คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การตั้งครรภ์คือการเดินทางที่น่าตื่นเต้นของคุณแม่ เพราะมีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจของคุณแม่ แต่สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรรู้ คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ จะส่งผลอย่างไร โปรเจสเตอโรนมีบทบาทสำคัญต่อแม่ท้องอย่างไรบ้าง  ถ้าโปรเจสเตอโรนต่ำ จะอันตรายแค่ไหน ? วันนี้ theAsianparent จะพามาหาคำตอบกันค่ะ

 

สาเหตุของระดับโปรเจสเตอโรนต่ำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ปัจจัยการดำเนินชีวิตบางอย่าง รวมทั้งเงื่อนไขทางการแพทย์ มีส่วนทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ อย่างไรก็ตาม การเยียวยาธรรมชาติต่าง ๆ สามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อรักษาสุขภาพครรภ์ที่ดี

 

 

โปรเจสเตอโรน คืออะไร

โปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรนผลิตโดยรังไข่และมีหน้าที่เตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่จะมาปฏิสนธิ โปรเจสเตอโรนช่วยให้เยื่อบุมดลูกหนาตัวขึ้น เตรียมพร้อมรับและหล่อเลี้ยงตัวอ่อน หากไม่มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพียงพอ ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วอาจไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ และอาจจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้โปรเจสเตอโรนยังช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยสนับสนุนการทำงานของต่อมไทรอยด์อีกด้วยค่ะ

สำหรับแม่ท้อง ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการบีบตัวของมดลูก ซึ่งช่วยให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการคลอดก่อนกำหนด ช่วยให้ต่อมน้ำนมของคุณแม่ เตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูกอีกด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ จะส่งผลอย่างไรบ้าง

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ และเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก น้ำหนักมากขึ้น เลือดออกในมดลูก น้ำตาลในเลือดต่ำ ในบางกรณีอาจส่งผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดของทารกต่ำกว่าเกณฑ์ หากคุณแม่กำลังสงสัยว่าตัวเองมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ ต้องขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับของฮอร์โมนชนิดนี้ค่ะ เพราะการตรวจหารับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำได้ด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น

ส่วนใหญ่แล้วจะรักษาได้โดยการรับประทานฮอร์โมนตามที่คุณแพทย์สั่ง มีทั้งการฉีด และการเหน็บยา วิธีสังเกตง่าย ๆ ที่จะทำให้รู้ว่าคุณแม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ สังเกตได้จากการที่อุณหภูมิร่างกายของคุณแม่ต่ำลง ตัวเย็นขึ้น ถ้าหากแม่ท้องสังเกตว่าตัวเองมีความผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

 

สาเหตุที่ทำให้ คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ

มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปัญหาเกี่ยวกับรก
  • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมใต้สมอง
  • อาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • ประวัติการแท้งบุตร
  • คอร์ปัสลูเทียมอ่อนแอ
  • อายุที่เพิ่มขึ้น (ช่วงวัยหมดประจำเดือน)
  • ความเครียด
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน
  • ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

หากต้องการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะให้รับประทานฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือแนะนำให้เปลี่ยนแปลงเมนูอาหารและวิถีชีวิตประจำวันของคุณแม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าฮอร์โมนต่ำ มีผลกับลูกในท้องอย่างไร

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระหว่างตั้งครรภ์

โปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์ มีหน้าที่ทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัว โปรเจสเตอโรนยังช่วยรักษาการตั้งครรภ์ได้ โดยระงับการบีบตัวของมดลูก สนับสนุนการเจริญเติบโต และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด และเลือดออก โชคดีที่มีวิธีตามธรรมชาติในการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เช่น

  • การจัดการความเครียด
  • การนอนหลับให้เพียงพอ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ความเครียดสามารถรบกวนการผลิตฮอร์โมนได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาวิธีจัดการกับความเครียด เช่น การทำสมาธิหรือการฝึกหายใจลึก ๆ การนอนหลับให้เพียงพอก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะผลิตออกมาในระหว่างการนอนหลับเป็นหลัก และการออกกำลังกายสามารถช่วยปรับสมดุลของระดับฮอร์โมน และสนับสนุนสุขภาพโดยรวมในระหว่างตั้งครรภ์

 

การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ

วิธีเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายตามธรรมชาติ วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ เช่น อะโวคาโด ถั่ว และสัตว์ปีกต่าง ๆ อาหารเหล่านี้มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน การเพิ่มอาหารเหล่านี้มาในเมนูอาหารของคุณแม่ สามารถช่วยเพิ่มระดับโปรเจสเตอโรน และช่วยปรับสมดุลสุขภาพของการตั้งครรภ์ และควรเพิ่มปริมาณวิตามิน B และ C สังกะสี และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

แต่อย่าลืมว่า ก่อนที่แม่ท้องจะกินอะไรก็ตาม ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงอาหาร หรือรับประทานอาหารเสริมใด ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติจะมีประโยชน์ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่ามีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงอาการแพ้ อารมณ์หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ หากปรึกษาคุณหมอแล้วสามารถกินได้ ก็มั่นใจได้ว่าคุณแม่ได้รับปริมาณฮอร์โมนที่เหมาะสม และต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเจ็บหัวนม เป็นเพราะอะไร ? เป็นอันตรายหรือเปล่า

 

 

โดยสรุป ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีบทบาทสำคัญในการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนระดับที่ต่ำ อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งแม่และลูก แม้ว่าจะมีหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ของภาวะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือต้องขอคำแนะนำทางการแพทย์ ซึ่งสามารถช่วยระบุสาเหตุที่แท้จริง และให้การดูแลที่เหมาะสมได้ โชคดีที่ยังมีวิธีตามธรรมชาติในการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เช่น การปรับเปลี่ยนอาหาร และการทำกิจกรรมลดความเครียด

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการกินอาหารเสริมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ ในท้ายที่สุด การทำความเข้าใจและติดตามระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถช่วยให้แน่ใจว่าการตั้งครรภ์จะมีสุขภาพดีและช่วยให้การคลอดนั้นปลอดภัยได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้หรือไม่? ข้าวกล้อง คนท้องกินแล้วอารมณ์ดี ลดการแปรปรวนของฮอร์โมนได้

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ

ฮอร์โมนออกซิโตซิน Oxytocin ฮอร์โมนความรัก ความผูกพัน สำคัญอย่างไรกับคนท้อง แม่ให้นมลูก

ที่มา :healthline , my.clevelandclinic

บทความโดย

Patteenan