณแม่ตั้งครรภ์อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกาย

ทั้งนี้คุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย อาจมีสาเหตุมาจากเกิดติดเชื้อในกระเพาะอาหารโดยไม่รู้ตัว มาจากอาหารการกินหรือบาดแผลในลำไส้ ซึ่งในบางกรณี เป็นอาการปวดจากโรคไส้ติ่งอักเสบ หรือหากมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ร่วมด้วย ก็อาจมาจากสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ใช่แพ้ท้องแล้วค่ะ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน

 

2. เสี่ยงต่อภาวะตั้งท้องนอกมดลูก

เป็นภาวะที่ไม่อยากให้เกิดกับคุณแม่ท่านใดเลยค่ะ การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้น ทำร้ายจิตใจคุณแม่หลายท่านมานักต่อนัก มีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติของตัวอ่อน ที่เข้าไปฝังตัวนอกโพรงมดลูก หรือบริเวณท่อนำไข่ ซึ่งการไปฝังตัวตรงนั้น ทารกหรือตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญเติบโตแล้วฝ่อไปในที่สุด นอกจากจะสูญเสียทารกไปแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อแม่ท้องอีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สัญญาณการตั้งท้องนอกมดลูก

  • ขณะท้องอ่อน คุณแม่อาจมีเลือดออก จนคิดว่าเป็นประจำเดือน มีโอกาสท้องนอกมดลูกได้ค่ะ
  • มีอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน จากที่ปวดตุบ ๆ บริเวณท้องน้อย จู่ ๆ อาจปวดมากจนทนไม่ไหวได้
  • มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ร่วมด้วย ซึ่งตรงนี้ คุณแม่ท้องอ่อน ๆ อาจคิดว่าตัวเองแพ้ท้องอยู่

 

การป้องกันการตั้งท้องนอกมดลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ปลอดโรค หากยังไม่พร้อมต้องสวมถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อจากคู่นอนได้ ควรรักเดียวใจเดียว
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะหากไม่ท้องนอกมดลูกฤทธิ์ของแอลกอฮอล์อาจทำให้ลูกพิการได้
  • เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด แม้กระทั่งสูดกลิ่นควันบุหรี่จากคนรอบข้างก็อันตรายมาก
  • หากมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูกหลายครั้ง ลองใช้เทคโนโลยีในการตั้งครรภ์อย่าง การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ดูค่ะ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้อย่างปลอดภัย

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาการ ปวดท้องน้อยเริ่มตั้งครรภ์ เป็นตอนตั้งครรภ์กี่สัปดาห์

 

3. ปวดท้องน้อย บ่อย ๆ อาจเกิดภาวะแท้งคุกคาม

 

 

การแท้งบุตรอีกหนึ่งประเภทที่น่าเศร้าคือ ภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ในช่วงไตรมาสแรก ยิ่งท้องอ่อน ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงแท้งคุกคามสูงในช่วง 3 เดือนแรก นอกจากนี้ ผู้หญิงที่มีสิทธิ์แท้งคุกคามถึง 15 % คือ คนที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เสี่ยงแท้งคุกคามถึง 30% เรียกว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นตามลำดับ นอกจากอาการปวดท้องน้อยแล้ว ยังสามารถเกิดภาวะรกลอกตัวบนผนังมดลูกอีกด้วย

สาเหตุรกลอกตัวบนผนังมดลูกเกิดจาก

  • ทารกน้อยมีการพัฒนาร่างกายอย่างผิดปกติ หมายถึงอวัยวะไม่สมบูรณ์นั่นเอง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีเนื้องอกในมดลูก
  • ผู้หญิงที่มีพังผืดในมดลูกหนา บริเวณโพรงและปากมดลูกขณะตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่เคยผ่านการแท้งบ่อย ๆ จนต้องทำการขูดมดลูกมาก่อน จนมดลูกบาง
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในช่องคลอด เช่น เป็นโรคหัดเยอรมัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ
  • คุณแม่เคยใช้ยาเสพติดประเภทรุนแรงมาก่อน เช่น โคเคน
  • คุณแม่ที่ติดสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรเลิกเสียก่อนตั้งครรภ์
  • ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรงดการดื่มคาเฟอีน พยายามลดจนไม่ดื่มเลย
  • คุณแม่สูบบุหรี่หรือรับสารนิโคตินจากคนรอบข้าง
  • คุณแม่ที่มีความกังวลสูง มีภาวะของโรคซึมเศร้า และเครียดจนเกินไป

มาฟังคุณหมอพูดกัน !

 

นอกจากนี้ภาวะแท้งลูก ไม่ว่าจะท้องนอกมดลูก หรือ แท้งคุกคามสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อย ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่แข็งแรงกับสภาพใหม่ ดังนั้น ควรระวังเรื่องความกระทบกระเทือนต่าง ๆ ไม่ว่าจะการเดิน การขึ้นลงบันได อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุแท้งลูกได้ อีกทั้งเรื่องฮอร์โมนเพศก็เป็นสิ่งสำคัญค่ะ เพราะหากขาดแล้วจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบอบบาง อ่อนแอ ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวและเจริญเติบโตได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนเรียกว่าปวดท้องใกล้คลอด

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

อาหารสำหรับคนท้อง ท้องอ่อน ๆ 1-12 สัปดาห์ แม่และลูกในท้องควรกินอะไร

ที่มา:  worldwideivf, sanook

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan