สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลัง ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน แน่นอนว่าเราจะเริ่มมีอาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือถ้าสังเกตจากรูปร่างภายนอกบางคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองท้อง เพราะรูปร่างยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมาก แต่หารู้ไหมว่าในช่วงตั้งครรภ์ 2 เดือนแรก ลูกของเราจะเริ่มมีพัฒนาการที่เจริญได้อย่างรวดเร็วขึ้นตามลำดับอีกด้วย
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ ลูกในท้องตัวแค่ไหน
เข้าสู่ช่วง ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์แล้ว ท้อง 8 สัปดาห์ ท้อง 8 สัปดาห์ลูกยาวกี่เซน เป็นคนถามที่แม่ ๆ หลายคนสงสัย ซึ่งตอนนี้ลูกในท้องมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดถั่วแดง โดยมีความยาวประมาณ 1.6 เซนติเมตร
พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 8
- สัปดาห์ที่ 8 นี้ใบหน้าของลูกในท้องตอนนี้จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น หู ปากส่วนบน และปลายจมูกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน
- แขนขาเริ่มงอกเป็นตุ่มออกมาจากลำตัว ปลายของตุ่มแขนตุ่มขาจะมีร่องเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นมือ และเท้าต่อไป
- ในสัปดาห์นี้ ร่างกายจะเริ่มมีการสร้างเปลือกตา และต่อมรับรส
- หัวใจ และกระดูกมีความแข็งแรงขึ้น เซลล์ประสาทต่าง ๆ ในสมองเริ่มพัฒนา และเติบโตมากขึ้น
- ส่วนที่ดูเหมือนหางตอนนี้เริ่มสั้นลงจนเกือบจะหายไปแล้ว
วิดีโอจาก : โตไปด้วยกัน Family Journey
อาการคนท้อง 8 สัปดาห์
- ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่ายเพราะระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เพิ่มขึ้น
- ยังคงมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อยู่ ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวเท่าไหร่
- มดลูกมีการขยายตัวขึ้น ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และเมื่อมดลูกเริ่มโตขึ้น ปีกมดลูกสองข้างก็จะตึงมาก ขึ้น ทำให้เวลาเคลื่อนไหวเร็ว ๆ แล้วจะรู้สึกเสียวแปลบ ๆ
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
อาการที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน นั่นคือ อาการแพ้ท้อง โดยอาการเหล่านี้จะเกิดจากฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “Human Chorionic Gonadotropin (HCG)” ฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นให้ร่างกายของเรามีการหลั่งน้ำออกมาในปริมาณที่มากขึ้น อาทิเช่น กรดในกระเพาะ และน้ำลาย รวมถึงทำหน้าที่ไปกระตุ้นให้ทางเดินอาหารของเราเกิดการบีบจนทำให้เรามีอาการคลื่นไส้และอาเจียนออกมานั้นเอง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะพบได้ในหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น จึงไม่แปลกที่คุณแม่บางคนจะมีอาการเหล่านี้ในช่วงอาการตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องส่วนใหญ่ที่พบจะประกอบด้วย ดังนี้
1. มีอาการเหม็นเกิดขึ้น
มากันที่ข้อแรก สิ่งนี้อาจจะเกิดกับคุณแม่บางคนนั้นคือการเหม็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของที่เราใช้อยู่เป็นประจำ หรืออาหารที่เราชอบทานอยู่บ่อย ๆ ก็ได้ อาทิเช่น ปกติเราจะชอบทานผักชนิดหนึ่งมาก ๆ เพราะผักชนิดนี้เป็นผักที่มีกลิ่นหอม ไม่ว่าจะนำไปประกอบเมนูไหนก็อร่อย แต่อยู่ ๆ ผักชนิดนี้กลับเป็นผักที่ไม่อร่อย ส่งกลิ่นเหม็นจนเราอยากจะอาเจียน นั่นอาจหมายความว่าคุณแม่กำลังมีอาการแพ้ท้องอยู่นั่นเอง หรือสำหรับบางคนอาจจะเหม็นแม้กระทั่งสามีของตัวเองก็เป็นได้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับคุณแม่บางคน
2. ชอบแพ้ท้องตอนตื่นนอน
อีกหนึ่งอาการของคนแพ้ท้อง คือการชอบแพ้ท้องในช่วงที่ตื่นนอนมาใหม่ ๆ โดยการแพ้เหล่านี้อาจจะมีอาการอื่นๆ แทรกเข้ามาด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาการรู้สึกเวียนหัว อาการมึนหัว จนทำให้เราอยากจะอาเจียนขึ้นมาได้ง่าย ๆ สำหรับบางคนอาจจะไม่ได้แพ้ท้องแค่ในช่วงเช้า แต่แพ้ท้องทั้งวันจนทำให้รู้สึกไม่อยากทานอะไร และถ้าเป็นเช่นนี้ก็อาจจะทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักตัวลด และเกิดภาวะการขาดน้ำเอาได้ ดังนั้นใครที่แพ้ท้องมาก ๆ จนไม่สามารถทานอะไรได้เลย ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อที่เราและลูกจะได้ปลอดภัยและเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงสมบูรณ์
3. อยากกินอะไรแปลก ๆ
อาจมีบางคนที่พอจะทราบมาแล้วว่า นอกจากการแพ้ท้องที่คลื่นไส้อาเจียนและเหม็นอาหารแล้ว ยังไม่อาการที่อยากกินอะไรแปลก ๆ ตามมาอีกด้วย โดยการกินอะไรแปลก ๆ อาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่เคยกินมาก่อน อาจจะเป็นเมนูที่ใครหลายคนนึกไม่ถึงก็ได้แล้วแต่อาการที่แตกต่างกันออกไป ส่วนคุณแม่คนไหนที่กำลังเบื่ออาหาร ไม่อยากทานอะไรเลยเราก็อาจจะต้องดูแลและใส่ใจสุขภาพตัวเองมากเป็นพิเศษ โดยเราอาจจะเริ่มค่อย ๆ ทานทีละน้อย ๆ และเลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงได้เช่นกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เรามีอาการแพ้ท้องทานข้าวไม่ได้และเราก็ไม่ยอมทานอะไรเลย สิ่งนี้ก็จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและลูกของเราไม่น้อยเลยล่ะ
4. มีอารมณ์แปรปรวน
อย่างที่รู้กันดีว่าคนท้องส่วนใหญ่มักมีอารมณ์ที่แปรปรวนได้ง่าย ดังนั้นในแต่ละวันคุณแม่ก็อาจจะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บ่อยได้เช่นกัน บางวันอยากร้องไห้ บางวันอยากหัวเราะ หรือดีไม่ดีในหนึ่งวันอาจจะมีหลากหลายอารมณ์เกิดขึ้นได้เลย แต่อาการเหล่านี้ก็ล้วนเป็นเรื่องปกติสำหรับคนท้อง เพราะฮอร์โมนในร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณแม่ก็อาจจะต้องพยายามควบคุมอารมณ์ตัวเองและไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเศร้ามากจนเกินไป เพื่อที่คนรอบข้างจะได้ไม่เป็นห่วงและไม่ส่งผลกระทบต่อลูกเราตามไปด้วย
5. มีอาการตกขาวเกิดขึ้น
สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วง 2 เดือน และมีอาการตกขาวเกิดขึ้นก็ไม่ต้องตกใจ เพราะสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงตั้งครรภ์ นอกจากนี้อาจมีอาการต่าง ๆ เพิ่มเข้ามาด้วย เช่น บริเวณอวัยวะเพศของคุณแม่บางคนอาจจะมีสีคล้ำขึ้น โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุมาจากอาการแพ้ท้อง และถ้าใครที่มีความกังวลใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราก็อาจจะปรึกษาคุณหมอในเรื่องต่าง ๆ เพื่อที่เราจะได้สบายใจและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องในช่วงตั้งครรภ์ได้เลย
6. มีเต้านมที่ใหญ่ขึ้น
มากันอีกหนึ่งข้อสำหรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงตั้งครรภ์คือการที่คุณแม่มีเต้านมที่ใหญ่ขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป ใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองเริ่มคัดเต้านมมาก นั่นอาจเป็นเพราะว่าในร่างกายของเรามีเลือดมาหล่อเลี้ยงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น บางคนคัดเต้านมมากจนเห็นเป็นเส้นเลือดได้ผิวหนังเลย
อาการแทรกซ้อนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์พึงระวัง
1. ภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง
อาจจะเกิดขึ้นได้กับคุณแม่บางคนที่แพ้ท้องมาก ๆ ในช่วง 2 เดือนแรก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดในกรณีที่คุณแม่แพ้ท้องคลื่นไส้หรืออาเจียนทั้งวัน ทานอะไรไม่ได้ บางคนอาเจียนถึงกับเลือดออกมาปนกับเศษอาหารด้วย ส่งผลทำให้ร่างกายเราขาดน้ำและอาหาร รู้สึกปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว และมีปัสสาวะสีเข้ม ดังนั้นใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้จะต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อที่เราและลูกจะได้ปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย
2. น้ำหนักลดระหว่างตั้งครรภ์
สิ่งที่มักเกิดขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์และคุณแม่ทุกคนควรใส่ใจ นั่นคือการที่เราคลื่นไส้อย่างรุนแรง หรืออาเจียนทั้งวันจนน้ำหนักตัวเองลดลง เพราะเมื่อไหร่ที่เรามีอาการเช่นนี้แต่เราก็ไม่ยอมทานอะไรเลย และคิดว่าอาจจะเป็นอาการแพ้ท้องปกติที่ใครหลายคนเป็นกัน สิ่งนี้ก็สามารถส่งผลอันตรายต่อลูกของเราได้เลย ยิ่งถ้าใครที่เป็นรุนแรงมาก ๆ และไม่ยอมไปพบแพทย์ก็อาจทำให้เราแท้งหรือสิ้นสุดการตั้งครรภ์ได้เลย
3. ภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ใครที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงติดต่อกันเวลานานหลายเดือน สิ่งนี้จะส่งผลทำให้เราคลอดก่อนเกินกำหนดและเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายของเราอ่อนแอและทำให้สุขภาพลูกของเราแข็งแรงสมบูรณ์ เราจะต้องดูแลและรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี พยายามเลือกทานของที่ดีมีประโยชน์และไม่ควรปล่อยให้ตัวเองแพ้ท้องรุนแรงเป็นเวลานาน ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการ ครรภ์เป็นพิษ เป็นอย่างไร สาเหตุของครรภ์เป็นพิษคือ?
ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ต้องทำอะไรบ้าง
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และทารกเตรียมไว้ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ที่คุณจะต้องเจอตลอดช่วงการตั้งครรภ์แบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลลูกสำหรับว่าที่คุณแม่ อย่างคุณอีกด้วย
- ทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นม นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ผักคะน้า เพื่อช่วยพัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์ และช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกของคุณแม่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก หรือโรคกระดูกพรุน
สารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ ช่วง 8 เดือน มีอะไรบ้าง
อาหารที่คุณกินในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดี ของลูกน้อย อาการแพ้ท้อง และคลื่นไส้อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ และคุณอาจไม่อยากกินอาหาร แต่คุณควรพยายามกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พยายามผสมผสานอาหารที่มีสารอาหารให้คุณมากที่สุด ด้านล่างนี้คือ สารอาหารบางอย่างที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารก
- กรดโฟลิก กรดโฟลิกทำหน้าที่เป็นจุดประสงค์ของวิตามินบี แนะนำให้เสริมกรดโฟลิกทุกวัน ให้กับคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ ไตรมาสแรก กรดโฟลิกช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากการพัฒนาข้อบกพร่องของท่อประสาท เช่น ผักใบเขียว ไข่ ผลไม้ ผลไม้แห้ง และถั่ว เป็นอาหารเสริมกรดโฟลิกจากธรรมชาติสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
- ธาตุเหล็ก สารอาหารที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ควรเป็นส่วนหนึ่ง ของอาหารการตั้งครรภ์ คือธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการให้เลือดที่ดี ในขั้นตอนนี้หญิงตั้งครรภ์ต้องการ การไหลเวียนของเลือดในร่างกายอย่างแรงเนื่องจากจะช่วยให้เธอมีความแข็งแรงในการรับมือกับ อาการแพ้ท้อง และ ความเหนื่อยล้าซึ่งมักพบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์แรกของเดือนที่สองให้กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเช่น ผลไม้ ผลไม้แห้ง ผักโขม ไก่ และปลา
- แคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในเดือนที่สองของการตั้งครรภ์เนื่องจากกระดูกของทารกในครรภ์ จะสร้างกระดูกในระยะนี้ร่างกายจึงต้องการแคลเซียม และหากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต้องการก็จะถูกดึงออกมาจากปริมาณสำรองที่มีอยู่ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคกระดูกพรุน เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของแคลเซียม คุณแม่สามารถรับประทานผัก เช่น หัวผักกาด กะหล่ำปลีและผักใบ เนื่องจากเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม
- โปรตีน โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ อาหารสัตว์ปีกเช่น ไก่ ไข่ นม ปลา และถั่วฝักยาวให้โปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนอย่างน้อย 75 กรัมในระยะนี้ คุณสามารถรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตาม โปรดระวังปลาที่คุณเลือกบางประเภท (โดยเฉพาะปลาที่มีสารปรอทสูง) ไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคสำหรับคุณแม่ที่ครรภ์ และควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์
- สังกะสี สังกะสีจำเป็นสำหรับการเผาผลาญของกรด และหน้าที่ทางชีวภาพ ไก่ ปลา ผัก และถั่ว ล้วนเป็นแหล่งสังกะสีมากมาย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรวมอาหารเหล่านี้ไว้ในอาหารของคุณทุกวัน
- ไขมัน ไขมันไม่ได้เลวร้ายเสมอไป แต่เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่คุณบริโภคซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตที่ดีของทารก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอาหารทอด และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่ และสุขภาพของทารก แต่การบริโภคไขมันดีในรูปแบบของเนยใส และครีมที่ดีต่อสุขภาพ จะช่วยในการพัฒนาของดวงตา สมอง รก และเนื้อเยื่อ การรวมไขมันที่ดีในอาหารของคุณในสัดส่วนที่เหมาะสมจะช่วยในการเจริญเติบโตโดยรวมของทารก
- ไฟเบอร์ สารอาหารสำคัญที่ช่วยในการย่อยอาหาร และป้องกันอาการท้องผูก อาหารที่มีไฟเบอร์สูงซึ่งประกอบด้วยผัก เช่น แครอท กะหล่ำปลี ธัญพืช และผลไม้ เช่น ส้ม และกล้วยจะช่วยรักษาความดันโลหิต และป้องกันอาการท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ แนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 28 กรัมต่อวันในระหว่างตั้งครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมเมนูหลังคลอด บำรุงน้ำนม ลดน้ำหนัก พุงยุบ กินอะไรเพิ่มน้ำนม ให้ลูกได้รับสารอาหารเต็ม ๆ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในเดือนที่สองของการตั้งครรภ์
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์มีดังต่อไปนี้
-
ไข่ดิบ ไข่ดิบสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา ผ่านร่างกายทำให้เกิดผลเสีย ต่อร่างกายของมารดา และขัดขวางพัฒนาการตามปกติของทารก หากคุณต้องการกินไข่ในระหว่างตั้งครรภ์ ให้แน่ใจว่าคุณกินในรูปแบบต้มหรือลวก หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่ต้มไม่สุก หรือกึ่งสุก
-
เนื้อสัตว์แปรรูป เนื้อสัตว์แปรรูปจะถูกเก็บไว้บนชั้นวางเป็นเวลานาน และเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของแบคทีเรีย ที่เป็นอันตรายต่อทารก และคุณแม่ ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใส่เนื้อสัตว์แปรรูปในอาหารระหว่างการตั้งครรภ์ของคุณแม่
-
นม นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ อย่าดื่มนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อมีจุลินทรีย์เชื้อโรค และเชื้อซาลโมเนลลาที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และการเจริญเติบโตของทารก
-
แอลกอฮอล์ ไม่อนุญาตให้ดื่มแอลกอฮอล์ โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่าง อาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ และที่สำคัญที่สุดต่อการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ตลอดการตั้งครรภ์
คำแนะนำการรับประทานอาหารสำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์
นี่คือเคล็ดลับการควบคุมอาหาร ที่คุณควรปฏิบัติในเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์
- คุณจะได้รับประโยชน์สูงสุด จากอาหารที่ทานหากทานในเวลาที่เหมาะสม และในสัดส่วนที่เหมาะสม พยายามรับประทานอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ ที่ประกอบด้วย ผลไม้ ผัก ธัญพืช รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เล็กน้อยในตอนเช้าจะช่วยได้เนื่องจากจะทำให้คุณมีเวลาย่อยอาหารมากขึ้น
-
อาหารของคุณในช่วงบ่ายควรประกอบด้วยสลัดไข่ ฯลฯ การทานสลัดในช่วงมื้อกลางวันจะช่วยให้คุณสดชื่น และมีพลัง นอกจากนี้คุณยังสามารถลองใส่ไข่ต้มในมื้อกลางวันของคุณแม่
-
คุณมีแนวโน้มที่จะมีอาการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรทานอาหารเย็นให้เบา ๆ การกินอาหารเบา ๆ จะทำให้คุณอิ่มท้อง และมีความสุข และป้องกันอาการเสียดท้อง หากคุณต้องการบำรุงร่างกาย แต่มื้อเบา ๆ ให้กินผักต้ม และปรุงสุก ที่มีเครื่องเทศ และสลัดน้อยลงในมื้อเย็น
การตั้งครรภ์ช่วงนี้เป็นช่วงไตรมาสแรก หากคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว อย่าลืมที่จะดูแลสุขภาพ ต้องฝากครรภ์ และหันมาสนใจเรื่องโภชนาการอาหารการกิน และการพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
17 อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 2 เดือน 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 16
ที่มา : whattoexpect, mamastory